svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

(วันนี้ในอดีต) 30 พ.ค. 2484 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสู่สวรรคาลัย

30 พฤษภาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

วันนี้เมื่อ 77 ปีก่อนเป็นอีกวันที่ปวงชนชาวไทยต้องโศกเศร้าอาดูร เพราะเป็นวันที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือล้นเกล้ารัชกาลที่ 7 ทรงสวรรคต

                   ทั้งนี้ หลังจากที่พระองค์ทรงสละราชสมบัติแล้ว พระองค์ยังคงประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ แต่พระองค์ทรงพระประชวรอยู่เนืองๆ โดย พ.ศ. 2480 พระองค์ทรงพระประชวรมากด้วยโรคตัวบิดเข้าไปอยู่ในพระยกนะ (ตับ) แต่แพทย์ได้รักษาจนเป็นปกติ พระอาการประชวรของพระองค์กำเริบหนักขึ้นโดยลำดับตั้งแต่ธันวาคม พ.ศ. 2483 แต่ก็เริ่มทุเลาขึ้นเรื่อยมา กระทั่งวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 พระองค์เสด็จสวรรคตโดยฉับพลันด้วยพระหทัยวาย ขณะที่มีพระชนมายุ 48 พรรษา

          วันนี้ในอดีตจึงใคร่ขออันเชิญพระราชประวัติมานำเสนอ ณ ที่นี้ เพื่อเป็นการย้อนรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่เปรียบมิได้

          พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเต็ม คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 7 ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 76 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 ณ พระที่นั้งสุทธาศรีภิรมย์


        พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาตามประเพณีขัตติยาราชกุมาร ต่อมาได้เสด็จไปศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ เมื่อกรกฏาคม พ.ศ. 2449 ในขณะนั้น พระองค์มีพระชนม์มายุเพียง 13 พรรษา ทรงเริ่มรับการศึกษาในวิชาสามัญในวิทยาลัยอีตันซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมชั้นหนึ่งของประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นพระองค์ทรงเข้าศึกษาต่อวิชาทหารที่โรงเรียนนายร้อยทหาร ณ เมืองวูลิช พระองค์ทรงได้รับยศเป็นนายพันโททหารบก ตำแหน่งราชองครักษ์

(วันนี้ในอดีต) 30 พ.ค. 2484 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จสู่สวรรคาลัย

เจ้าฟ้าประชาธิปกและพระราชมารดา



          ต่อมา เมื่อได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว โปรดแต่งตั้งสภาอิรัฐมนตรีขึ้นให้มีหน้าที่ให้คําปรึกษาราชการและบริหารการเมือง โปรดให้ร่วมการศึกษาวิทยุคมนาคมกับต่างประเทศ พระองค์เริ่มจัดงบประมาณของประเทศขึ้นเพราะขณะนั้นได้เกิดเศรษฐกิจตกตํ่าทั่วโลก พระองค์เริ่มต้นตัดทอนงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรกเหตุการณ์นี้เป็นมูลเหตุของการปฎิวัติใน ปีพ.ศ. 2475 ประองค์ทรงตัดทอนรายจ่ายของพระองค์เอง ข้าราชการที่รับราชการที่จนล้นงานก็ให้ออกจากกระทรวงทบวงกรมต่างๆ เป็นจํานวนมาก

(วันนี้ในอดีต) 30 พ.ค. 2484 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จสู่สวรรคาลัย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกในฉลองพระองค์เต็มยศตามโบราณราชประเพณี ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ แวดล้อมด้วยชาวพนักงานถือเบญจราชกกุธภัณฑ์และเครื่องยศเครื่องสูง



          ที่สุด หลังจากเหตุการณ์การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศในแถบยุโรป พร้อมทั้งเสด็จประทับที่ประเทศอังกฤษ เพื่อทรงเข้ารับการผ่าตัดและรักษาพระเนตร ในการนี้ได้แต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในระหว่างนี้พระองค์ยังทรงติดต่อราชการกับรัฐบาลผ่านทางผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งยังคงปรากฏข้อขัดแย้งต่าง ๆ ที่ไม่สามารถหาข้อยุติกันได้ พระองค์จึงมีพระราชดำริที่จะสละราชสมบัติ

(วันนี้ในอดีต) 30 พ.ค. 2484 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จสู่สวรรคาลัย

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนศุโขไทยธรรมราชาและหม่อมเจ้ารำไพพรรณี พระวรชายา ในวันพระราชพิธีอภิเษกสมรส



          อนึ่ง คอลัมนวันนี้ในอดีต เคยได้บอกเล่าเรื่องราวการที่ทรงสละราชสมบัติไว้ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 เป็นวันที่มีความสำคัญทางการเมืองของประเทศไทยมาก

(วันนี้ในอดีต) 30 พ.ค. 2484 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จสู่สวรรคาลัย

         

 โดย ในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมกับพระราชินีได้เสด็จพระราชดำเนินไปต่างประเทศเพื่อรักษาพระองค์ และต่อมาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระองค์ก็ได้มีพระราชหัตถเลขาถึงเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นผู้แทนรัฐบาลที่ลอนดอน ทรงสละราชสมบัติ ดังมีความตอนหนึ่งในพระราชหัตถเลขาที่ขอยกมาดังนี้"



          "ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และไม่ฟังเสียอันแท้จริงของราษฎร"



(วันนี้ในอดีต) 30 พ.ค. 2484 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จสู่สวรรคาลัย


พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475



          ส่วนเรื่องราวทั้งหมดสามารถอ่านได้ที่ลิงค์นี้ http://www.komchadluek.net/news/today-in-history/315114

          ที่สุดหลังทรงสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีทรงจัดการพระบรมศพเป็นการภายในโดยอัญเชิญพระบรมศพประดิษฐาน ณ พระตำหนักคอมพ์ตัน โดยรัฐบาลอังกฤษได้อนุญาตเป็นกรณีพิเศษในการประดิษฐานพระบรมศพเป็นเวลา 4 วันซึ่งตามปกติจะอนุญาตเพียงวันเดียว เพื่อให้ประยูรญาติที่อยู่ห่างไกลมาถวายบังคมลาเป็นครั้งสุดท้าย

          ขณะที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นที่พระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหารตามราชประเพณี โดยมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์

         เมื่อได้ประดิษฐานพระบรมศพไว้ครบ 4 คืนเพื่อให้พระประยูรญาติที่อยู่ห่างไกลได้เสด็จมาเฝ้ากราบถวายบังคมลาเป็นครั้งสุดท้าย

         โดยในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2484 ก็ได้อัญเชิญพระบรมศพขึ้นประดิษฐานบนรถซึ่งตกแต่งอย่างงดงาม มีธงมหาราชคลุมพระบรมศพ แลเชิญพระชัยวัฒน์ไว้ทางเบื้องพระเศียร

         รถเคลื่อนขบวนออกจากพระตำหนักคอมพ์ตันไปยังสุสานโกดเดอร์สกรีน (Golders Green) ซึ่งอยู่ทางเหนือของกรุงลอนดอน มีรถตามเสด็จประมาณ 5 คัน คันแรกเป็นรถพระที่นั่งของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี รถคันที่สองเป็นรถที่ประทับของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีระพงษ์ภานุเดช พระราชนัดดา คันต่อไปเป็นของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิระศักดิ์สุประภาต พระโอรสบุญธรรม กับพระชายา คันต่อไปเป็นรถของหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ แลบุคคลอื่น ๆ เมื่อเสด็จไปถึงสุสานโกลเดอร์สกรีน ได้มีผู้มาคอยเฝ้ารับเสด็จอยู่มากทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศ

         เมื่อเจ้าหน้าที่อัญเชิญพระบรมศพเข้าสู่ฐานที่ตั้ง และผู้ที่ตามเสด็จเข้าประทับและนั่งเก้าอี้แถวโดยลำดับแล้ว อาร์. ดี. เครก (R. D. Craig) ชาวอังกฤษ ซึ่งเคยรับราชการอยู่เมืองไทยและเป็นพระสหายของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้อ่านสุนทรพจน์สรรเสริญพระเกียรติคุณ ผู้ที่ไปชุมนุม ณ ที่นั้นถวายความเคารพทีละคน มีคนไทยซึ่งเคยบวชในพระพุทธศาสนาได้สวดมนต์ถวายพระราชกุศลและมีการบรรเลงเพลงเมนเดลโซน ไวโอลิน คอนแชร์โต (Mendelssohn Violin Concerto) ซึ่งเป็นเพลงที่พระองค์โปรดเป็นพิเศษ ถวายเป็นครั้งสุดท้ายเท่านั้น หลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จสิ้นแล้ว พระบรมอัฐิและพระบรมสรีรางคารถูกอัญเชิญกลับไปประดิษฐานยังพระตำหนักคอมพ์ตันอันเป็นที่ประทับของพระองค์

(วันนี้ในอดีต) 30 พ.ค. 2484 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จสู่สวรรคาลัย

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับสู่ประเทศไทย



         กระทั่งในในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ขอพระราชทานให้ทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับสู่ประเทศไทย เพื่ออัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ร่วมกับสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าในพระบรมมหาราชวัง ในการนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีทักษิณานุปทานอุทิศถวายตามพระราชประเพณี หลังจากนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ หอพระบรมอัฐิ ซึ่งอยู่ชั้นบนของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท[38] ส่วนพระบรมสรีรางคารนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุไว้ที่พระพุทธบัลลังก์พระพุทธอังคีรสภายในพระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

//////////

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

วิกิพีเดีย

สถาบันพระปกเกล้า

logoline