svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

ล่าความจริง l "สมคิด" กับโรคกามวิตถาร...ใกล้ตัวกว่าที่คิด (21-12-62)

23 ธันวาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ล่าความจริง" สัปดาห์นี้ มากันที่คดีเขย่าขวัญที่เรียกได้ว่า น่าจะเป็นคดีประวัติศาสตร์ในแวดวงกระบวนการยุติธรรมอีกหนึ่งเรื่อง นั่นคือ คดีของฆาตกรต่อเนื่องอย่าง "คิด เดอะริปเปอร์" หรือ "สมคิด พุ่มพวง" ที่ก่อคดีสะเทือนขวัญจนสาวๆหลายคนหวาดกลัว ควรจะได้รับจะเป็นไปตามความคาดหวังของสังคมหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้เขาเคยติดคุกมาแล้วหลายครั้ง แต่ก็ยังสามารถกลับมาก่อเหตุแบบเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไปติดตามจากคุณอนุรักษ์ เพ็ญสวัสดิ์

แนวทางการดำเนินคดีทางกฎหมายกับ "สมคิด พุ่มพวง" หรือ "คิด เดอะ ริปเปอร์" ฆาตรกรรมต่อเนื่องที่ก่อคดีสะเทือนขวัญลงมือปลิดชีพหญิงสาวมาแล้ว 6 ราย แม้เขาจะถูกจับกุมตัวดำเนินคดีจนต้องเข้าไปรับโทษในเรือนจำครั้งแล้วครั้งเล่า แต่เมื่อพ้นโทษกลับมาก็ยังเลือกที่จะก่อคดีฆาตกรซ้ำเดิมอีกหากย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2548 สมคิดก่อเหตุฆาตกรรมมา 5 คดี ซึ่งผลคือการลงโทษประหารชีวิต แต่คำรับสารภาพของนายสมคิด เป็นประโยชน์ศาลจึงลดโทษให้ทั้ง 5 คดี เหลือเพียงจำคุกตลอดชีวิต คดีละ 50 ปี รวมแล้ว 250 ปี แต่ในทางกฎหมายจะให้จำคุกสูงสุดได้แค่ 50 ปีเท่านั้น   การลงมือฆ่าหญิงสาวรายหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น เมื่อช่วงกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านามของ "คิด เดอะ ริปเปอร์" กำลังจะเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์บทกฎหมายไทยใหม่

รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด นายประยุทธ เพชรคุณ เปิดเผยว่า ขั้นตอนของอัยการจะต้องตรวจสำนวน / ประวัติการกระทำความผิด และพฤติการณ์ต่างๆ เพื่อนำมาบรรยายในคำฟ้อง และนำสืบให้ศาลเห็นถึงพฤติการณ์ของผู้ต้องหาในการดำเนินคดี 

แต่อัยการต้องพิสูจน์ให้เห็นว่า การรับสารภาพของจำเลย ไม่ใช่เป็นเพียงการสำนึกผิด และไม่ใช่การสำนึกบาป แต่ต้องทำให้เห็นว่า เป็นเพียงการจำนนต่อหลักฐาน โดยไม่ควรจะได้ประโยชน์จากการลดโทษ เพื่อที่ศาลจะไม่ยกประโยชน์ให้จำเลย และจะไม่มีการลดโทษเกิดขึ้น เพื่อให้ความมั่นใจกับประชาชน

แม้ทางสำนักงานอัยการสูงสุด จะออกมาบอกถึงแนวทางการดำเนินคดีกับ "คิด เดอะริปเปอร์" แต่สังคมก็ยังตั้งคำถามว่า "สมคิด" เกิดป่วยเป็นจิตเภท จะมีผลต่อการตัดสินคดีหรือไม่

"ล่าวความจริง" ได้สอบถามเรื่องนี้กับผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ แพทย์หญิง ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์ ได้รับคำตอบว่า การที่ผู้ที่มีอาการจิตเภทคดีในลักษณะนี้ สิ่งแรกที่ควรทำก็คือ ให้แยกประเภทของการป่วยของผู้ก่อเหตุก่อนว่า เขาป่วยเป็นอะไรกันแน่ ไม่ควรไปเหมารวมด้วยคำว่าเป็นผู้ป่วยโรคจิต เพราะแม้จะเป็นผู้ที่มีอาการป่วย แต่กลับลงมือกระทำความผิด ก็จะมีบทลงโทษเช่นกัน ซึ่งในทางการแพทย์จะมีขั้นตอนการตรวจสอบอย่างละเอียด

"ล่าวความจริง" ได้สอบถามเรื่องนี้กับผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ แพทย์หญิง ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์ ได้รับคำตอบว่า การที่ผู้ที่มีอาการจิตเภทคดีในลักษณะนี้ สิ่งแรกที่ควรทำก็คือ ให้แยกประเภทของการป่วยของผู้ก่อเหตุก่อนว่า เขาป่วยเป็นอะไรกันแน่ ไม่ควรไปเหมารวมด้วยคำว่าเป็นผู้ป่วยโรคจิต เพราะแม้จะเป็นผู้ที่มีอาการป่วย แต่กลับลงมือกระทำความผิด ก็จะมีบทลงโทษเช่นกัน ซึ่งในทางการแพทย์จะมีขั้นตอนการตรวจสอบอย่างละเอียด"ล่าความจริง" ได้ตั้งคำถามกับคุณหมอดุษฎีว่า จากข้อมูลที่อดีตตำรวจนายหนึ่ง ซึ่งเคยเป็นพนักงานสอบสวน "สมคิด" เมื่อครั้งก่อเหตุฆ่าเหยื่อสาวรายแรก เมื่อปี 2548 โดยเขาถามว่า "ฆ่าเหยื่อเพราะอะไร" แต่สมคิดกลับตอบด้วยสีหน้าอมยิ้มว่า เวลาผู้หญิงใจจะขาด จะกระตุ้นอารมณ์ทางเพศของเขาไปถึงจุดสุดยอด  
คุณหมอดุษฎี บอกว่า ในทางการแพทย์ไม่สามารถนำการกล่าวอ้างของใครมาใช้ในการประเมินผู้ป่วยได้ ฉะนั้น จะต้องมีการตรวจสอบอาการของผู้ป่วยอย่างละเอียดอีกครั้ง ว่าเข้าข่ายเป็นโรคกามวิปริตหรือไม่ ซึ่งสามารถแยกได้หลายประเภท เช่น การมีเพศสัมพันธ์ในที่สาธารณะ  การใช้ความรุนแรงในการกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ 

นอกจากข้อมูลทางการแพทย์แล้ว ข้อมูลบนโลกออนไลน์ ยังพบว่า มีกลุ่มคนในโลกโซเชียลที่ตั้งกลุ่มขึ้นมาให้กับคนที่มีสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในรูปแบบ "บีดีเอสเอ็ม" (BDSM) / การแสดงงานศิลปะ / อุปกรณ์ที่ใช้ในการร่วมทำกิจกรรม รวมถึงการให้ความรู้ความเข้าใจอีกด้วย
เมื่อขยายความของคำว่า "บีดีเอสเอ็ม" (BDSM) พบว่า มาจากตัวย่อของอักษรภาษาอังกฤษ 4 ตัว คือ B : Bondage คือ พันธนาการ / D : Discipline คือ การลงโทษ / S : Sadism คือ มีความสุขจากการทำร้ายผู้อื่น และ M : Masochism คือ มีความสุขจากการถูกผู้อื่นทำทารุณกรรม
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดเหตุรุนแรงอย่างต่อเนื่องขึ้น ส่วนหนึ่งอาจมาจากผู้ที่เกิดอาการป่วยแบบไม่รู้ตัว ฉะนั้น การทำความเข้าใจและช่วยหาทางแก้ไขจากสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง น่าจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะสามารถช่วยเยียวความผิดปกติของบางคนได้ แต่ในยุคโซเชียลมีเดียครองโลก กลับทำให้กลายเป็นเครื่องมือในการพิพากษาความผิดให้กับคนบางกลุ่มที่เขาอาจจะเป็นเพียงแค่ "ผู้ป่วย" เท่านั้น

logoline