svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เร่งแก้ 4 จังหวัด ประสบภัยแล้ง

03 เมษายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สทนช.ประกาศ 4 จังหวัดเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้ง มีร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ตราด ชลบุรี รวม 10 อำเภอ 35 ตำบล 252 ขณะที่หมู่บ้านสุวรรณภูมิ ร้อยเอ็ดหนักสุด จ่ายน้ำประปาไม่ได้

เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) นายสมเกียรติ  ประจำวงษ์ เปิดเผยถึงภาพรวมสถานการณ์ภัยแล้งล่าสุดว่า พื้นที่ประกาศภัยแล้งขณะนี้มีทั้งสิ้น 4 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ตราด และชลบุรี รวม 10 อำเภอ 35 ตำบล 252 หมู่บ้าน ขณะที่น้ำอุปโภค-บริโภค กระประปาส่วนภูมิภาคสาขาที่เฝ้าระวังทั้งในเขตและนอกเขตบริการ พบว่าสาขาต่างๆ ยังสามารถส่งน้ำได้ตามปกติ ยกเว้นสาขาสุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เริ่มขาดแคลนน้ำ แต่ได้แก้ปัญหาโดยให้สูบน้ำจากแหล่งน้ำข้างเคียงมาเติมตั้งแต่วันที่ 10 มี.ค.-31 พ.ค. และจ่ายน้ำเป็นช่วงเวลา 

ส่วนการปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทาน 32 จังหวัด พบว่าปลูกเกินแผน 1.18 ล้านไร่ ขณะที่พื้นที่นอกเขต ปลูกเกินแผน 0.133 ล้านไร่ ใน 7 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก นครพนม บุรีรัมย์ ยโสธร สุรินทร์ ปราจีนบุรี และอยุธยา  ทั้งนี้ได้มีการเจาะบ่อบาดาลเพื่อช่วยเหลือ จากแผนทั้งหมด 1,897 แห่ง ดำเนินการแล้ว 530 แห่ง คิดเป็น 28% โดยเป็นแผนงานในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง 737 แห่ง ดำเนินการแล้ว 226 แห่ง คิดเป็น 31%

เร่งแก้ 4 จังหวัด ประสบภัยแล้ง


อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้เร่งดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำในทุกภาคของประเทศ  โดยปี 2562 มีการดำเนินโครงการ ในพื้นที่ภาคเหนือ รวม 2,458 โครงการ งบประมาณรวม 14,182 ล้านบาท พื้นที่รับประโยชน์ 270,065 ไร่ เพิ่มน้ำได้ 40.90 ล้าน ลบ.ม. 

และในช่วงปี 2563-2565 รัฐบาลมีแผนจะเร่งดำเนินการโครงการขนาดใหญ่และสำคัญ 8 โครงการในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อสร้างความยั่งยืน และ มั่นคงด้านน้ำ ได้แก่ 1.โครงการแผนหลักฟื้นฟูบึงราชนก จ.พิษณุโลก เริ่มดำเนินการปี 63 โครงการแผนการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ เริ่มปี63 โครงการผันน้ำยวม-ภูมิพล เริ่มปี 64  โครงการเขื่อนน้ำกิ จ.น่าน เริ่มปี 64  โครงการเขื่อนน้ำกอน จ.น่าน เริ่มปี 64 โครงการเขื่อนแม่คำมี จ.แพร่ เริ่มปี 64 โครงการเขื่อนแม่คำ จ.เชียงราย เริ่มปี 65 และโครงการผันน้ำกก-อิง-สิริกิติ์ เริ่มปี 65  

เร่งแก้ 4 จังหวัด ประสบภัยแล้ง



แต่ในระหว่างที่รอโครงการขนาดใหญ่  รัฐบาลได้จัดทำโครงการทุ่งรับน้ำหลาก ตั้งแต่ปี 2560 ที่ผ่านมา ในพื้นที่ลุ่มน้ำยมซึ่งไม่มีเขื่อนขนาดใหญ่ ได้แก่ โครงการบางระกำโมเดล และในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างซึ่งรองรับฝนที่ตกใต้เขื่อน ได้แก่ โครงการ 12 ทุ่งลุ่มเจ้าพระยา ทั้งสองส่วนสามารถรองรับน้ำหลากได้มากถึง 2,033 ล้าน ลบ.ม. หรือเท่าความจุของเขื่อนแควน้อยฯ และ เขื่อนป่าสักฯ รวมกัน

เร่งแก้ 4 จังหวัด ประสบภัยแล้ง

.

logoline