svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ชั่วโมงสืบสวน 3-11-62"Social Bully" ภัยในสังคมออนไลน์

04 พฤศจิกายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ไซเบอร์บูลลี่ ถือเป็นภัยออนไลน์รูปแบบใหม่สำหรับสังคมไทย ที่ผ่านมามีคนจำนวนไม่น้อยตกเป็นเหยื่อ ส่วนใหญ่จะเป็นดารา เน็ตไอดอล หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง แต่มีงานวิจัยระบุว่าสามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ และเคยมีคนฆ่าตัวตายเพราะโดนไซเบอร์บูลลี่มาแล้ว ไปติดตามจากทีมข่าวชั่วโมงสืบสวนครับ

        ไซเบอร์บูลลี่ ถือเป็นภัยออนไลน์รูปแบบใหม่สำหรับสังคมไทยที่ผ่านมามีคนจำนวนไม่น้อยตกเป็นเหยื่อ ส่วนใหญ่จะเป็นดารา เน็ตไอดอลหรือบุคคลที่มีชื่อเสียง แต่มีงานวิจัยระบุว่าสามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้และเคยมีคนฆ่าตัวตายเพราะโดนไซเบอร์บูลลี่มาแล้วไปติดตามจากทีมข่าวชั่วโมงสืบสวนครับ

 ในแวดวง LGBTหรือกลุ่มคนหลากหลายทางเพศคงไม่มีใครไม่รู้จัก "ต้น ศิริศักดิ์ ไชยเทศ" เพราะเขาคือผู้ออกมาเคลื่อนไหวในนามสมาคมฟ้าสีรุ้ง เพื่อเป็นปากเป็นเสียงในการรณรงค์เรียกร้องสิทธิเท่าเทียมที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย
      แม้สังคมไทยในปัจจุบัน จะเปิดกว้างและยอมรับกลุ่มคนหลากหลายทางเพศมากขึ้น แต่ก็ยังมีคนบางกลุ่มที่ต่อต้านทำให้"ต้น ศิริศักดิ์" ตกเป็นเหยื่อของไซเบอร์บูลลี่ หรือการระรานทางไซเบอร์
     "ต้น"ต้องเผชิญหน้ากับการถูกไซเบอร์บูลลี่ อย่างหนักหน่วงในช่วงที่ผ่านมา ผ่านคำพูดมากมายในโลกโซเชียล ที่พุ่งเป้าโจมตีตัวบุคคล ผลของมันทำให้ต้นตัดสินใจโพสต์เฟสบุ๊ค "เมื่อข้าพเจ้าโดนเหยียด" พร้อมติดแฮ็ชแท็ก #ยุติการเหยียดทุกรูปแบบ #StopCyberBullying#StopSocialBullying
     นับเป็นโชคดีของ "ต้น" ที่การโดนไซเบอร์บูลลี่ ยังไม่ถึงกับทำให้เจ้าตัวคิดสั้นฆ่าตัวตาย แต่กับบางคนอาจทำให้รอยยิ้มของเธอหายไปตลอดกาล 
"ซอลลี่" ดาราและนักร้องชื่อดังชาวเกาหลีใต้ เป็นอีกหนึ่งคนที่ตกเป็นเหยื่อของไซเบอร์บูลลี่ โดยเฉพาะในอินสตราแกรมของเธอ มีผู้ติดตามมากถึง 5 ล้านคน แต่ก็ยังไม่มีการออกมาระบุสาเหตุที่แน่ชัดว่า อะไรเป็นต้นเหตุที่ทำให้ "ซอลลี่" ตัดสินใจจบชีวิตด้วยวัยเพียง 25 ปี
     "การกลั่นแกล้ง" ถือเป็นความรุนแรงรูปแบบหนึ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน เพียงแต่ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้วิธีการกลั่นแกล้งพัฒนาจากการเผชิญหน้ากัน เป็นการระรานทางโลกไซเบอร์ ที่ผู้กระทำไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตน ขณะที่เหยื่อมักไม่ทราบว่าโดนใครกลั่นแกล้ง หรือเพราะอะไรถึงโดนกลั่นแกล้ง ซ้ำร้ายไปกว่านั้นการไซเบอร์บูลลี่ยังสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ เพียงแค่เหยื่อเปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
     จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบว่า ช่วงวัยเด็กอายุระหว่าง 13-15 ปี คือกลุ่มเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อไซเบอร์บูลลี่มากที่สุด เพราะเด็กมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากกว่า 90%
ส่วนสถานการณ์ทั่วโลก ไทยติดอันดับ 14 ประเทศที่เด็กเกือบ80%มีประสบการณ์ไซเบอร์บูลลี่ในชีวิตจริงโดย 66% ถูกแกล้งอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และอีก 12% ถูกแกล้งทุกวัน ขณะที่เด็กไทย 45% มีประสบการณ์เกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางโลกไซเบอร์อย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่งเป็นสถิติที่มากกว่าประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นถึง 4 เท่า 
แต่ทว่าเหยื่อของไซเบอร์บูลลี่นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นกับเด็กเพียงอย่างเดียว เพราะทุกช่วงวัยมีโอกาสเจอ ไม่ว่าจะวัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน วัยกลางคน และคนมีชื่อเสียง เรียกได้ว่าคนที่ใช้โซเชียลมีเดีย ย่อมเสี่ยงต่อการโดนไซเบอร์บูลลี่ได้แทบทั้งสิ้น           ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หรือภาวะทางจิตไม่ปกติ เครียด และวิตกกังวลจากการโดนไซเบอร์บูลลี่เข้ารับการรักษาจากจิตแพทย์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะห้วงเวลา 1-5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ 

logoline