svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เสนอจ่าย 5 พันถ้วนหน้า - เพิ่มเบี้ยคนชราสู้โควิด

14 เมษายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หลายฝ่ายได้ออกมาเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาการจ่ายเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รายละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน หลังจากเกิดปัญหาคนเดือดร้อนจริงยังไม่ได้รับเงิน ขณะที่บางส่วนที่ได้เงินกลับไม่ได้เดือดร้อนจริง แถมออกมาโพสต์เย้ยหยัน จนกลายเป็น "ดราม่า 5 พัน"

มีคณะนักวิชาการจาก 6 มหาวิทยาลัย เผยแพร่งานวิจัยเรื่อง "คนจนเมืองในภาวะวิกฤติโควิด-19 และข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล" โดยสุ่มสำรวจคนจนในเมืองจาก 18 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า มีคนจนเมือง 66.67% ที่พยายามลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท โดยลงทะเบียนสำเร็จ 51.87% ไม่สำเร็จ 14.60% ที่เหลือไม่ได้ลงทะเบียนเพราะคิดว่าตนเองขาดคุณสมบัติ รวมถึงไม่ทราบวิธีการลงทะเบียน

เสนอจ่าย 5 พันถ้วนหน้า - เพิ่มเบี้ยคนชราสู้โควิด


เมื่อคิดเฉพาะคนที่ลงทะเบียนสำเร็จ พบว่ามีเพียง 21.29% เท่านั้นที่ได้รับการอนุมัติจายเยียว 5,000 บาท ส่วนอีก 12.93% ไม่ผ่านการพิจารณา และ 65.78% ยังอยู่ระหว่างรอการตรวจสอบ สะท้อนให้เห็นว่า มาตรการเยียวยาของรัฐล่าช้า ไม่ทันกับความเดือดร้อนของคนจน

เสนอจ่าย 5 พันถ้วนหน้า - เพิ่มเบี้ยคนชราสู้โควิด


เสนอจ่าย 5 พันถ้วนหน้า - เพิ่มเบี้ยคนชราสู้โควิด


คณะนักวิจัยจาก 6 มหาวิทยาลัยเสนอทางแก้ในเรื่องนี้ว่า รัฐควรปรับเปลี่ยนหลักคิดจาก "การสงเคราะห์ผู้เดือดร้อน" เป็น "การให้สวัสดิการถ้วนหน้า" หรือเปลี่ยนวิธีการจาก "คัดคนเข้า" เป็น "คัดคนออก"
หมายถึงว่า แทนที่รัฐจะใช้วิธีการคัดกรองอย่างเข้มงวดว่าจะจ่ายเงินให้เฉพาะคนที่ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าได้รับผลกระทบจากมาตรการสกัดการระบาดของโควิด-19 อย่างชัดเจนเท่านั้น ซึ่งสุ่มเสี่ยงทำให้เกิดข้อผิดพลาดมาก รัฐบาลควรใช้หลักคิดใหม่ว่า คนส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดต่างได้รับผลกระทบทั้งสิ้น ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือ โดยมีคนส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่ได้รับผลกระทบ เช่น ข้าราชการประจำ และพนักงานประจำรายเดือนที่ไม่ถูกลดชั่วโมงการทำงาน ซึ่งคนเหล่านี้เท่านั้นที่จะถูก "คัดออก"
ส่วนคนกลุ่มอื่นๆ ไม่ว่าจะประกอบอาชีพใด หากอยู่ในวัยทำงาน ควรได้รับการช่วยเหลือทุกคน เหมือนที่หลายประเทศทำอยู่ เช่น สิงคโปร์ ไต้หวัน และ สหรัฐอเมริกา ซึ่งจะทำให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ที่สำคัญข้อมูลของจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2562 ชี้ว่า ประเทศไทยมีแรงงานรวม 37.5 ล้านคน เป็นแรงงานนอกระบบมากกว่าครึ่ง คือ 20.5 ล้านคน ซึ่งก็ใกล้เคียงกับตัวเลขผู้ลงทะเบียนในโครงการ "เราไม่ทิ้งกัน" ฉะนั้นหากรัฐบาลช่วยเหลือคนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือนทันที คือ 15,000 บาทต่อคน ก็จะใช้เงินราว 300,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินเพียงครึ่งหนึ่งของงบประมาณที่ตั้งไว้ 600,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันท่วงที และทันต่อความเดือดร้อนของประชาชน

นอกจากนั้น รัฐบาลควรเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จากคนละ 600-800 บาทต่อเดือน เป็น 2,000 บาท เพราะครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุต่างก็ประสบภาวะฝืดเคืองในช่วงภาวะวิกฤติโควิด การเพิ่มเงินในส่วนนี้จะช่วยแบ่งเบาภาระของครัวเรือนต่างๆ ได้

logoline