svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สธ.ยืนหยัดจุดยืน แบน 3 สารเคมีอันตราย

31 สิงหาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แถลงจุดยืน แบน 3 สารเคมีอันตราย ถึงแม้จะมีคณะกรรมการ 2 คน จาก 27 คน ที่โหวตยังไงก็แพ้ แต่ขอคัดค้านถึงที่สุด ขณะที่อธิบดีกรมควบคุมโรคเผย ตั้งแต่ปี 2558-2562 พบผู้ป่วยจาก 3 สารเคมีทั้งหมด กว่า 40,000 คน

กรณี มติแบนการใช้สารเคมี 3 ชนิด ของ คณะกรรมการวัตถุอันตราย ได้สิ้นสุดวันผ่อนผันคือ วันที่ 29 ส.ค.ที่ผ่านมา ทำให้มีกระแสข่าวว่ามีกลุ่มเกษตรกรเข้าพบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษครและสหกรณ์ ฯ ให้ยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำ  3 สารเคมี กลับมาใช้ในทางเกษตร      

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึง จุดยืนว่า กระทรวงสาธารณสุขไม่เห็นด้วย และจะคัดค้านถึงที่สุดที่มีความพยายามให้มีการยกเลิกการ " แบน 3 สารเคมีอันตราย"  คือ พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส-ไกลโฟเซต  โดยกระทรวงสาธารณสุขมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จากการใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิด  


และขอร้องกลุ่มเหกษตรกรที่กดดันให้ก.เกษตรและสหกรณ์ให้ทำการยกเลิกการแบน ขอให้หยุดการกระทำ โดยขอให้คำนึงถึงสุขภาพของประชาชนเป็นอันดับแรก ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงคือ สุขภาพของคนไทยต้องมาก่อน แม้จะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจบ้าง แต่เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และได้เรียกร้องขอความร่วมมือกับประชาชนร่วมกันพิจารณา แสดงการต่อต้าน ขัดขวาง มติของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ที่จะดึง 3 สารเคมีมาใช้อีกครั้ง ทั้งนี้เพื่อสุขภาพของตนเอง 


นายอนุทิน ระบุอีกว่า แม้ตัวแทนกระทรวงสาธารณสุขมี 2 คนในคณะกรรมการวัตถุอันตราย ที่โหวตยังไงก็แพ้ แต่จะขอยืนหยัดแบนการใช้ 3 สารเคมีอันตรายถึงที่สุด 

สธ.ยืนหยัดจุดยืน แบน 3 สารเคมีอันตราย


ขณะที่ นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย  อธิบดีกรมควบคุมโรค. ระบุถึงสถานการณ์ผู้ป่วยจากการใช้ 3 สารเคมี ว่าช่วงระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2558-2562 พบผู้ป่วยทั้งหมด 41,941 ราย โดยปี 2560 มีผู้ป่วยมากที่สุด จำนวน 10,686 ราย แต่นับตั้งแต่การรณรงค์ลดการใช้สารเคมีอันตราย จำนวนผู้ป่วยในปี 2561-2562 จำนวนผู้ป่วยลดลงอย่างเห็นได้ ประมาณปีละ 6,000 คนและในปี. 2563 ตั้งแต่เดือน1 มกราคม ถึง 29 สิงหาคม มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 4,933ราย.      

ส่วนเขตสุขภาพที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือ เขตสุขภาพที่ 9 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือ เขตสุขภาพที่ 1 ภาคเหนือ และเขตสุขภาพที่ 11 ภาคใต้  


ทั้งนี้ นพ.สุขุม กาญจนพิมาย  ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ยืนยันว่า กระทรวงสาธารณสุข มีข้อมูลความอันตรายของ 3 สารเคมีทั้งในห้องปฏิบัติการและข้อมูลทางคลินิค พบว่า 3 สารเคมีอันตราย. มีผลอันตรายกับหญิงตั้งครรภ์รวมไปถึงเด็กในครรภ์มารดาและ อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

logoline