svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ช้างป่านั่งคุกเข่าตาย พบลำไส้ผิดปกติ"ติดเชื้อ"!!

24 เมษายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากกรณีพบช้างป่านั่งคุกเข่าตายกลางสวนยางที่ต.พระเพลิง อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว ล่าสุดสัตวแพทย์ สบอ.2 (ศรีราชา ) ระบุสาเหตุเกิดจากระบบลำไส้ผิดปกติ มีอาการอักเสบและติดเชื้อ

นายธนกร ทิวิน ผู้ใหญ่บ้านบ้านท่าเต้นท์ ม.9 ต.พระเพลิง อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว รับแจ้งจากชาวบ้านว่าพบช้างป่านอนอยู่ในสวนยางพารา ซึ่งพบว่า ช้างตายในลักษณะนั่งคุกเข่า โดยไม่ทราบสาเหตุพร้อมทั้งมีเลือดไหลออกจากบริเวณทวารด้วย ในสวนยางของนางไพลิน พรรณวารสีนี จึงแจ้งให้เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เข้าตรวจสอบพร้อมทั้งส่งเจ้าหน้าที่เข้าพลิกซากช้างพร้อมนำกลับมาตรวจพิสูจน์ที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาในนั้น

ล่าสุด สพ.ญ.ณฐนน ปานเพ็ชร นายสัตว์เเพทย์ประจำ สบอ.2 (ศรีราชา ) เปิดเผยว่า ช้างที่ตายเป็นช้างแม่ลูกอ่อนเพศเมีย อายุประมาณ 20 ปี น้ำหนักตัวประมาณ 4 ตัน การพิสูจน์ซากช้างดังกล่าว ตรวจสอบไม่พบบาดแผล ร่องรอยถูกทำร้าย เจ้าหน้าที่ได้ขนย้ายซากช้างไปผ่าพิสูจน์ ส่งชิ้นเนื้อ หาสารเคมีตกค้าง และสาเหตุการตายอย่างละเอียดที่หน่วยพิทักษ์ป่าเขาตะกรุบ ต.ทุ่งมหาเจริญ อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว ซึ่งภายหลังตรวจสอบแล้ว พบว่า สาเหตุการตายของช้าง คือ ระบบลำไส้ผิดปกติ ลำไส้อักเสบ และติดเชื้อ

ช้างป่านั่งคุกเข่าตาย พบลำไส้ผิดปกติ"ติดเชื้อ"!!

"จากการตรวจดูลักษณะภายนอก พบว่าบริเวณก้นบวม อักเสบ ขณะที่การผ่าชันสูตรพบความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร มีลักษณะท้องอืด ลำไส้อักเสบ มีลักษณะของปื้นเลือดออก ผนังลำไส้เล็กพบถุงน้ำเป็นจำนวนมากและพบว่ามีอาหารอยู่เต็มระบบทางเดินอาหาร แต่ไม่ได้ขับถ่ายออก ซึ่งสรุปสาเหตุการตายเบื้องต้น เกิดจากสภาวะระบบทางเดินอาหารอักเสบและมีความผิดปกติ"

ช้างป่านั่งคุกเข่าตาย พบลำไส้ผิดปกติ"ติดเชื้อ"!!

จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ทำการเก็บตัวอย่างอวัยวะภายในและเลือดเพื่อส่งตรวจโรคติดเชื้อ โรคติดต่อ ตรวจหาสารพิษและตรวจหาความผิดปกติทางพยาธิวิทยาของเนื้อเยื่ออวัยวะ ก่อนทำการฝังกลบตามหลักวิชาการ บริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าเขาตะกรุบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน

สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช สรุปตัวเลขประชากรช้างป่าใน 16 กลุ่มป่า 69 พื้นที่อนุรักษ์ คาดว่ามีช้างป่าจำนวน 3,341 ตัว โดย 5 อันดับแรกที่มีประชากรช้างมากที่สุดคือ กลุ่มป่าตะวันตก ประมาณ 642-734 ตัว กลุ่มป่าแก่งกระจาน 487-500 ตัว กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ 501 ตัว กลุ่มป่าภูเขียว-น้ำหนาว 489 ตัว กลุ่มป่าตะวันออก 423 ตัว

ช้างป่านั่งคุกเข่าตาย พบลำไส้ผิดปกติ"ติดเชื้อ"!!

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มป่าฮาลา-บาลา 100-140 ตัว กลุ่มป่าทุ่งแสลวงหลวง ภูเมี่ยง-ภูทอง 60-100 ตัว กลุ่มป่าคลองแสง-เขาสก 100 ตัว กลุ่มป่าลุ่มน้ำปาย-สาละวิน 50 ตัว กลุ่มป่าแม่ปิง 50 ตัว กลุ่มป่าภูพาน 48 ตัว กลุ่มป่าศรีลานนา-ขุนตาล 36 ตัว กลุ่มป่าพนมดงรัก-ผาแต้ม 30 ตัว กลุ่มป่าดอยภูคา-แม่ยม และกลุ่มป่าชุมพร พื้นที่ละ 20 ตัว

ขณะที่ผลการนับช้างป่าในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ภาคตะวันออก เป็นกลุ่มประชากรที่มีอัตราการเพิ่มสูงที่สุดในประเทศไทยเมื่อปี 2560 ประชากรช้างป่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ10 เมื่อสำรวจประชากรช้างเทียบกับขนาดของพื้นที่ประชากรมี 424 ตัว ขณะที่ป่ารองรับได้ถึง 500 ตัว ช้างยังไม่ล้นป่า แต่เมื่อคาดการณ์ไปข้างหน้าถ้าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10 ช้างจะล้นป่าแน่นอน เพราะในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน มีสภาพของพื้นที่ที่เหมาะสม เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของช้างป่า และไม่มีสัตว์ผู้ล่า

ช้างป่านั่งคุกเข่าตาย พบลำไส้ผิดปกติ"ติดเชื้อ"!!

logoline