svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ชั่วโมงสืบสวน | "New Normal" ชีวิตวิถีใหม่ บนโลกใบเดิม |

11 พฤษภาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กระแส "New Normal" หรือความปกติในรูปแบบใหม่ เริ่มมีการพูดถึงมากขึ้น ในช่วงเวลาที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤติไวรัสโควิด-19 แต่กว่าจะไปถึงจุดนั้น มนุษย์ต้องผ่านจุดที่เรียกว่า "New Abnormal" หรือ "ความผิดปกติในรูปแบบใหม่" ก่อน ซึ่งตอนนี้เราอยู่ในจุดนี้ และกำลังเผชิญกับ "ทวิวิกฤติ" ที่มีปัญหาทั้งด้านสาธารณสุข และเศรษฐกิจควบคู่กันไป คำถามคือมนุษย์จะต้องปรับตัวอย่างไรกับ "ชีวิตวิถีใหม่ บนโลกใบเดิม"

ในห้วงเวลาที่มวลมนุษยชาติ กำลังต่อสู้กับไวรัสร้ายโควิด-19 ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่มีพาหะตัวร้ายคือมนุษย์ที่นำพาเชื้อไปได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนในโลก ขณะเดียวกัน  หลายประเทศมีมาตรการหยุดยั้งการแพร่ระบาดคล้ายกัน คือปิดเมือง (Lock Down) และเว้นระยะห่างทางสังคม (Socail Distancing) เพื่อสะกัดกั้นการแพร่กระจายของเชื้อที่ติดต่อจากคนสู่คนได้อย่างง่ายดาย เพียงสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย   
ดูรายการเพิ่มเติม  >>  ชั่วโมงสืบสวน | COVID-19 สงครามชีวภาพ .. เรื่องจริงหรือแค่ทฤษฎีสมคบคิด | 15 มี.ค. 63 |
ระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน หลังจากการปิดเมืองและเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้ประชากรในประเทศได้รับผลกระทบ ทั้งในเเง่การใช้ชีวิต การดำเนินธุรกิจ การทำงาน การเรียน ไปจนถึงภาคสังคมและระบบนโยบายรัฐ 


ปฏิเสธไม่ได้ว่า ไวรัสโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่สร้างความท้าทายต่อมวลมนุษยชาติ มันเข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตปกติของผู้คน กลายเป็นความท้าทายที่นำพามนุษย์โลก ก้าวเข้าสู่โลกใหม่ที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป อย่างที่ใครหลายคนนิยามความปกติในรูปแบบใหม่นี้ว่า "New Normal"

ต้นกำเนิดของคำว่า "New Normal" หรือความปกติในรูปแบบใหม่ ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในปี 2551 โดย "Bill Gross" นักลงทุนตราสารหนี้ชื่อดัง ซึ่งเป็นการให้นิยามถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีอัตราการเติบโตชะลอตัวลงจากในอดีต และเข้าสู่อัตราการเติบโตเฉลี่ยระดับใหม่ที่ต่ำกว่าเดิม ควบคู่ไปกับอัตราการว่างงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังเกิดวิกฤติทางการเงินในสหรัฐฯ 

ชั่วโมงสืบสวน | "New Normal" ชีวิตวิถีใหม่ บนโลกใบเดิม  |


ผ่านมากว่า 10 ปีหลังวิกฤติแฮมเบอเกอร์ มีการนำคำว่า "New Normal" มาใช้อีกครั้ง ในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เเต่หนนี้ผลกระทบขยายวงกว้างไปมากกว่าเศรษฐกิจโลก จึงมีการนำไปใช้ในหลายเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจ การตลาด การทำงาน การเรียน ไปจนถึงการใช้ชีวิต ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อ 
"ทั่วโลกมีการนำยุทธศาสตร์นี้ไปใช้ในหลากหลายประเทศ ในภาษาอังกฤษเราเรียกว่า The Hammer and The dance ก็คือยุทธศาสตร์ทุบด้วยค้อนแล้วเปิดโอกาศให้ฟ้อนรำ"
โลกหลังวิกฤติโควิด-19 อาจทำให้บางสิ่งเปลี่ยนไปหรือหายไป และเป็นเรื่องยากที่จะกลับมาเหมือนเดิมได้อีก แต่กว่าจะไปถึงจุด "New Normal" มนุษย์ต้องผ่านจุดที่เรียกว่า "New Abnormal" หรือความผิดปกติในรูปแบบใหม่ และต้องปรับตัวอย่างมากจากมาตรการเปิดปิดเมืองตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ  

แต่มีบางธุรกิจที่สามารถพลิกวิกฤติเป็นโอกาส และขยายฐานลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะร้านขายของออนไลน์ และร้านอาหารที่ปรับตัวเป็นแบบเดลิเวอรี่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 40% ในขณะที่บรรดาห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้าเริ่มปรับขนาดพื้นที่ให้เล็กลง และหันไปขยายบริการขายสินค้าผ่านออนไลน์มากขึ้น เช่นเดียวกับหลายองค์กรใหญ่ก็เริ่มปรับรูปแบบการทำงาน ให้พนักงานทำงานจากที่บ้านในระยะยาว เพื่อลดต้นทุนค่าประกอบการ ซึ่งดูเหมือนว่าจะสร้างความพึงพอใจให้กับทั้งนายจ้างและลูกจ้าง 
ดูรายการเพิ่มเติม  >>  ชั่วโมงสืบสวน | ปลดล็อกกระท่อม ประโยชน์ทางการแพทย์หรือมอมเมาประชาชน | 8 มี.ค. 63 |
โรคระบาดยังทำให้มนุษย์หันมาใส่ใจกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น เป็นที่สร้างโอกาสให้ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ ทั้งหน้ากากอนามัย และเจลล้างมือ รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันตัวจากการสัมผัสใกล้ชิด กลายเป็นสิ่งที่ผู้คนใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้มันอาจกลายเป็นปัจจัยที่ 5 สำหรับมนุษย์ 

ชั่วโมงสืบสวน | "New Normal" ชีวิตวิถีใหม่ บนโลกใบเดิม  |


วิกฤติโควิด-19 ทำให้เราได้เห็นอีกแง่มุมหนึ่งของ "New Normal" หรือความปกติรูปแบบใหม่ในชีวิตมนุษย์ ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้คนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการและภาคธุรกิจ ย่อมมีทั้งวิกฤติและโอกาสเกิดขึ้นในคราวเดียวกัน คำถามคือแล้วเราจะต้องปรับตัวอย่างไรในยุค "New Normal" 


วิกฤติโควิด-19 ทำให้วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไป เห็นได้อย่างชัดเจนคือ รูปแบบการทำงานจากที่บ้าน หรือ work from home และการเรียนออนไลน์ ซึ่งต้องใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือ แต่ผลสำรวจของนักวิจัยที่ระบุว่า มีนักเรียนจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการเรียนออนไลน์ได้ เนื่องจากไม่มีคอมพิวเตอร์มากถึง 66% ไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้าน 57% ไม่มีสมาร์ทโฟน 36% ทำให้สัดส่วนคนที่สามารถเข้าถึงการเรียนออนไลน์ได้มีเพียง 45% เท่านั้น ท้ายที่สุดแล้วระบบการเรียนออนไลน์ และการ work from home จะตอบโจทย์สังคมไทยในยุค New Normal หรือไม่ 

logoline