svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

โนโมโฟเบีย : โรคติดมือถือ (อาการ-วิธีแก้)

18 สิงหาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คำว่า โนโมโฟเบีย (Nomophobia) หรือ โรคติดมือถือ มีชื่อเต็มคือ no moblie phone phobia แปลว่า โรคกลัวไม่มีโทรศัพท์มือถือ บัญญัติขึ้นโดย ยูกอฟ (YouGov) บริษัทวิจัยด้านการตลาดนานาชาติ ของสหราชอาณาจักร ถือเป็นโรคที่ถูกบัญญัติไว้ใน โรคจิตเวชชนิดหนึ่ง อยู่ในหัวข้อ ความวิตกกังวล

โรคติดมือถือ จุดเริ่มต้นปัญหาสุขภาพแบบบุฟเฟ่ต์โรคติดมือถือเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมของเราเอง ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพจิต ความเครียด ความกังลต่างๆ แต่นอกจากปัญหาส่วนนี้แล้ว โรคติดมือถือยังเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาสุขภาพทางร่างกายอีกหลากหลายปัญหา เรียกได้ว่าเรียงหน้ากันมาแบบบุฟเฟ่ต์เลยทีเดียวปัญหาสุขภาพจุดแรกที่สามารถเกิดได้เร็วที่สุดจากโรคติดมือถือ คือ อาการนิ้วล็อค เนื่องจากการสไลด์ ไถๆ จิ้มๆ หน้าจอมือถือเป็นเวลานาน และบ่อยๆ ทำให้เกิดการปวดข้อนิ้วและข้อมือ อาจมีอาการเส้นเอ็นยึด และเกิดพังผืดร่วมด้วย นอกจากนิ้วล็อคแล้ว สุขภาพด้านสายตาก็เป็นอีกปัญหาที่ตามมาจากโรคติดมือถือ เพราะการเพ่งหน้าจอที่มีแสงสว่างจ้านานๆ ทำให้ตาแห้ง ตาพร่า และล้าได้ จนอาจส่งผลร้ายแรงกับดวงตาในระยะยาว และด้วยลักษณะการก้มมองจอโทรศัพท์ ก็เป็นที่มาของอาการปวดคอ บ่า ไหล่ด้วยเช่นกันนอกจากอาการเบื้องต้นที่จะเกิดตามมาจากโรคติดมือถือทั้งบริเวณ นิ้ว ดวงตา และคอ บ่า ไหล่แล้ว โรคติดมือถือยังสามารถส่งผลต่อปัญหาสุขภาพบริเวณหมอนรองกระดูก และโรคอ้วนอีกด้วย เนื่องจากการใช้เวลากับโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานขึ้น ทำให้ขยับตัวน้อย กิจกรรมอื่นๆ ในชีวิตก็น้อยลง กินปกติหรือกินมากไปแต่นำไปใช้ได้น้อยลง ไขมันก็สะสมจนทำให้เกิดโรคอ้วนอย่างเลี่ยงไม่ได้
อาการของคนที่เข้าข่าย Nomophobia
1.) กังวลมาก ถ้าเเบตอรี่มือถือของตัวเองใกล้จะหมด ต้องรีบหาที่ชาร์ต หรือพาวเวอร์แบงค์ทันที ถ้าไม่เจอ จะกระวนกระวายมาก
2.) กังวลใจเมื่อไม่มี สมาร์ทโฟน อยู่ใกล้ตัว หรือถึงจะเก็บเอาไว้ในที่ปลอดภัย ก็ยังกังวว่ามันจะหายไปหรือเปล่า
3.) หากมีข้อความแจ้งเตือน จากแอปพลิเคชั่น ที่ใช้เป็นประจำ ไม่ว่าจะกำลังทำอะไร ต้องหยุดอ่านและตอบ บางคน เดินๆ อยู่ก็หยุดข้างทาง เพื่ออ่าน ในบางประเทศ เช่น เบลเยี่ยม มีการทำทางเดินพิเศษ สำหรับคนที่อ่านสมาร์ทโฟน แยกไว้ต่างหาก เพราะเป็นพฤติกรรมที่สร้างความเดือดร้อน รำคาญให้คนอื่น
4.) เมื่อตื่นมาตอนเช้า จะเลือกหยิบ สมาร์ทโฟน ขึ้นมาดูก่อนเป็นอันดับแรก แทนการทำกิจกรรมอื่นๆ กินข้าว เข้าห้องน้ำ หรือแม้แต่ตอนลุกมาเข้าห้องน้ำตอนกลางคืน ก็ต้องหยิบสมาร์ทโฟน มาเปิดเช็คด้วยตลอด
5.) หากอยู่ในที่ๆ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ หรือ wifi จะรู้สึกกังวลมาก


อาการลักษณะนี้ ถือเป็น โรคจิตชนิดหนึ่ง ในบางคนที่จำเป็นต้องใช้สมาร์ทโฟนบ่อยๆ เพราะ เรื่องงาน อาจยังไม่เกี่ยวข้องกับอาการนี้ เพราะการติดตามงานส่วนใหญ่ ต้องอาศัยโซเชียลมีเดียเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นส่วนมาก แต่อย่างไรก็ตาม เราควรใช้งานสมาร์ทโฟนแต่พอดี คือทำงานในช่วง operation time หรือ day time คือตั้งแต่ 8.00 16.00 น. เวลาหลังจากนั้น ควรงดใช้มือถือในเรื่องงานอีก เพื่อคุณภาพชีวิตของตัวเอง

วิธีแก้อาการเบื้องต้น
ควรปิดแจ้งเตือน หรือเก็บมือถือไว้ให้ห่างตัว ในช่วงเวลาเลิกงานหรือก่อนเข้านอน เพื่อให้ร่างกายและสายตาได้พักผ่อน วางแผนกิจกรรมในแต่ละวัน แบ่งเวลาใช้สมาร์ทโฟน โดยกำหนดให้น้อยลง เพื่อกำหนดตัวเองไม่ให้เพลิดเพลิน จนเสียสุขภาพ หากิจกรรมสร้างความบันเทิงอย่างอื่นทำ เช่น อ่านหนังสือ หรือ ออกกำลังกาย จะช่วยให้ได้ทั้งสมาธิ และสุขภาพที่แข็งแรงคืนมา

logoline