svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ข้อพึงระวัง!! บริโภค"ลูกยอ" ให้เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ

19 ธันวาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ลูกยอ" เป็นสมุนไพรโบราณ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ ช่วยบำรุงสมอง ผิวพรรณ ยังสามารถช่วยปรับสมดุลระบบไหลเวียนโลหิต แต่ในคุณประโยชน์ หากบริโภคหรือใช้อย่างไม่ถูกต้องอาจจะเกิดโทษได้เช่นกัน

19 ธันวาคม 2563 "ลูกยอ" เป็นสมุนไพรโบราณที่มีประโยชน์มากมาย เพจเฟซบุ๊ก "สถาบันการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร" ได้โพสต์ให้ความรู้ถึงคุณประโยชน์ พร้อมชี้ให้เห็นโทษ หากนำไปใช้ไม่ถูกต้อง ระบุว่า...
ยอ : บำรุงเลือด ลดการอักเสบ รักษากรดไหลย้อน ต้านการอักเสบ บำรุงข้อ ช่วยประจำเดือนมาปกติ ลดอาการวัยทอง #สมุนไพรน่ารู้
ลูกยอ ผลไม้เป็นยา พบได้ตามพื้นเมืองหลายประเทศ ในมาเลเซียเรียก "เมอกาดู" (Mergadu) บางประเทศเรียก "โนนิ" (Noni)
ตำรายาไทยมีการใช้ ผลยอ ใน "พิกัดตรีผลสมุฎฐาน" คือการจำกัดจำนวนตัวยาที่มีผลเป็นที่ตั้ง 3 อย่าง มีผลมะตูม ผลยอ ผลผักชีลา สรรพคุณแก้สมุฎฐานแห่งตรีโทษ ขับลมต่างๆ แก้โรคไตพิการ
ประโยชน์ของ "ยอ" นั้นมีทั้งในด้านการนำไป บริโภคเป็นอาหารและการนำมาใช้เป็นยาสมุนไพร
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
1. แก้คลื่นไส้ อาเจียน : การศึกษาการใช้น้ำยอในการระงับอาเจียน โดยเปรียบเทียบกับยา metoclopramide ซึ่งเป็นยาแก้อาเจียน และน้ำชา ในผู้ป่วยมาลาเรีย 92 ราย ที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน พบว่ายอลดอาการอาเจียนได้มากกว่าน้ำชา

ข้อพึงระวัง!! บริโภค"ลูกยอ" ให้เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ

2. ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterial activity) เช่น Pseudomonas aeruginosa Proteus morgaii S Staphylococcus aureus Bacillus subtilis Escherichia coilSalmonella และ Shigella
3. ฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส (Antitviral activity) โดยสารจากรากของต้นยอ มีฤทธิ์ในการยังยั้งการเกิด cytopathic effect ของเชื้อ HIV ต่อการ infect MT4 cell โดยไม่มีการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์
4. ฤทธิ์ต้านเชื้อวัณโรค (Antitubercular effects) มีการรายงานพบว่าลูกยอสามารถกำจัดการติดเชื้อวัณโรคได้ถึง 97% เปรียบเทียบกับยา antibiotic เช่น Rifampcin
5. ฤทธิ์ระงับความปวด (Analgesic activity) มีรายงานว่าสารสกัดจากรากยอมีฤทธิ์ระงับปวดในสัตว์ทดลอง และผลจากการวิจัย โดย ผศ.ดร.ทัศนีย์ ปัญจานนท์ พบว่าสารสกัดจากผลยอไทยมีฤทธิ์ระงับปวดในสัตว์ทดลอง

ข้อพึงระวัง!! บริโภค"ลูกยอ" ให้เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ


6. ยอช่วยลดการอักเสบของหลอดอาหาร จากกรดไหลย้อน ได้ผลดีพอๆ กับยามาตรฐาน คือ รานิติดีน (ranitidine) และ แลนโซพราโซล (lansoprazole) เนื่องจากมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านการหลั่งของกรด ต้านการเกิดแผล และทำให้การบีบตัวของระบบทางเดินอาหารดีขึ้น
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
1. สารโพรซีโรนินที่พบในน้ำลูกยอ ต้องการน้ำย่อยเปปซิน (Pepsin) และสภาพความเป็นกรดในกระเพาะ เพื่อเปลี่ยนเป็นซีโรนิน ดังนั้น หากรับประทานน้ำลูกยอขณะที่ท้องอิ่มแล้วจะทำให้มีผลทาเภสัชของสารซีโรนินน้อยลง
2. คุณค่า และสรรพคุณน้ำลูกยอจะลดลงเมื่อรับประทานร่วมกับแอลกอฮอล์
3. การบดหรือการสกัดน้ำลูกยอไม่ควรทำให้เมล็ดยอแตก เพราะสารในเมล็ดยอมีฤทธิ์เป็นยาระบายอาจทำให้ถ่ายบ่อยได้
4. ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรดื่มน้ำลูกยอ เพราะมีเกลือโปแตสเซียมสูง อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้
5. สตรีมีครรภ์ไม่ควรบริโภคลูกยอ เพราะผลยอมีฤทธิ์ขับโลหิต อาจทำให้แท้งบุตรได้

ข้อพึงระวัง!! บริโภค"ลูกยอ" ให้เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ

logoline