svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กรมอุทยานฯ ยอมรับ! กฎหมายสัตว์ป่า ไม่เปิดช่องเอาผิด"วิกรม"

14 มิถุนายน 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานฯ ยอมรับ! กฎหมายสัตว์ป่า ไม่เปิดช่องเอาผิด"วิกรม" กรณีพบนกเงือกสีน้ำตาลอยู่ที่บ้าน ชี้เหตุไม่ได้ขังกรง ไม่แจ้งครอบครอง ไม่มีความผิด

ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติและพันธุ์พืช นางเตือนใจ นุชดำรงค์ บอกว่า กรณีพบนกเงือกสีน้ำตาล สัตว์ป่าคุ้มครองครอง ภายใต้กฎหมายสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 อยู่ภายในบ้านน้องชายนายวิกรม กรมดิษฐ์ นักธุรกิจ นักคิด และนักเขียน เจ้าของโครงการนิคมอุตสาหกรรมอมตะ ที่เจ้าตัวกล่าวอ้างว่า นกตัวนี้ บินไม่ได้และตกอยู่แถวไร่แถวเขาใหญ่ น้องชายจึงเก็บมาเลี้ยงไว้นั้น ยอมรับว่ากรมอุทยานฯไม่สามารถแจ้งความดำเนินคดีเอาผิด เรื่องการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เพราะข้อความที่บอกว่านกตัวนี้มาเอง อาจสื่อได้ว่าเป็นการเจตนาไม่ครอบครอง เพราะไม่ได้นำใส่กรงกักขังหน่วงเหนี่ยว แม้ระหว่างที่นกตัวนี้อยู่ที่บ้านไม่แจ้งครอบครอง ก็ไม่มีความผิด
"ยอมรับว่ากฎหมายเปิดช่องที่ไม่สามารถเอาผิดได้ หากแจ้งความดำเนินคดี ก็เพราะพิสูจน์ได้ยาก และเจ้าหน้าที่เองก็จะตกที่นั่งลำบากเจอข้อหาฟ้องกลับจากคู่ความได้ว่าไปกลั่นแกล้งได้

กรมอุทยานฯ ยอมรับ!
กฎหมายสัตว์ป่า ไม่เปิดช่องเอาผิด"วิกรม"


ส่วนที่มีคำถามว่าทำไมกรมอุทยานฯ ถึงไม่ไปเอานกเงือกสีน้ำตาลคืน จากบ้านนายวิกรม ตอนนี้เชื่อว่านกเงือกสีน้ำตาล คงไม่อยู่แล้ว เพราะเจ้าของบ้านก็คงไม่เก็บนกไว้ เพราะจะเจอเรื่องของการครอบครอง ดังนั้นใครที่เจอหรือพบเห็นนกเงือกตัวนี้ ก็ให้แจ้งกรมอุทยานฯทันที
ทั้งนี้ สำหรับนกเงือกสีน้ำตาล ในประเทศไทย มี 2 ชนิด คือ ชนิดย่อย Tickell's Brown Hornbill พบทางตะวันตกของประเทศไทย ขณะที่ชนิดย่อย Austen's Brown Hornbill พบทางป่าฝั่งตะวันออกของไทย รวมผืนป่าดงพญาเย็น และในอุทยานแห่งชาติเข้าใหญ่ ทั้ง 2 ชนิด มีลักษณะใกล้เคียงกันมากทั้งตัวผู้และตัวเมีย โดยตัวผู้ต่างกันเล็กน้อย ชนิดพันธุ์ย่อยที่พบแถบป่าตะวันตก มีขนใต้ลำตัวสีน้ำตาลแดง ส่วนชนิดพันธุ์ที่พบในเขาใหญ่ มีขนสีขาวบริเวณคาง คอ และด้านข้างคอ แต่ที่ต่างกันชัดเจนคือ นกเงือกสีน้ำตาลตัวเมียที่พบทางป่าตะวันตกมีปากสีดำ ส่วนที่เขาใหญ่ปากสีเดียวกับตัวผู้

กรมอุทยานฯ ยอมรับ!
กฎหมายสัตว์ป่า ไม่เปิดช่องเอาผิด"วิกรม"

https://www.facebook.com/VikromKromadit
ก่อนหน้านี้ นายวิกรมได้โพสต์ภาพนกเงือกสีน้ำตาลลงบนเฟสบุ๊คของตนเอง ก่อนที่จะลบทิ้งไปเมื่อถูกทักท้วงว่า นกเงือกสีน้ำตาลเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง หากครอบครองหรือเลี้ยงไว้ มีความผิดตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ได้มีกลุ่มนกดูนกออกมาเรียกร้องให้ บก.ปทส. ซึ่งเป็นกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่้งแวดล้อม เข้าดำเนินการตรวจสอบล่าสุด นายวิกรม ต้องออกมาชี้แจงเพิ่มเติม โดยระบุว่า ไม่เคยครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองใดๆทั้งสิ้ โดยนกตัวในภาพนั้นเป็นนกที่น้องชายช่วยเลี้ยงดูอยู่ เนื่องจากบ้านที่น้องอยู่ติดกับอุทยานเขาใหญ่ ซึ่งมีวันหนึ่งคนงานพบนกตัวนี้ที่ข้างไร่ไม่สามารถบินได้ ไม่ทราบว่ามันมาจากใหน คิดว่าคงเป็นนกของใครสักคนหนึ่งที่มีบ้านอยู่ในแถบนั้น น้องสงสารเลยเอามาเลี้ยงเพราะหากปล่อยไปก็เชื่อว่าจะถูกสัตว์ป่าหรือคนฆ่าตาย จนทุกวันนี้มันไม่ยอมไปใหนเลยคงคิดว่าเป็นคนในไร่ไปแล้ว

กรมอุทยานฯ ยอมรับ!
กฎหมายสัตว์ป่า ไม่เปิดช่องเอาผิด"วิกรม"

หลังจากนายวิกรมโพสต์ชี้แจงในเฟสบุ๊คของตนเอง ปรากฎว่า มีผู้ใช้เฟสบุ๊คเข้ามาแสดงความเห็นกันมากมาย หลายคนยังสงสัยในประเด็นเรื่องที่มาและการครอบครองนกเงือกสีน้ำตาล โดยตั้งคำถามมว่า นกตัวนี้ไม่พบในเขาใหญ่ เป็นไปไม่ได้เลยที่จะมาพบที่บ้านน้องชายที่เขาใหญ่โดยธรรมชาติตามที่นายวิกรมอ้าง ยกเว้นว่าจะมีการนำมาจากป่าตะวันตกอย่างแก่งกระจานหรือทุ่งใหญ่นเรศวร พร้อมเรียกร้องให้นายวิกรมพูดความจริงว่าเรื่องราวเป็นอย่างไร อาจจะไม่ใช่ตัวนายวิกรมเป็นผู้กระทำผิด แต่เมื่อแสดงออกมาเสมอว่าเป็นคนที่ต่อต้านการกระทำผิด และภาพนี้นายวิกรมก็เหมือนว่ากำลังทำผิดกฎหมายเช่นกัน ซึ่งเป็นการรักษาชื่อเสียงของคุณเองด้วยในกรณีนี้ แฟนเพจที่ให้ข้อมูลเรื่องนกในธรรมชาติอย่าง"สิ่งละอันพันละนก" ระบุว่า นกเงือกสีน้ำตาลที่ปรากฎในภาพของนายวิกรม คือ Tickell's Brown Hornbill ซึ่งพบทางตะวันตกของประเทศไทย ไม่ใช่ Austen's Brown Hornbill ซึ่งพบทางฝั่งป่าตะวันออกรวมถึงเขาใหญ่

กรมอุทยานฯ ยอมรับ!
กฎหมายสัตว์ป่า ไม่เปิดช่องเอาผิด"วิกรม"

กรมอุทยานฯ ยอมรับ!
กฎหมายสัตว์ป่า ไม่เปิดช่องเอาผิด"วิกรม"

อย่างไรก็ตาม สมาชิกเฟสบุ๊คหลายท่านได้แสดงความเห็นทำนองว่า "บ้านที่เขาใหญ่ของคุณวิกรม เป็นไร่ของชาวบ้าน คุณวิกรม ได้ซื้อมาแล้วมาปลูกต้นไม้ใหญ่ ขุดสระน้ำ ทำให้มีสัตว์น้อยใหญ่เข้ามา และเจ้าของพร้อมบริวารไม่เคยไปทำร้ายมัน ทำให้มีสัตว์ต่าง ๆ แวะมาเสมอครับ คุณวิกรมเปิดบ้านให้แฟนคลับไปเยี่ยมปีละครั้ง ลองไปชมครับ จะเห็นเอง"

กรมอุทยานฯ ยอมรับ!
กฎหมายสัตว์ป่า ไม่เปิดช่องเอาผิด"วิกรม"

http://home.sanook.comทั้งนี้ ได้มีสมาชิกเฟสบุ๊ครายหนึ่งได้นำลิงก์ "สวนดึกดำบรรพ์"ป่ากลางเมือง มูลค่า 10 ล้านของวิกรม กรมดิษฐ์ มาโพสต์ลงในเฟสบุ๊คของนายวิกรม ปรากฎว่า เมื่อคลิกเข้าไปดู "จะเห็นภาพสวนป่าในจินตนาการของคุณวิกรมตั้งอยู่บนชั้นดาดฟ้าของอาคาร 6 ชั้นอายุ 40 ปี ที่ตั้งอยู่บนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ใจกลางกรุงเทพฯ " รวมไปถึงภาพนกเงือกสีน้ำตาลหนึ่งตัวเกาะคอนกิ่งไม้อยู่ ซึ่งสมาชิกเฟสตั้งข้อสงสัยว่า นกในภาพเป็นตัวเดียวกับนกที่ทำให้นายวิกรมต้องออกมาชี้แจงหรือไม่

logoline