svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"โรคเท้าปุก" อีกหนึ่งภัยคุกคามของหนูน้อยตาดำๆ

13 มิถุนายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ล่าความจริง" วันนี้ เปิดรายการกันด้วยโรคภัยใกล้ตัว ไม่ใช่แค่โรคปริศนาที่น้อยคนจะโดนแจ็คพ็อตเหมือนน้องน้ำตาล ผู้รับบท "หมวดรัน" ในซิทคอมเรื่องดัง "ผู้กองเจ้าเสน่ห์" เท่านั้น แต่ยังมีโรคภัยใกล้ตัวเด็กๆ ลูกหลานของเรา ซึ่งพบบ่อยขึ้น เยอะขึ้น และหากรักษาไม่ดี อาจทำให้เด็กๆ มีสภาพไม่ต่างจากคนพิการได้เหมือนกัน


โรคภัยที่ว่านี้ก็คือ "โรคเท้าปุก" (คุณผู้ชมหลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อ แต่จริงๆ แล้วเป็นโรคที่เกิดขึ้นไม่น้อย ถึงขั้นมี "วันเท้าปุกโลก" กันเลยทีเดียว)

โรคนี้มักเกิดกับเด็กทารก อาการของโรคจะมีลักษณะของ "กระดูกเท้าคด" พบมากในอัตราส่วน 1 คนต่อเด็ก 1,000 คนเลยทีเดียว อย่างที่บอกแม้ว่าโรคนี้จะไม่อันตรายมาก แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ก็มีความเสี่ยงที่จะพิการ หรือเดินไม่เหมือนคนปกติไปตลอดชีวิต

บ้านเราเองมีความตื่นตัวในการรักษา "โรคเท้าปุก" อย่างจริงจังพอสมควร มีการจัดงาน "วันเท้าปุกโลก" พร้อมกับอีกหลายประเทศทั่วโลกติดต่อกันเป็นปีที่ 4 แล้ว ซึ่งโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเป็นเจ้าภาพ ปีนี้มีเซอร์ไพรส์สุดพิเศษ เชิญศิลปินมากความสามารถระดับตำนานอย่าง "พี่ป๊อด โมเดิร์นด็อก" มาร่วมกิจกรรมและให้กำลังใจเด็กๆ ด้วย

วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม ก็เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคเท้าปุกให้กับประชาชน โดยเฉพาะพ่อแม่ผู้ปกครองที่กำลังมีบุตร หรือมีบุตรที่มีอาการเท้าปุกแล้ว เพื่อให้สามารถดูแลบุตรหลานได้อย่างถูกวิธี พร้อมมีกิจกรรมสร้างความรู้ เช่น การเสวนาทางการแพทย์ การพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้และขั้นตอนการปฏิบัติต่อผู้ที่เป็นโรคเท้าปุก การแสดงความสามารถของเยาวชนเท้าปุก อย่างเช่น การเดาะบอล เป็นต้น ส่วนพี่ป๊อดก็มาร้องเพลงสร้างสีสันให้กับงาน


"โรคเท้าปุก" อีกหนึ่งภัยคุกคามของหนูน้อยตาดำๆ


คุณผู้ชมหลายท่านอาจจะยังนึกไม่ออกว่า "เท้าปุก" เป็นอย่างไร นี่คือภาพความผิดปกติของเท้าที่มีลักษณะคดงอเข้าหากันจนผิดรูป มักจะเกิดขึ้นกับหนูน้อยแรกเกิด ซึ่งเป็นอาการของโรคเท้าปุก แม้การหาสาเหตุของโรคเท้าปุกในทารกนั้น จะยังไม่สามารถพบสาเหตุของความผิดปกติที่แน่ชัด แต่ก็มีการตั้งข้อสันนิษฐานอยู่หลายประเด็น ทั้งเรื่องของพันธุกรรม ความผิดปกติของกระดูกเท้าตั้งแต่ในครรภ์ หรือแม้แต่ความผิดปกติของระบบประสาท

แม้ว่า "โรคเท้าปุก" จะไม่ส่งผลให้ผู้ป่วยพิการเดินไม่ได้ แต่ก็เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตเมื่อเด็กเริ่มโต บางคนอาจเดินไม่ปกติ เล่นกีฬาบางอย่างไม่ได้ ทำให้เสียโอกาสในชีวิตไปไม่น้อย สัดส่วนของผู้มีอาการเท้าปุกทั่วโลกแต่ละปี จะอยู่ที่ 1 ต่อ 1,000 คน แม้จะดูไม่มากหากเทียบสัดส่วนประชากร แต่ในทางการแพทย์แล้ว จะพบเด็กแรกเกิดที่เป็นโรคนี้อยู่ที่ 1 คนในทุกๆ 1 นาทีเลยทีเดียว

ในอดีต การรักษาอาการเท้าปุกจะต้องอาศัยการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว แต่ในปัจจุบันแพทย์ได้หันมาใช้วิธีการ "ดัดเท้า" และ "ใช้เฝือกอ่อน" เพื่อช่วยคงรูปเท้าตามที่ดัดเอาไว้ ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

logoline