svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ส่องนโยบาย "เรียนออนไลน์" จากดราม่า "ยายพาหลานซื้อมือถือ"

17 พฤษภาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

18 พ.ค.นี้ เป็นวันแรกที่สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จะเริ่มทดลองจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (เรียนออนไลน์) เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนในวันที่ 1 ก.ค. และหากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ยังไม่คลี่คลายจะจัดต่อเนื่องไปจนถึง 30 เม.ย. ปีหน้า แต่ยังมีคำถามจากหลายฝ่ายว่า สังคมไทยมีความพร้อมแค่ไหนในการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์

เมื่อเช้าวันนี้ 17 พ.ค. พบว่า แฮชแท็ก #เรียนออนไลน์ ได้กลายเป็นแฮชแท็กอันดับ 1 บนเทรนด์ทวิตเตอร์ หลังจากที่โลกโซเชียลได้มีการแชร์รูปของ สองยายหลานจูงมือกันไปซื้อโทรศัพท์มือถือ โดยมีเงินแค่ 2,000 บาท เพื่อนำมาใช้ในการเรียนออนไลน์ เรื่องราวดราม่าเหล่านี้ เปรียบเสมือนกระจกเงาสะท้อนความเป็นจริงอีกด้านหนึ่งของสังคม
อ่านข่าวเพิ่มเติม >>ประกันสังคมยืนยัน หลักฐานมาครบจ่ายหมดทุกราย

ส่องนโยบาย "เรียนออนไลน์" จากดราม่า "ยายพาหลานซื้อมือถือ"


เมื่อดูจากจำนวนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กว่า 30,000 แห่งทั่วประเทศที่ต้องเรียนออนไลน์แบ่งเป็น 3 กลุ่มตามเกณฑ์ คือ
1. สถานศึกษาขนาดเล็ก ประมาณ 15,000 แห่ง
2. สถานศึกษาขนาดกลาง ประมาณ 14,700 แห่ง และ
3. สถานศึกษาขนาดใหญ่ ประมาณ 300 แห่ง

ส่องนโยบาย "เรียนออนไลน์" จากดราม่า "ยายพาหลานซื้อมือถือ"


กลุ่มที่น่าจะมีปัญหาคือกลุ่มสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีมากถึง 50% ของสถานศึกษาทั่วประเทศ เนื่องจากกลุ่มนี้ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบการเรียนออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหากจำแนกลึกลงไปพบว่า โรงเรียนขนาดเล็กส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคอีสานมากถึง 48% รองลงมาคือภาคเหนือ 24% ภาคกลาง 17% และภาคใต้ 11% กลายเป็นความกังวลว่า ระบบการเรียนออนไลน์ที่ไม่สามารถเข้าถึงทุกพื้นที่ของประเทศไทยเช่นนี้ จะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของเด็กไทยหรือไม่

ไม่เพียงเเต่สถานศึกษาในประเทศไทย ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 เพราะนับตั้งแต่เชื้อไวรัสเริ่มระบาดในประเทศจีนปลายปีที่แล้ว องค์กรยูเนสโก้รายงานว่า รัฐบาลทั่วโลกสั่งปิดสถานศึกษาทั้งประเทศแล้วกว่า 191 ประเทศ ทำให้นักเรียนได้รับผลกระทบกว่า 1,500 ล้านคน หรือมากกว่าร้อยละ 90 ของผู้เรียนทั้งหมด

ส่องนโยบาย "เรียนออนไลน์" จากดราม่า "ยายพาหลานซื้อมือถือ"


ส่วนในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศปิดเรียนมาตั้งเเต่ต้นเดือนเมษายน ขณะที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เลื่อนวันเปิดเทอมภาคเรียนที่ 1 ออกไปเป็นวันที่ 1 กรกฎาคมนี้
เมื่อโจทย์การสอนรูปแบบใหม่ ต้องสอดรับกับมาตรการป้องกันการเเพร่ระบาดของโควิด-19 ควบคู่ไปกับมาตรการป้องกันไม่ให้นักเรียนได้รับผลกระทบจากรูปแบบการเรียนที่เปลี่ยนไป ฉะนั้นการเรียนออนไลน์ ดูเหมือนจะเป็นทางเลือกทางรอดที่ดีที่สุดในตอนนี้
อ่านข่าวเพิ่มเติม  >>  "หมอมนูญ" แนะ ควรจำกัดเวลาอยู่ในห้างฯ ชี้ ชี้ มนุษย์สามารถปล่อยเชื้อไวรัสได้ 200 ล้านอนุภาค
แต่มีงานวิจัยจากฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ทำการสำรวจความคิดเห็นครู 678 คน จากโรงเรียน 67 จังหวัดทั่วประเทศพบว่า มีนักเรียนมากกว่าครึ่ง ที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการเรียนออนไลน์ได้ เนื่องจากไม่มีคอมพิวเตอร์มากถึง 66% ไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้าน 57% ไม่มีสมาร์ทโฟน 36% ทำให้สัดส่วนคนที่สามารถเข้าถึงการเรียนออนไลน์ได้มีเพียง 45% เท่านั้นหากตัดเรื่องความไม่พร้อมของอุปกรณ์ออกไป อีกสิ่งที่ท้าทายไม่แพ้กันคือ จะทำอย่างไรให้เด็กมีสมาธิจดจ่ออยู่กับการเรียนออนไลน์ได้ตามตารางที่ สพฐ.กำหนด

เสียงสะท้อนจากครู ที่ต้องเปลี่ยนวิธีการสอนรูปแบบเก่า มาสอนแบบออนไลน์ ซึ่งแทบไม่เคยทำมาก่อนตลอดชีวิตความเป็นครู ครูส่วนใหญ่ยอมรับว่า แทบไม่เคยใช้โซเชียลมีเดียในการสอนออนไลน์ ส่วนความพร้อมก่อนเปิดเทอมในวันที่ 1 ก.ค. มีครูที่มีความพร้อมเพียง 58% เท่านั้น นั่นหมายความว่าอีกครึ่งหนึ่งยังไม่พร้อม
สิ่งที่พอจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น เพื่อป้องกันไม่ให้นักเรียนขาดโอกาสเรียนรู้ และความต่อเนื่องทางการศึกษา คงหนีไม่พ้นการเเจกอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Tablet หรือ Laptop แต่บทหนักของกระทรวงศึกษาธิการในครั้งนี้คือ ยังไม่ทันไรก็มีเสียงต่อต้านจากสังคม เพราะเเนวคิดเช่นนี้เคยมีบทเรียนจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรมาแล้ว

logoline