svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ดูก่อนซื้อ ตรวจก่อนกิน "เห็ด" "เห็ดพิษ" กินอันตรายถึงตายได้

24 พฤษภาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หน้าฝนเป็นฤดูที่เหมาะแก่การเจริญเติบโต และขยายพันธุ์ของเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อรา และเห็ดนานาชนิด ปัญหาที่มักพบตามมาคือ การเก็บเห็ดพิษป่า มารับประทาน หรือนำมาจำหน่าย


ทำให้แต่ละปีมีผู้ป่วยและเสียชีวิตจากการรับประทานเห็ดพิษเป็นจำนวนมาก ช่วงหน้าฝนที่เห็ดเจริญงอกงามทั่วไทย เนชั่นทีวี ขอเสนอวิธีง่ายๆ ในการสังเกต "เห็ดพิษ" และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ป่วยที่กินเห็ดพิษการสังเกตเห็ดพิษ-เห็ดที่มีสีฉูดฉาดหรือสีเข้ม มีเกล็ดหรือปุ่มขรุขระอยู่บนส่วนหมวกเห็ด อาจมีวงแหวนรอบก้านเห็ด หรือลักษณะอื่นๆ ที่ผิดจากชนิดที่เคยกิน ก็ไม่ควรเก็บหรือซื้อมากิน -สำหรับผู้ที่ชำนาญในการเก็บเห็ด ในพื้นที่หนึ่งๆ เมื่อต้องไปเก็บเห็ดในที่อื่น ที่ไม่คุ้นเคย ก็อาจพลาดไปเก็บเห็ดพิษได้ เพราะเห็ดหลายๆ ชนิดหน้าตาคล้ายคลึงกัน  - กรณีเห็ดที่กินได้ แน่นอนต้องปรุงให้สุกก่อนทุกครั้ง เพราะเห็ดที่กินได้เหล่านี้อาจมีสารพิษ แต่เป็นสารพิษที่ไม่คงตัว เมื่อถูกความร้อน (heat-labile toxin) การปรุงให้สุกด้วยความร้อนจะช่วยทำลายสารพิษเหล่านี้ได้ -สำหรับเห็ดที่ไม่รู้จัก ไม่เคยกิน และสงสัยว่าอาจจะเป็นเห็ดพิษ เป็นสิ่งที่ควรหลีกเหลี่ยง เพราะความร้อนไม่สามารถทำลายสารพิษที่มีในเห็ดพิษได้ -ความเชื่อที่ผิดๆ เช่น การใช้ช้อนเงินตักน้ำแกงเห็ดแล้วช้อนไม่เปลี่ยนเป็นสีดำหรือเห็ดที่มีแมลงตอม แสดงว่าเป็นเห็ดที่กินได้ นั้นเป็นเรื่องที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ ไม่ควรทำตาม การปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ป่วยที่กินเห็ดพิษ  -หากพบผู้ป่วยจากการกินเห็ดพิษ จะต้องปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยให้ดื่มน้ำผสมเกลือ แล้วล้วงคอทำให้อาเจียน เพื่อลดการดูดซึมของสารพิษ  -หลังจากนั้นให้กินผงถ่าน (activated charcoal) ที่ผสมกับน้ำให้ข้นเหลวคล้ายโจ๊ก โดยผู้ใหญ่ใช้ 30100 กรัม เด็กใช้ 1530 กรัม เพื่อดูดสารพิษของเห็ดในทางเดินอาหาร  - แต่ถ้าไม่มีผงถ่านก็ให้ใช้ไข่ขาวแทน ก่อนที่จะนำส่งโรงพยาบาล พร้อมกับนำตัวอย่างเห็ดที่กินไปด้วย เพื่อเป็นแนวทางในการตรวจสอบชนิดของเห็ด และวางแผนการรักษาที่ถูกต้อง ขอบคุณข้อมูล : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

logoline