svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

พบบ้านเจ้าเมืองโคราชคนสุดท้าย

15 มีนาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ฮือฮา..พบบ้านเจ้าเมืองโคราชคนสุดท้ายอยู่กลางใจเมือง ลูกหลานเตรียมบูรณะก่อนพัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์บ้านเจ้าเมืองโคราชในอนาคต หวังเป็นแหล่งท่องเที่ยวและระลึกถึงคุณงามความดีในการพัฒนาบ้านเมือง

15 มีนาคม 2564 ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปที่บ้านอินทโสฬส เลขที่ 379 ,381 ,383 ถนน อัษฎางค์ ต.ในเมือง อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา พบกับนายพงศ์บัณฑิต อินทโสฬส ณ ราชสีมา อายุ 46 ปี รองประธานประธานภาคีอนุรักษ์เมืองนครราชสีมา ซึ่งเป็นทายาทรุ่นปัจจุบันของตระกูล "อินทโสฬส ณ ราชสีมา" เพื่อสอบถามประวัติความเป็นมาของบ้านอินทโสฬสหลังนี้ ที่เคยเป็นบ้านพักของพระยากำธรพายัพทิศ ( ดิส อินทรโสฬส)อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา คนที่ 14 หรือเป็นเจ้าเมืองโคราชคนสุดท้ายในช่วงสมัยที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
 

พบบ้านเจ้าเมืองโคราชคนสุดท้าย

พบบ้านเจ้าเมืองโคราชคนสุดท้าย

โดยนายพงศ์บัณฑิต เปิดเผยว่า บ้านไม้เก่า 2 ชั้นหลังนี้ เคยเป็นบ้านของพระยากำธรพายัพทิศ (ดิศ อินทโสฬส ณ ราชสีมา) ซึ่งข้อมูลจากสารสนเทศท้องถิ่นนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ระบุว่าพระยากําธรพายัพทิศ เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมาลำดับที่ 14 และเป็นเจ้าเมืองนครราชสีมาคนสุดท้าย ดำรงตำแหน่งเมื่อ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2476 - 1มีนาคม พ.ศ.2479 โดยต้นตระกูลของพระยากำธรพายัพทิศ สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นเหลนของเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินท์ ณ ราชสีมา) และเป็นหลานปู่ของพระยาสุริยเดช (โสฬส อินทโสฬส) บุตรลำดับที่23ของเจ้าพระยาทองอินท์
 
ส่วนพระยากำธรพายัพทิศ เป็นบุตรชายคนที่ 3 ของนายทองดีและนางนกเอี้ยง อินทโสฬส มีคู่สมรสคือ คุณหญิงสุมาลี อินทโสฬส เคยเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดนครราชสีมา หรือเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ลำดับที่14เจ้าเมืองนครราชสีมาคนสุดท้าย ก่อนมีการเปลี่ยนการปกครองในยุคหลัง พ.ศ.2475ที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบบประชาธิปไตย ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2476ซึ่งรัฐบาลประกาศยุบมณฑลหัวเมืองให้เป็นจังหวัดและจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค ออกเป็นจังหวัดและอำเภอ
 
ซึ่งตนในฐานะที่เป็นเหลนของตระกูลอินทโสฬส ณ ราชสีมา และเป็นลูกบุญธรรมของคุณหญิงสุมาลี อินทโสฬส ภริยาของพระยากำธรพายัพทิศ ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ดูแลบ้านหลังนี้ อยากจะบูรณะให้เป็นพิพิธภัณฑ์ของเมืองโคราช โดยจะนำประวัติเจ้าเมืองนครราชสีมาคนแรก จนถึงเจ้าเมืองคนสุดท้ายลำดับที่ 14 "พระยากำธรพายัพทิศ" ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดฯ มารวบรวมเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ปูมเมืองนครราชสีมา รวมไปถึง ประมวลเรื่องราวหรือสิ่งของต่าง ๆ ในอดีตที่เชื่อมโยงเรื่องราวประวัติเมืองนครราชสีมานำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ แต่ยังอยู่ระหว่างการหารือปรึกษาเครือญาติผู้ใหญ่ในตระกูล ซึ่งบ้านหลังนี้ คาดว่า น่าจะมีอายุไม่ต่ำกว่า 80 ปี ตนและครอบครัวเคยใช้ชีวิตที่นี่ จนเมื่อเติบโตไปศึกษาและทำงานที่อื่น จึงได้ปิดบ้านนี้ไว้ ไม่มีคนอยู่กว่า 30 ปีแล้ว สภาพจึงเก่าเสื่อมโทรมตามกาลเวลา และก็ถึงเวลาแล้ว ที่จะต้องมาบูรณะฟื้นฟูให้บ้านกลับมามีชีวิตขึ้นอีกครั้ง

พบบ้านเจ้าเมืองโคราชคนสุดท้าย




 

พบบ้านเจ้าเมืองโคราชคนสุดท้าย






พบบ้านเจ้าเมืองโคราชคนสุดท้าย


แต่เดิมสมัยพระยากำธรพายัพทิศและครอบครัวยังพักอาศัยจะเป็นบ้านปูนสีขาวรูปตัวแอล (L) แต่เมื่อภายหลังมีการจัดสรรแบ่งซอยที่ดินให้กับลูกหลาน บ้านตึกหลังเดิมจึงทุบรื้อออก แล้วเอาไม้บางส่วนจากบ้านเดิมมาก่อสร้างเป็นบ้านหลังนี้ให้ได้อยู่อาศัยกัน ส่วนการซ่อมแซมบูรณะบ้าน ทางตนและครอบครัวอินทโสฬส ณ ราชสีมา ได้ซ่อมแซมบางส่วนที่จำเป็นก่อน ส่วนที่เหลือต้องรอให้ทีมสถาปนิกและวิศวกรจากคณะกรรมาธิการสถาปนิคอีสาน เข้ามาตรวจเช็ควิเคราะห์และประเมินสภาพโดยรวม ซึ่งโครงสร้างหลักๆ ที่เป็นไม้เนื้อแข็ง เท่าที่ตรวจสอบเบื้องต้นยังมั่นคงแข็งแรงอยู่กว่า 70%จะมีเพียงปีกไม้ฝาบ้านที่ผุชำรุดและได้รับผลกระทบจากการตอกเสาเข็มของบ้านเรือนรอบข้าง ทำให้โครงสร้างของบ้านเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย จึงต้องใช้ความระมัดระวังสูงในการซ่อมแซม เพราะเป็นบ้านไม้เก่าจะต้องหาคนที่มีความรู้จริงๆ เข้ามาช่วยซ่อมแซม และจะต้องเทียบเคียงหาไม้เก่าที่อายุไล่เลี่ยกันมาซ่อม เพื่อให้คงรูปแบบบ้านเดิมเอาไว้ให้ได้มากที่สุด ประเมินการบูรณะตัวบ้าน ขั้นต่ำจะต้องใช้งบประมาณกว่า 3-4 ล้านบาท แต่ยังไม่รวมการตกแต่งภายใน คงต้องระดมความช่วยเหลือจากภาคส่วนต่างๆ เข้ามาสนับสนุน เพื่อบูรณะให้มั่นคงแข็งแรง ซึ่งในอนาคตอาจต่อยอดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ประชาชนได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ ให้เป็นสมบัติของคนโคราชได้ภาคภูมิใจร่วมกัน นายพงศ์บัณฑิต กล่าว.

พบบ้านเจ้าเมืองโคราชคนสุดท้าย

logoline