svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ตำรวจแชมป์ถูกชาวบ้านร้องผ่านผู้ตรวจการแผ่นดิน

02 กุมภาพันธ์ 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ปัญหาการจัดระเบียบเกาะเสม็ด ปัญหาแนวเขตอุทยานแห่งชาติฯทับซ้อนกับที่ทำกินของชาวบ้านและสถานประกอบการเอกชน ปัญหาน้ำประปาราคาแพง เพราะต้องซื้อน้ำจากฝั่ง ปัญหาเหล่านี้ยืดเยื้อมานานหลายปี กระทั่งล่าสุดเริ่มมีแนวโน้มที่ดี เมื่อ "ผู้ตรวจการแผ่นดิน" ลงพื้นที่ไปประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมเร่งรัดให้จัดการ

บทบาทของ "ผู้ตรวจการแผ่นดิน" ทำให้หลายคนสงสัยว่า หน่วยงานนี้ทำหน้าที่อะไร มีบุคลากรมากน้อยแค่ไหน และจะเป็นที่พึ่งของประชาชนผู้เดือดร้อนได้จริงหรือไม่ วันนี้มีคำตอบมาฝาก
จริงๆ แล้ว "ผู้ตรวจการแผ่นดิน" เป็นองค์กรที่อยู่คู่ระบบการปกครองไทยมานานหลายสิบปีแล้ว เดิมชื่อว่า "ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา" มีอำนาจหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชน โดยเป็นความทุกข์ความเดือดร้อนที่เกิดจากการกระทำของหน่วยงานรัฐ เมื่อรับเรื่องร้องทุกข์มาแล้ว "ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา" ก็จะทำหน้าที่ตรวจสอบ และเสนอให้หน่วยงานนำปัญหาไปแก้ไขแต่บทบาทของ "ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา" ในอดีตไม่มีอำนาจจริง ทำให้การตรวจสอบปัญหา และเร่งรัดแก้ไขความเดือดร้อนให้ชาวบ้าน ประชาชน ไม่สัมฤทธิ์ผล เพราะไม่ค่อยมีหน่วยงานไหนปฏิบัติตาม รัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ มาจนถึงฉบับปัจจุบัน จึงเพิ่มอำนาจให้


ปัจจุบันผู้ตรวจการแผ่นดินมีทั้งหมด 3 คน ประกอบด้วยพลเอกวิทวัส รชตะนันทน์ นายบูรณ์ ฐาปนดุลย์และนายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต โดยพลเอกวิทวัส ทำหน้าที่ประธานอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในปัจจุบัน มีทั้งอำนาจเดิมที่เคยมีอยู่แล้ว กับอำนาจใหม่ที่เพิ่มขึ้นมา หลักๆ ก็คือ
- เสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐเพื่อให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคําสั่ง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ก่อความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมให้กับประชาชน

- รับเรื่องร้องทุกข์จากประชาชน และแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐให้แก้ไขปัญหา- เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ทราบ กรณีหน่วยงานรัฐยังไม่ยอมปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ครบถ้วนตามหน้าที่ของหน่วยงานที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย- กรณีที่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องไม่ดําเนินการตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดินตาม โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินแจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบ เพื่อพิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควรต่อไป และหากเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ให้ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือ กสม.ได้ด้วย- นอกจากนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดินยังมีอำนาจส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลปกครองวินิจฉัย กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องใดที่อาจจะขัดรัฐธรมนูญ หรือกฎหมายอื่น
จากอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญใหม่ที่กลายเป็น "ยักษ์มีกระบอง" แม้กระบองจะไม่ใหญ่นักก็ตาม ทำให้ประชาชนทั่วไปรู้จักผู้ตรวจการแผ่นดินมากขึ้น เห็นได้จากสถิติเรื่องร้องเรียนที่ประชาชนร้องเข้ามา ในรอบ 3 ปี คือ ปี 59 ถึงสิ้นปี 61 มีเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น 9,210 เรื่อง ดำเนินการไปแล้ว 7,559 เรื่อง ส่วนอีก 1,651 เรื่องอยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินการ
สำหรับประเด็นที่ถูกร้องเรียนมากที่สุด 4 อันดับ คือ การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ 204 เรื่อง การบริหารงานด้านการเมือง การปกครองท้องถิ่น 86 เรื่อง การบริหารงานของรัฐ 77 เรื่อง และ ปัญหาเรื่องที่ดิน 59 เรื่อง
ส่วนหน่วยงานที่ถูกร้องเรียนมากที่สุด คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาล โดยพื้นที่ที่ร้องเรียนมากที่สุดคือ ภาคกลาง มีจำนวนมากถึง 527 เรื่อง และกรุงเทพมหานคร เป็นจังหวัดที่มีผู้ยื่นเรื่องร้องเรียนมากที่สุด 315 เรื่อง













logoline