svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กรมป่าไม้ลงนามMOUขยายพันธุ์ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ

20 มิถุนายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมป่าไม้ ร่วมกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และ บริษัท สยามฟอเรสทรี จำกัด ร่วมลงนาม (MOU) ศึกษาวิจัยการขยายพันธุ์ และการพัฒนาสายพันธุ์ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้และสร้างงานให้ชุมชน

วันที่ 20 มิถุนายน 2562 ณ กรมป่าไม้ บริเวณลานสมานมิตร คิดดี พูดดี ทำดี โดย นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้ พร้อมด้วยนางพรเพ็ญ วรวิลาวัณย์ ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และนายมหาศาล ธีรวรุตม์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามฟอเรสทรี จำกัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ (MOU) โครงการการขยายพันธุ์ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ จากแม่ไม้ที่ผ่านการคัดเลือกสายพันธุ์ ระหว่างกรมป่าไม้ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และ บริษัท สยามฟอเรสทรี จำกัดนายอรรถพล กล่าวว่า กรมป่าไม้ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจให้ได้ร้อยละ 15 ของพื้นที่ประเทศ และมีเป้าหมายในการส่งเสริมปลูก ดูแล รักษา และร่วมกันสร้างพื้นที่สีเขียว จึงได้ร่วมกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และบริษัท สยามฟอเรสทรี จำกัด ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการขยายพันธุ์ และพัฒนาสายพันธุ์ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจให้มีศักยภาพ และสามารถนำไปส่งเสริมให้กับเกษตรกร เพิ่มผลผลิตเพื่อการค้า เพิ่มรายได้และสร้างงานให้กับชุมชน ตามแนวทางเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)รวมถึงเป็นต้นแบบในด้านความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน และเป็นต้นแบบขยายผลการปลูกไม้เศรษฐกิจต่อไปแนวทางความร่วมมือครั้งนี้ กรมป่าไม้จะได้สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญในการขยายพันธุ์ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เพิ่มทักษะ และให้คำแนะนำแก่บุคลากรของบริษัท สยามฟอเรสทรี จำกัด พร้อมทั้งสนับสนุนต้นพันธุ์กระถินลูกผสมสำหรับใช้เป็นแม่พันธุ์ 10 สายต้น จำนวน 100,000 กล้า และสนับสนุนไม้มีค่าทางเศรษฐกิจชนิดอื่น ๆโดยบริษัท สยามฟอเรสทรี จำกัด จะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำในพื้นที่ของบริษัทฯ จำนวน 8 ไร่ เพื่อปลูกต้นแม่พันธุ์ ในส่วนของการปลูกทดสอบคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีนั้น ทางกรมป่าไม้ได้สนับสนุนกล้าไม้กระถินลูกผสมจำนวน 10 สายต้น โดยองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ได้จัดหาพื้นที่จำนวน 5 แปลง รวม 25 ไร่ พร้อมอุปกรณ์และแรงงานในการปลูก บำรุงรักษา และตรวจติดตาม ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจในการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานเป็นหลักสำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ (MOU) ครั้งนี้ เป็นการบูรณาการร่วมกันของทั้ง 3 หน่วยงานที่ได้กำหนดให้เป็นนโยบายเชิงรุกของรัฐบาลเพื่อความสุขของประชาชน ทั้งยังสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานให้เกิดประโยชน์ และเชื่อว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะสามารถผลักดันให้มีการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้แบบมีส่วนร่วม มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่า ร่วมกันสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน รวมถึงเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์ การพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ให้เกิดความยั่งยืน และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ

logoline