svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เผยผลสุ่มตรวจปลาหมึกแห้ง พบแคดเมียมปนเปื้อนเกินเกณฑ์ 7 ตัวอย่าง

ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยผลทดสอบการสุ่มเก็บตัวอย่างปลาหมึกแห้งจำนวน 13 ตัวอย่าง พบปลาหมึกแห้ง จำนวน 7 ตัวอย่างปนเปื้อนแคดเมียมเกินเกณฑ์มาตรฐาน


ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ภายใต้โครงการสนับสนุนการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ เผยผลทดสอบ การสุ่มเก็บตัวอย่างปลาหมึกแห้ง จำนวน 13 ตัวอย่าง จากตลาดสด ร้านค้า และห้างออนไลน์ เมื่อเดือน ก.พ.- มี.ค. 2563 ส่งห้องปฏิบัติการมาตรฐานตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา การตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรในกลุ่มไพรีทอยด์ ปริมาณโซเดียม และโลหะหนัก (ปรอท ตะกั่ว และแคดเมียม)
โดยผลการตรวจวิเคราะห์ ไม่พบการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา Aflatoxin B1, B2, G1, G2 และ Total Aflatoxin และ การตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ (Pesticides Pyrethroid)
ส่วนผลทดสอบการปนเปื้อนของตะกั่วและปรอท ในปลาหมึกแห้งที่นำมาทดสอบนั้น ทุกตัวอย่างไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ยกเว้นผลทดสอบแคดเมียม พบว่า ปลาหมึกแห้ง จำนวน 7 ตัวอย่าง ที่ส่งตรวจมีการปนเปื้อนของแคดเมียมเกินเกณฑ์มาตรฐาน ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดปริมาณการปนเปื้อนสูงสุดของแคดเมียมในอาหารบางชนิด สอดคล้องกับมาตรฐานโคเด็ก (Codex) ซึ่งกำหนดไว้ว่าต้องไม่เกิน 2 มิลลิกรัม ต่อ อาหาร 1 กิโลกรัม
ทั้งนี้ ผลทดสอบค่าเฉลี่ยปริมาณโซเดียมจากหมึกแห้ง 13 ตัวอย่าง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1,097.27 มิลลิกรัม / 100 กรัม (1 ขีด) สารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทย ตั้งแต่ 6 ปี ขึ้นไป (Thai RDI) แนะนำให้บริโภคโซเดียมไม่เกินวันละ 2,000 mg โซเดียมที่เราจะได้รับในแต่ละวันขึ้นอยู่กับอาหารที่เรารับประทาน โดยอาหารจานเดียวที่เรารับประทานมีโซเดียมตั้งแต่ ประมาณ 360 1,600 mg ดังนั้น การรับประทานที่เหมาะสม ควรจะคำนึงถึงปริมาณโซเดียมที่จะได้รับจากปลาหมึกแห้งข้างต้น ( 200 mg/20 g ) ร่วมกับปริมาณโซเดียมในอาหารอื่นที่เรารับประทานร่วมด้วยในแต่ละวันด้วย

เผยผลสุ่มตรวจปลาหมึกแห้ง พบแคดเมียมปนเปื้อนเกินเกณฑ์ 7 ตัวอย่าง























































ซึ่งตามธรรมชาติจะพบแคดเมียมในแหล่งสังกะสีและตะกั่ว นิยมใช้ป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่อุปกรณ์ไฟฟ้า โลหะผสม อะไหล่รถยนต์โลหะผสมในอุตสาหกรรมเพชรพลอย แคดเมียมที่ปนเปื้อนในน้า อาหารและในยาสูบ เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกดูดซึมในกระเพาะอาหาร แล้วแพร่กระจายไปที่ตับ ม้ามและลำไส้ แม้ได้รับปริมาณน้อยแต่ต่อเนื่อง แคดเมียม จะถูกสะสมไว้ที่ไตจากการให้หนูบริโภคอาหารที่มีแคดเมียมพบว่าหนูมีอาการ hyperglycemia และลดระดับของอินซูลิน ในตับอ่อน ทำให้การทำงานของไตผิดปกติ
กรณีของคนการบริโภคอาหารหรือฝุ่นที่ปนเปื้อนแคดเมียมปริมาณสูงจะทำให้ หายใจติดขัด เยื่อปอดถูกทำลายถุงลมโป่งพองคลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอกโลหิตจางเรื้อรัง ไตพิการ ปวดกระดูกสันหลัง แขนขา อาจเสียชีวิตได้ โรคที่เกิดจากพิษของแคดเมียมเรียกว่า โรคอิไต-อิไต (Itai Itai disease)