svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

เดินหน้าธนาคารน้ำใต้ดินวิถีพอเพียงตามรอยศาสตร์พระราชา

12 กันยายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

วิสาหกิจชุมชนธนาคารวัวหลวงพ่อแดง เดินหน้าสร้างการพลิกฟื้นผืนดินด้วยธนาคารน้ำใต้ดินและวิถีเกษตรพอเพียง ตามรอยศาสตร์พระราชา ในหลวงรัชกาลที่ 9 ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านหนองอีดำ หมู่ที่ 3 ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ พระครูพิศิษฏ์ประชานาถ (ดร.หลวงพ่อแดงนันทิโย) ประธานมูลนิธิวัดอินทาราม รองเจ้าคณะอำเภออัมพวา เจ้าอาวาสวัดอินทาราม ต.เหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เดินทางมาตรวจเยี่ยมแปลงที่ดินซึ่งทางหลวงพ่อแดงได้นำเงินมาซื้อพื้นที่นี้จากชาวบ้าน จำนวน 8 ไร่ เพื่อเตรียมจะจัดทำศูนย์พุทธเกษตร แปลงสาธิตข้าวเกษตรอินทรีย์ ตามหลักวิถีเกษตรพอเพียง ตามรอยพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 ตามโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน เพื่อสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารหลวงพ่อแดงวัดอินทารามและธนาคารแสงแดดเพื่อการอนุรักษ์โคกระบือ  โดยใช้แนวเกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียง พร้อมกับเปิดป้ายที่ทำการวิสาหกิจชุมชนที่จัดตั้งขึ้นเพิ่มเติม ดำเนินการหลักเป็นธนาคารวัวหลวงพ่อแดง ให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยมีพระราชวิมลโมลี เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ และคณะสงฆ์ในพื้นที่ให้การต้อนรับ
โครงการ "ธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารหลวงพ่อแดงวัดอินทารามและธนาคารแสงแดดเพื่อการอนุรักษ์โคกระบือ"เริ่มจากการก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารวัวหลวงพ่อแดง จ.สุรินทร์ จากการนำเสนอโดย รศ.ดร.วาสนา แก้วหล้า อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และดำเนินงานขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2560 ตลอดระยะเวลา 3 ปี ได้ส่งเสริมให้สมาชิกกลุ่มมีศีล 5 ประกอบอาชีพสัมมาชีพ เข้าใจเป้าหมายของการเลี้ยงวัว มีพืชอาหารเลี้ยงวัวอย่างน้อย 2 ชนิด ได้แก่ หญ้าเนเปียร์ กล้วย และปลูกพืชแบบเกษตรผสมผสานไว้รับประทานในครัวเรือน รวมทั้งต้องรับฟังข้อมูลและทำความเข้าใจในแนวคิดและอุดมการณ์ของกลุ่มธนาคารวัว กระทั่งปัจจุบันประสบความสำเร็จมีจำนวน 10 กลุ่ม และกำลังดำเนินการจดจัดตั้งอีก 6 แห่ง วิสาหกิจชุมชนธนาคารวัวหลวงพ่อแดง ส่งวัวกว่า 400 ตัว ซึ่งผลผลิตจะเป็นมรดกชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน

เดินหน้าธนาคารน้ำใต้ดินวิถีพอเพียงตามรอยศาสตร์พระราชา

พระครูพิศิษฏ์ประชานาถ กล่าวว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารวัวหลวงพ่อแดงจ.สุรินทร์ได้ดำเนินการมาเป็นเวลา 3 ปี ผลจากการดำเนินงานพบว่าปัญหาอุปสรรคประการหนึ่งของการเลี้ยงวัว สมาชิกจะขาดหญ้าสด ฟาง เนื่องจากหมู่บ้านส่วนใหญ่ไม่มีพื้นที่ปลูกข้าวเพราะบ้านเรือนตั้งอยู่ริมป่าสงวนและมีภูมิศาสตร์เนินสูง ทำให้การปลูกข้าวไม่ได้ผลและต้นทุนสูง แต่เกษตรกรก็ยังนิยมเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะโคกระบือในวงจรการทำนาพบว่านอกจากการทำนาในพื้นที่สูงไม่สามารถปลูกข้าวได้อย่างมีคุณภาพการปลูกพืชผักอย่างอื่นก็ ยังขาดน้ำซึ่งน้ำเป็นปัจจัยสำคัญทั้งในการเกษตรและปศุสัตว์ หากโคกระบือขาดน้ำ ก็ทำให้การทำอาชีพปศุสัตว์ยิ่งยากลำบากขึ้น
จากนั้นพระครูพิศิษฏ์ประชานาถ และคณะเดินทาง ไปยัง โรงเรียนบ้านหนองอีดำ   เพื่อมอบทุนการศึกษาให้กับเด็กนักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน จำนวน 50 ทุน ทุนละ 500 บาท และมอบปัจจัยอุปถัมภ์โรงเรียน จำนวน 20,000 บาท และเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กนักเรียน จำนวน 118 คน  พร้อมเปิดธนาคารน้ำใต้ดิน  (Groundwater Bank) แนวคิดนี้เป็นเสมือนการออมหรือกักเก็บน้ำต้นทุนไว้ใช้ในหน้าแล้ง หรืออุ้มน้ำในยามน้ำหลาก ไว้ให้เป็นแหล่งต้นทุนน้ำไว้ใช้ในโครงการเกษตรพอเพียงของโรงเรียนอีกด้วย


เดินหน้าธนาคารน้ำใต้ดินวิถีพอเพียงตามรอยศาสตร์พระราชา

พระครูพิศิษฏ์ประชานาถ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการสอบถามชาวบ้านทราบว่าถ้าขาดน้ำแล้วก็ ไม่สามารถประกอบอาชีพหลักไม่ว่าจะเป็นทำนาทำสวนและการเลี้ยงสัตว์ ดังนั้นน้ำจึงมีความสำคัญต่อชีวิตคนและสัตว์ โครงการขุดหลุมดินเพื่อทำธนาคารเก็บน้ำไว้ใต้ดิน จึงมีความสำคัญต่อเกษตรกรโดยเฉพาะในฤดูนี้ฤดูฝนเมื่อปริมาณน้ำฝนตกลงมาสู่พื้นดินสภาพของทำเลชุมชนที่อยู่ในที่สูงและลักษณะธรณีวิทยาเป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำการจัดทำหลุมดินเก็บกักน้ำเพื่อเป็นธนาคารน้ำ ไว้ใต้ดินในระดับครัวเรือน จึงริเริ่มขึ้นมาก่อน เพราะว่าน้ำบริโภคน้ำอุปโภคน้ำชักชะล้างสามารถนำไปกักเก็บในหลุมธนาคารดินในระดับบ้านเรือนได้ มูลนิธิวัดอินทาราม จึงทำโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน เพื่อสมาชิกเลี้ยงวัวของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารวัวหลวงพ่อแดงจังหวัดสุรินทร์ เพื่อขุดหลุมดินทำธนาคารน้ำในบ้านสมาชิกธนาคารวัวหลวงพ่อแดงจังหวัดสุรินทร์ แก้ปัญหาการเกิดน้ำท่วมขังและน้ำทิ้งกลายเป็นน้ำเสียในชุมชน และสร้างพลังคนในชุมชนทำงานเป็นจิตอาสาด้วยหลักการ "บวร" (บ้าน-วัด-ราชการ) โดยมีสมาชิกที่ขึ้นทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารวัว หลวงพ่อแดงมีธนาคารน้ำใต้ดินในครัวเรือนอย่างน้อย 1 หลุม, วัด โรงเรียนในชุมชนมีธนาคารน้ำใต้ดินในวัดอย่างน้อย 5 หลุม  ชาวบ้านในพื้นที่ร่วมกิจกรรมสร้างธนาคารน้ำใต้ดินตามแนวพระราชดำริ ปัจจุบันมีกว่า 1,000 บ่อ ซึ่งทำให้สมาชิกเลี้ยงวัวธนาคารวัว ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารวัวหลวงพ่อแดง มีธนาคารน้ำใต้ดินทุกครัวเรือน ไม่มีหลุมน้ำขังและยางรถยนต์ขวดขยะทิ้งจากของเหลือใช้ที่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายทำให้สภาพแวดล้อมในชุมชนสะอาดและลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกได้ ลดปริมาณขยะที่ต้องใช้เวลาในการย่อยสลายในระยะยาวได้แก่ขยะที่มีอายุในการย่อยสลาย 10 20 ปี ธนาคารวัว และธนาคารน้ำใต้ดิน นอกจากจะช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากจน สนองพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 แล้วยังเกิดปรากฏการณ์ที่ดีงามสร้างความสามัคคีในชุมชนและความร่วมแรงของพลังบวร เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนอย่างมีทิศทางในการพัฒนาด้านอื่นๆ ต่อไปในอนาคตอีกด้วย

เดินหน้าธนาคารน้ำใต้ดินวิถีพอเพียงตามรอยศาสตร์พระราชา

logoline