svasdssvasds
เนชั่นทีวี

บันเทิง

โครงการ "บ่มเพาะนักเขียนหน้าใหม่" ปี 4

22 พฤษภาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ในยุคที่อะไรๆ ก็ ออนไลน์ อยากอ่าน อะไรก็เสิร์ช หาเอาได้เพียงปลายนิ้ว ทำให้นักเขียนเองก็ต้องขยับขยายปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย ทางภาครัฐอย่างสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จึงยื่นมือเข้ามาช่วยในการพัฒนานักเขียนหน้าใหม่ ในโครงการ "บ่มเพาะนักเขียนหน้าใหม่" ซึ่งปีนี้ ก็เป็นรุ่นที่ 4 แล้ว

เปิดรับสมัครกันตั้งแต่ต้นปีสำหรับโครงการ ดีๆ ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย "บ่มเพาะนักเขียนหน้าใหม่"  ที่เป็นการ อบรม ทำเวิร์คช๊อปกันนานหลายเดือน ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ เพื่อติดอาวุธ ลับคมให้บรรดานักเขียนรุ่นใหม่ ทั้งมือสมัครเล่น และ มืออาชีพ ที่มีผลงาน ทั้งรูปแบบหนังสือเล่ม และ ออนไลน์ เผยแพร่อยู่แล้ว  ให้มารับความรู้ จากวิทยากร ในหลากหลายสาขา เพื่อนำไปพัฒนาตัวเอง ก่อนที่ช่วงท้ายของการอบรม คือ เดือนกรกฎาคมจะจัดงานนำเสนอผลงานเขียน หลังจากได้รับความรู้กันไปแบบเต็มที่ 
มีการแบ่ง ออกเป็น  5 สาขา คือ 1. เรื่องสั้น โดย อนุสรณ์ ติปยานนท์ และ มีเกียรติ แซ่จิว 2.นวนิยาย โดย ปองวุฒิ รุจิระชาคร 3.กวีนิพนธ์  โดย เรวัตร์ พันธ์พิพัฒน์ 4. สารคดี โดย โตมร ศุขปรีชา  และ 5. บทความ โดย ทีปกร วุฒิพิทยามงคล 
ล่าสุดได้จัดการบรรยาย เรื่องศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจารณ์วรรณกรรม โดย รศ.ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร นายกสมาคมภาษา และ หนังสือแห่งประเทศไทย ที่หลายคนอาจจะสงสัยว่า เอ๊ะ อบรมนักเขียนแต่มาเรียนรู้การวิจารน์ทำไม อาจารย์ ตรีศิลป์บอกว่า ก่อนจะเขียนงานที่ดีได้ เราต้องแยกแยะให้ได้ก่อนว่างานแบบไหนคือดีหรือไม่ดีอย่างไร ส่วนช่วงบ่ายเป็นการเสวนาเรื่อง นานาทรรศนะแห่งการวิจารณ์ศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัยงานนี้เลยมีนักวิจารณ์ฝีปากกล้าจากหลากหลายวงการ ทั้ง นิโรธ รื่นเจริญ นักวิจารณ์ภาพยนตร์, อรรถ บุนนาค นักวิจารณ์วรรณกรรม , ปนุ สมบัติยานุชิต นักวิจารณ์แฟชั่น และ ความงามและอนุสรณ์ ติปยานนท์ นักเขียนเรื่องสั้น นวนิยายร่วมแบ่งปันประสบการณ์  เริ่มที่ อดีตบรรนาธิการแฟชั่นที่คร่ำหวอดในวงการมายาวนาน ล่าสุดนั่งแท่นผู้บริหาร Momentum s สื่อออนไลน์ น้องใหม่มาแรง ปนุ บอกว่า ใครๆ ก็เป็นนักวิจารณ์ได้ ทั้งการพูดและการเขียนแค่มีความกล้า  แต่การเป็นตัวจริงนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างค่ะ ด้านอรรถ บุนนาค บอกว่า ตอนนี้สถานการณ์ในแวดวงนักเขียนดีขึ้น แม้จะเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นออนไลน์ มากขึ้น  แต่ยังไงเค้าก็  เชื่อว่า วรรณกรรม หรือ งานเขียนแบบเล่มจะไม่มีวันตายค่ะ 
ด้าน  โอ๊ต พัฒนพงศ์ มณเฑียร อาจารย์หนุ่มจาก รั้วจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ที่มีงานเขียนเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่รัก เค้ามีผลงานทั้งงานเขียนคอลัมภ์ และ หนังสือเล่ม มาแล้วมากมาย เช่น ลอนดอนซีน และ ปารีส ซูเวเนียร์ ก็ยังมาเข้าร่วมโครงการนี้ เพื่อเพิ่มพูนทักษะของตัวเองค่ะ  นอกจากนี้ โอ๊ต ยังแบ่งปันประสบการณ์ในฐานะอาจารย์  เกี่ยวกับ การเขียน ภาษาไทยของวัยรุ่นยุคใหม่ ที่เค้าเคยเจอด้วย 
ยุคนี้ใครมีปากกา ใครมีคีย์บอร์ด ก็สามารถเป็นนักเขีบน นักวิจารณ์ได้ แต่การเป็นให้ดี เป็นแบบมืออาชีพจน้ป็นที่ยอมรับว่า คือตัวจริง ก็ ต้องใช้เวลา ประสบการณ์ และความรู้ ความสามารถมากทีเดียวค่ะ 
คุณผู้ชมที่มีความสนใจในด้านงานเขียน สามารถติดตามระละเอียดของกิจกรรม เพื่อส่งเสริมนักเขียนแบบนี้ ได้ทางเฟศบุค บุหลัน วรรณกรรม ค่ะ

logoline