svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"หมอระวี" ยันต้องพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงนาม CPTPP

10 มิถุนายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาญัตติตั้งกรรมาธิการวิสามัญ CPTPP ด้าน "หมอระวี" ยืนยัน ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ หวั่นติดหล่มจนเกิดความเสียหาย

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาญัตติเพื่อขอให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วมข้อตกลงที่ครอบคลุม และก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP ที่เสนอโดยหลายพรรคการเมือง อาทิ นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่ นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย นายวีระกร คำประกอบ ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ และ นายวรภพ วิริยะโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นต้นทั้งนี้ นพ.ระวี กล่าวว่า ในขณะนี้ CPTPP มีสมาชิกทั้งสิน 11 ประเทศแบ่งเป็นประเทศที่ให้สัตยาบันแล้ว 7 ประเทศ ได้แก่ แคนาดา เม๊กซิโก ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และเวียด ประเทศที่ยังไม่ให้สัตยาบัน 4 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ชิลี บูรไน และเปรู ซึ่งจะมีการประชุมCPTTP ครั้งต่อไป จะมีขึ้นในช่วงเดือน ส.ค.2563 นี้ ทำให้รัฐบาลต้องเร่งในการส่งเจ้าหน้าที่ไปร่วมเจรจานพ.ระวี กล่าวว่า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้แจ้งข้อดีของการเข้าร่วม CPTTP เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทย ทำให้ GDP ขยายตัว 0.12% คิดเป็นมูลค่า 13,323 ล้านบาท การลงทุนขยายตัว 5.14% คิดเป็นมูลค่า 148,240 ล้านบาท การส่งออกขยายตัว 3.47% คิดเป็นมูลค่า 271,340 ล้านบาท และเกิดการจ้างงาน 73,370 ล้านบาท หากไทยตัดสินใจไม่เข้าร่วม CPTPP จะเกิดค่าเสียโอกาสจากการเป็นห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาคและของโลก โดย GDP จะลดลง 0.25% คิดเป็นมูลค่า 26,629 ล้านบาท การลงทุนลดลง 0.49% คิดเป็นมูลค่า 14,270 ล้านบาท การส่งออกลดลง 0.19% คิดเป็นมูลค่า 14,560 ล้านบาท และจ้างงานผลตอบแทนแรงงานจะลดลง 8,440 ล้านบาทต่อมาภาคประชาชนและภาคประชาสังคม นำโดยนายวิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีต รมช.เกษตรและสหกรณ์ ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยเพราะจะเป็นการอุ้มบริษัทข้ามชาติ ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารของคนไทย เช่นเดียวกับ นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าหากเข้าร่วมCPTPPถือเป็นรัฐบาลสิ้นคิด

"หมอระวี" ยันต้องพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงนาม CPTPP

จากการคัดค้านต่างๆมากมายว่าทำไมเอกสารฉบับเดียวกัน แต่ทำไมตีความแตกต่างกัน ดังนั้น ขอนำประเด็นที่ภาครัฐและภาคประชาชนตีความแตกต่างกันจำนวน 8 ประเด็น ประกอบด้วย 1.สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา (CL) ภาครัฐตีความว่าให้สิทธิแก่ประเทศสมาชิกบังคับCLและไม่ห้ามใช้มาตราการเพื่อคุ้มครองการสาธารณสุขและการเข้าถึงยา แต่ภาคประชาชนมองว่ามีความสุ่มเสี่ยงที่จะเสียค่าโง่ที่จะถูกฟ้องโดยรัฐภาคีหรือนักลงทุนต่างชาติหากรัฐบาลใช้มาตราCLยา 2.สิทธิบัตรและยาสามัญ ภาครัฐตีความว่าถ้าไทยเข้าCPTPPแล้วไม่ต้องขยายอายุการคุ้มครองสิทธิบัตรยา ไม่ผูกขาดข้อมูลการสดสอบยา และไม่กระทบต่อการนำเข้าส่งออกยาสามัญ แต่ภาคประชาชน มีความเห็นว่า เกิดการผูกขาดข้อมูลความปลอดภัย ส่งผลให้เกิดการกีดกันและชะลอการแข่งขันของยาชื่อสามัญ หากผ่านข้อตกลงนี้จะทำให้ประเทศไทยต้องใช้ยาสามัญแพงขึ้น 3.การคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ภาครัฐตีความว่าเกษตรกรสามารถนำพืชใหม่ไปใช้ได้ ทั้งผลผลิตและผลิตภัณฑ์โดยไม่ต้องขออนญาตหากซื้ออย่างถูกต้องกฎหมายและพัฒนาต่อยอดพันธุ์ใหม่ได้ รวมไปถึงสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับนักปรุงพันธุ์พืชรายย่อย แต่ภาคประชาชน เห็นแย้งว่าสิทธิในการเก็บพันธุ์พืชใหม่นั้นขึ้นอยู่กับรัฐเจรจาขอผ่อนผัน ซึ่งอาจจะได้บางกรณี และเกิดการขยายการผูกขาดไปถึงผลิตผลและผลิตภัณฑ์ด้วย 4.การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ทั้งนี้ ภาครัฐมองว่าถ้าเข้าร่วมCPTPP จะสามารถกำหนดมูลค่าขั้นต่ำในการเปิดตลาดเพื่อปกป้องผู้ประกอบการรายย่อยในประเทศ และสามารถขอเวลาปรับตัวในการเปิดตลาด ซึ่งบางประเทศขอถึง 25 ปี แต่ภาคประชาชนให้ความเห็นว่าห้ามให้มีแต้มต่อในการจัดซื้อจัดจ้างจากผู้ประกอบการไทยเหนือกว่าสมาชิกCPTPP และห้ามบังคับใช้สินค้าไทย และห้ามกำหนดการถ่ายทอดเทคโนโลยี 5.การดัดแปลงพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต หรือ GMOs ภาครัฐให้ความเห็นว่าประเทศไม่ต้องปรับแก้กฎหมายในประเทศเกี่ยวกับสินค้าGMOsและไม่ต้องเปิดตลาดสินค้า GMOs และการนำเข้าสินค้าGMOsเข้ามาในไทยต้องถือตามกฎหมายไทย แต่ข้อมูลจากประชาชนระบุว่าะการนำเข้าสินค้าGMOs จะต้องถือตามกฎหมายของประเทศที่ส่งออกสินค้าะการนำเข้าสินค้าGMOsมายังประเทศไทย หากประเทศไทยไม่รับสินค้านั้นจะต้องประเมินความเสี่ยงและความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งต้องใช้เวลานานพอสมควร

6.การคุ้มครองการลงทุน ในCPTPP จะต้องเกิดการคุ้มครองนักลงทุนต่างชาติตั้งแต่ก่อนประกอบกิจการหรือการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และการลงทุนที่ไม่ได้รับการอนุมัติคุ้มครองเป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้นักลงทุนต่างชาติฟ้องร้องรัฐได้ผ่านกระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ หากเป็นเช่นนี้อาจเกิดค่าโง่ขึ้นมาเป็นดอกเห็ด เช่น ในช่วงโควิดที่ไทยต้องล็อคดาวน์เศรษฐกิจในไทยและเกิดผลกระทบต่อนักลงทุน ซึ่งนักลงทุนสามารถฟ้องประเทศไทยได้ 7.กรณีการควบคุมการขึ้นทะเบียนเครื่องสำอาง หากไทยเข้าร่วมCPTPPการควบคุมการอนุญาตเครื่องสำอางจะเป็นระบบแจ้งโดยสมัครใจหรือบังคับ โดยองค์การอาหารและยาจะไม่มีอำนาจไปบังคับได้ แม้จะมีข้อดี คือ สามารถจดทะเบียนได้เร็ว แต่อาจจะเกิดปัญหาเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภค8.เรื่องอื่นๆ เช่น ข้อกังวลเรื่องเครื่องมือแพทย์มือสอง รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 178 กำหนดให้รัฐบาลไทยมีสิทธิตั้งกรอบเการเจรจาและส่งเจ้าหน้าที่ไปเจรจากับต่างประเทศไทย หากรัฐบาลเห็นว่าควรดำเนินการลงนามจึงค่อยส่งมาให้สภา ต่างจากรัฐธรรมนูญในอดีต พ.ศ.2550 ที่กำหนดให้รัฐบาลจะต้องนำกรอบการเจรจามาส่งให้สภาให้ความเห็นชอบก่อน "ด้วยเหตุนี้ หากสภาไม่มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาก่อนจะเกิดผลเสียเพราะประชาชนและ ส.ส.จะไม่มีส่วนร่วม เมื่อศึกษาเรื่องนี้จะเสนอความเห็นให้กับรัฐบาลดำเนินการต่อไป ที่สำคัญจะสามารถร่วมกันหาทางเลือกอื่นนอกเหนือไปจากการเข้าร่วมCPTPP แม้ภาครัฐมองว่าหากประเทศไทยเข้าร่วมCPTPPล่าช้าจะทำให้ประเทศตกรถ แต่ผมคิดว่าตกรถยังดีกว่าติดหล่มหรือไม่ จนเกิดผลเสียมากมาย ถึงวันนั้นใครจะรับผิดชอบ โลกไม่ได้เพียงต้องการการแข่งขันโดยเสรีเท่านั้นแต่ต้องการการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรมด้วย" นพ.ระวี กล่าว

logoline