svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

(คลิปข่าว) ยุบ-ไม่ยุบไทยรักษาชาติ? เจาะขั้นตอนศาล รธน.

15 กุมภาพันธ์ 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากความคืบหน้าล่าสุดที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องของ กกต.ที่เสนอให้สั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติไว้พิจารณา และนัดให้พรรคไทยรักษาชาติส่งคำชี้แจงข้อกล่าวหาภายใน 7 วัน พร้อมนัดพิจารณาครั้งต่อไปในวันที่ 27 กุมภาพันธ์นั้น วันนี้ "เนชั่นอิเล็กชั่น 2019" จะพาไปดูขั้นตอนการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญกันชัดๆ ว่าหลังจากนี้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

ขั้นตอนแรก เกิดขึ้นแล้วเมื่อวานนี้ คือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญประชุมพิจารณาว่าจะรับคำร้องของ กกต.ไว้พิจารณาหรือไม่ สรุปก็คือ "รับ" โดยยังไม่มีการสั่งระงับการดำเนินกิจกรรมของพรรคไทยรักษาชาติ แสดงว่า กกต.ไม่ได้ยื่นคำร้องนี้แนบไปด้วยขั้นตอนที่สอง สถานการณ์ขณะนี้ ผู้เกี่ยวข้องในคดีนี้จะมี 2 ฝ่าย คือ "ผู้ร้อง" หมายถึง กกต. กับ "ผู้ถูกร้อง" หมายถึง พรรคไทยรักษาชาติ โดยศาลจะส่งสำเนาคำร้องไปให้ "ผู้ถูกร้อง" คือพรรคไทยรักษาชาติ คล้ายๆ ขั้นตอนการรับทราบข้อกล่าวหาในคดีอาญาทั่วไป จากนั้นฝ่าย "ผู้ถูกร้อง" คือพรรคไทยรักษาชาติ ต้องทำคำชี้แจงส่งมายังศาลภายใน 15 วันกรอบเวลานี้เป็นไปตาม "ข้อหนดศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย" ข้อ 29 วรรค 2 จะเห็นได้ว่าข้อกำหนดใช้คำว่า "ภายใน 15 วัน หรือภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด" ฉะนั้นการที่ศาลกำหนดเวลาให้ 7 วัน จึงไม่ได้ผิดข้อกำหนดและกฎหมายแต่อย่างใดขั้นตอนนี้มีความสำคัญมาก โดยเมื่อศาลได้รับคำชี้แจงของฝ่ายพรรคไทยรักษาชาติแล้ว หรือพรรคไม่ส่งคำชี้แจงตามกำหนดก็ตาม หากศาลเห็นว่ามีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้แล้ว ก็สามารถประชุมพิจารณาและวินิจฉัยได้ทันที นี่คือระยะเวลาสั้นที่สุดที่คดีจะจบได้แต่หากพยานหลักฐานยังไม่เพียงพอ ก็จะข้ามไปขั้นตอนที่ 3 ศาลรัฐธรรมนูญนัดไต่สวนพยานทั้งสองฝ่าย จนกว่าศาลจะได้ข้อเท็จจริงเพียงพอกับการวินิจฉัย

ขั้นตอนที่ 4 นัดฟังคำวินิจฉัย "ยุบหรือไม่ยุบ" ถ้าไม่ยุบ ก็จะมีคำสั่ง "ยกคำร้อง" เรื่องก็จบ แต่ถ้ายุบ ก็จะ "ตัดสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้ง" โดยกลุ่มคนที่จะถูกตัดสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้ง คือกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด กรณีของพรรคไทยรักษาชาติตอนนี้เหลือกรรมการบริหารพรรค 13 คน กฎหมายไม่ได้กำหนดเวลาเพิกถอนสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเอาไว้ ทำให้นักกฎหมายบางคนตีความว่าตัดสิทธิ์ตลอดชีวิต คือ "ใบดำ"

แต่บางคนตีความแบบแคบว่าน่าจะตัดสิทธิ์ 10 ปี เพราะการจะได้ "ใบดำ" รัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดว่าต้องเป็นการทุจริต จึงจะเพิกถอนสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้ง หรือตัดสิทธิ์เลือกตั้ง "ตลอดชีวิต" ไม่สามารถดำรงตำแหน่งทางการเมืองและกรรมการองค์กรอิสระได้ตลอดไป แต่กรณีนี้ไม่ใช่กรณีทุจริต นักกฎหมายบางคนจึงตีความว่าน่าจะตัดสิทธิ์ 10 ปีความชัดเจนในเรื่องนี้คงต้องรอฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ หากสั่งยุบพรรค ก็จะรู้ว่าตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคกี่คน คนละกี่ปี นี่คือขั้นตอนที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดหลังจากนี้
ส่วนศาลจะวินิจฉัยคดีนี้เมื่อไหร่ ตอนนี้คอการเมืองลุ้นว่า เมื่อให้เวลาพรรคไทยรักษาชาติส่งคำชี้แจงภายใน 7 วัน และหากไม่ส่งถือว่าไม่ติดใจ ก็มีความเป็นไปได้สูงว่า ศาลอาจอ่านคำวินิจฉัยในวันนัดพิจารณาครั้งต่อไป คือวันที่ 27กุมภาพันธ์ เลยก็เป็นได้ งานนี้คงลุ้นกันไม่ยาว

logoline