svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"ดร.กิตติธัช" สวน "เนติวิทย์" วิจารณ์ได้แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ครบถ้วน

15 พฤศจิกายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์" นักวิชาการอิสระ และอาจารย์ด้านสถาปัตยกรรม สอนพิเศษด้าน ปรัชญาการเมือง โพสต์เฟซบุ๊กสวน เนติวิทย์และพวก หลังวิจารณ์และประท้วงมหาลัย ปมทางเท้าจนกลายเป็นดราม่า

โดย "ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์" ได้ระบุข้อไว้ดังนี้....

"ดร.กิตติธัช" สวน "เนติวิทย์" วิจารณ์ได้แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ครบถ้วน

"ดร.กิตติธัช" สวน "เนติวิทย์" วิจารณ์ได้แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ครบถ้วน


ตรวจสอบดราม่าทางเท้าในจุฬาฯ
มาดูข้อเท็จจริงที่ครบถ้วนกันครับดราม่าโดยเนติวิทย์และอาจารย์บางกลุ่ม หลังเนติวิทย์และพวก รวมถึงอาจารย์ทั้งจากภาคผังเมือง และภาคปรัชญาคณะอักษรศาสตร์ ที่จุดประเด็นว่า "จุฬาฯ เอาทางเท้าไปทำสวน โดยไม่คำนึงถึงู้ใช้และคนพิการ"
โดยในโพสท์ของเนติวิทย์และพวก ได้แสดงภาพถ่าย เป็นพื้นที่สีเขียวที่มีต้นไม้และสวน ที่เดินไม่ได้ จนทำให้คนต้องไปเดินบนถนนหรือเดินบนขอบทางเท้าแทน  
ก่อนที่มติชนจะเอาไปทำข่าว "นิสิตจุฬาฯ นอนบนถนนประท้วงมหาลัย เอาทางเท้ามาจัดสวน สะเทือนใจ กระทบยันคนพิการ" จนเป็นประเด็นดราม่าในโลกออนไลน์  

"ดร.กิตติธัช" สวน "เนติวิทย์" วิจารณ์ได้แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ครบถ้วน


"ดร.กิตติธัช" สวน "เนติวิทย์" วิจารณ์ได้แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ครบถ้วน


ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ กรณีดังกล่าวลำบากถึงอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 2-3 ท่าน ต้องลงไปสำรวจและถ่ายภาพเพื่อทำความจริงให้กระจ่างชัด 
https://www.facebook.com/terdsak.tachakitkachorn/posts/3683335501688746 
โดยจะเห็นได้ว่าทางเท้าดังกล่าวที่ถูกนำมาจุดประเด็นโดยกลุ่มเนติวิทย์และอาจารย์ภาคผังเมืองบางท่านนั้น แท้จริงแล้วเป็น "ทางเดินต่อเนื่อง"  
โดยส่วนที่เป็นสวน เป็นการเปิดหน้าดิน บริเวณหน้าตึกประชาธิปก โดยเป็นการออกแบบให้เป็นทางเดินอ้อมต่อเนื่อง ซึ่งเพียงเดินไม่เกิน 10 ก้าวไปทางขวาก็เดินต่อได้ทันที  

"ดร.กิตติธัช" สวน "เนติวิทย์" วิจารณ์ได้แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ครบถ้วน


การออกแบบเช่นนี้ เรียกว่าการออกแบบ Softscape คือเปิดพื้นที่ส่วนที่เป็นหน้าดิน/พื้นที่อ่อน (ที่ไม่ใช่คอนกรีตหรือสิ่งปลูกสร้าง) เพื่อให้เมื่อฝนตก น้ำฝนจะมีที่ไหลลงพื้นดินอีกทั้งยังช่วยให้ดินและต้นไม้หายใจได้  
ทั้งนี้ผมได้ช่วยเสริมการอธิบาย ด้วยการวาดผังบริเวณประกอบ เพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่ายลงในโพสท์นี้ด้วย (รูปที่ 3) *** ในขณะที่ภาพที่เนติวิทย์และพวก รวมถึงอาจารย์บางคนแคปมาจุดประเด็นนั้น เป็นภาพที่จงใจไม่ถ่ายให้เห็นทางเดินต่อเนื่องทางด้านขวา!!! 
*** ยังไม่นับรวมพฤติกรรมการ "ดูถูกเหยียดยาม" ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม (Landscape Architecture) จากอาจารย์ภาคปรัชญาที่สนับสนุนเด็กกลุ่มนีในเชิงว่าเพราะจุฬา "ไปผิดภาค ไปภาค Landscape แต่ไม่ได้ไปภาคผังเมือง"

"ดร.กิตติธัช" สวน "เนติวิทย์" วิจารณ์ได้แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ครบถ้วน


*** สุดท้ายนี้อยากฝากไว้นะครับ ว่าการวิพากษ์วิจารณ์งานออกแบบนั้นทำได้ครับ และเป็นสิ่งที่ควรทำด้วย แต่ต้องทำบนพื้นฐานของข้อมูลที่ครบถ้วน ไม่ใช่การเลือกภาพที่จงใจไม่ให้เห็นมุมมองที่ครบถ้วนแบบนี้

logoline