svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ศบค.เริ่มผ่อนคลายมาตรการ-อัพเดตแผนจัดหาวัคซีน 150 ล้านโดสภายในปี 65

18 มิถุนายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศบค. เริ่มผ่อนคลายมาตรการเพิ่มขึ้น เริ่ม 21 มิ.ย.นี้ พร้อมจัดหางบเพิ่มซื้อวัคซีนเป็น 150 ล้านโดส ส่วนสถานที่กักกัน ใครมาทางน้ำ-อากาศ ให้จ่ายเงินเอง เว้นกลุ่มเปราะบาง ย้ำชัดภูเก็ตแซนบ็อกซ์เปิดได้ก็ปิดได้

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงสถานการณ์โควิดประจำวัน และผลการประชุม ศบค. ชุดใหญ่ ที่มี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.ศบค. เป็นประธาน โดยวันนี้มีผู้ติดเชื้อ 3058 รายรวมป่วยสะสม 210,782 ราย  หายป่วย 4,094 ราย  เสียชีวิต 22 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 1,577 ราย  รักษาอยู่ 32,795 คน อาการหนัก 1,360 คน ใช้เครื่องช่วยหายใจ 378 คน  ฉีดวัคซีนแล้ว 7,219,668 โดส แบ่งเป็น เข็มที่หนึ่ง 5,252,531 โดส , เข็มที่สอง 1,967,137 โดส
สำหรับมาตรการผ่อนคลายการแบ่งโซนพื้นที่ต่างๆทั่วราชอาณาจักร โดยพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หรือสีแดงเข้ม มี 4 จังหวัดคือ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ เปิดให้มีการจัดกิจกรรมได้ 50 คน ร้านอาหารเปิดได้ไม่เกิน 5 ทุ่ม งดดื่มสุรา ส่วนร้านอาหารที่มีเครื่องปรับอากาศ ทางกระทรวงสาธารณสุข ขอให้มีการเว้นระยะห่างนั่งได้ไม่เกิน 50% ขณะที่ศูนย์การค้าให้เปิดได้ไม่เกิน 21:00 น. ห้ามใช้สถานศึกษา ให้เรียนออนไลน์ไปก่อน สถานที่กลางแจ้งออกกำลังกายได้ เปิดไม่เกิน 3 ทุ่ม การแข่งขัน ไม่มีผู้ชม
พื้นที่ควบคุมสูงสุด สีแดง 11 จังหวัด จัดกิจกรรมได้ 100 คน ร้านอาหารเปิดได้ถึง 5 ทุ่ม งดดื่มสุราในร้าน ห้างสรรพสินค้าเปิดได้ตามปกติ งดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ใช้อาคารเรียนได้แต่ต้องขออนุญาตก่อนจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด สถานที่เล่นกีฬาเล่นได้ เปิดได้ไม่เกิน 3 ทุ่ม แข่งขันได้แต่ต้องจำกัดผู้ชม
พื้นที่ควบคุม สีส้ม 9 จังหวัด จัดกิจกรรมได้ 150 คน เวลาเปิด-ปิดร้านตามปกติ ใช้อาคารเรียนได้แต่ถ้ามีกิจกรรมก็ต้องดูเรื่องของการรวมตัว มีมาตรการที่กำหนด ส่วนสถานที่แข่งกีฬาเปิดได้ทุกประเภท จัดการแข่งขันได้โดยจำกัดจำนวนผู้ชม
พื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด สีเหลือง 53 จังหวัด จัดกิจกรรมได้ประมาณ 200 คน ร้านอาหาร-ห้างสรรพสินค้า เปิดได้ตามปกติ เล่นกีฬาได้เหมือนเดิม
ซึ่งมาตรการผ่อนคลายนี้จะเริ่มต้นเช้าวันที่ 21 มิถุนายนนี้ โดยจะมีข้อกำหนดประกาศออกมาในราชกิจจานุเบกษา ขอให้ติดตามอีกครั้ง
สำหรับแผนให้บริการวัคซีนโควิด ทางปลัดกระทรวงสาธารณสุข เสนอ 2 เรื่องคือ การจัดสรรวัคซีนให้แต่ละจังหวัดในเดือนกรกฎาคมนี้ จะมีวัคซีนเข้ามา  10 ล้านโดส ก็ขอใช้เกณฑ์ให้ผู้ที่จองวัคซีนในระบบหมอพร้อม ซึ่งเป็นผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้ก่อน โดยจะให้กรุงเทพมหานคร 5 ล้านโดสภายในเดือนกรกฎาคม  ให้ จ.ภูเก็ต ได้รับวัคซีนเข็ม 2 อย่างน้อย 70% ภายในเดือนกรกฎาคม 
ส่วน 4 จังหวัดสีแดงเข้ม + ภูเก็ต รวมเป็น 5 จังหวัด เป็นจังหวัดที่มีสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ได้ไป 30% โดยกรุงเทพฯ ซึ่งนับรวม ทปอ. และประกันสังคมได้ไป 2.5 ล้านโดส  นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ 6 เเสนโดส ภูเก็ต 2 แสนโดส
พื้นที่สีส้ม 23 จังหวัด ซึ่งเป็นพื้นที่ชายแดน ติดกับประเทศเพื่อนบ้านจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดหรือไม่มีความเร่งด่วนในการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ภายหลังการระบาดเช่น เชียงราย เชียงใหม่ ตาก หนองคาย สระแก้ว สุราษฎร์ธานี (อ.เกาะสมุย) พังงา กระบี่ จะได้วัคซีน 20% เฉลี่ยจังหวัดละ 1 แสนโดส หรือ 2.5 ล้านโดส 
สีเขียว 49 จังหวัดที่เหลือ ได้วัคซีน 35% เฉลี่ยจังหวัดละ 7 หมื่นโดส รวม 3.5 ล้านโดส ส่วนที่เหลืออีก 10% หรือ 1 ล้านโดส จะจัดสรรให้หน่วยฉีดส่วนกลาง องค์กรภาครัฐ และสำรองส่วนกลางสำหรับตอบโต้การระบาด โดยการจัดสรรทั้งหมดนี้ขึ้นกับจำนวนที่บริษัทผู้ผลิตส่งมอบ และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์การระบาดของโรค
นอกจากนี้ แผนการจัดหาวัคซีนจากเดิม 100 ล้านโดส ภายในปี 2564 เป็น 150 ล้านโดส ภายในปี 2565 ให้ครอบคลุมและเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้นเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันของโลก ซึ่งตอนนี้มีการจัดหาเจรจาจองวัดซีนไว้ 105.5 ล้านโดส (แอสตราเซเนกา 61 ล้านโดส , ซิโนแวค 19.5 ล้านโดส , ไฟเซอร์ 20 ล้านโดส , Johnson& Johnson 5 ล้านโดส) จึงต้องหางบประมาณเพิ่ม เพื่อจัดซื้อวัคซีนให้ครบ 150 ล้านโดส โดยให้ภาครัฐจัดหาวัคซีนซิโนแวค 28 ล้านโดส , วัตซีนโควิดอื่นๆ อีกประมาณ 22 ล้านโดส โดยขึ้นกับผลการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนและสถานการณ์ของเชื้อกลายพันธุ์
ส่วนสถานที่กักกันซึ่งทางราชการกำหนด จะเริ่ม 1 กรกฎาคมนี้ พวก SQ หรือ state quarantine ตอนนี้พบว่ามีการใช้บริการเพิ่มมากขึ้น และมีคนไทยหลายคนที่เดินทางไป-กลับต่างประเทศ มาขอใช้สิทธิ์จำนวนมาก จากนี้ภาระค่าใช้จ่ายคนที่จะกลับประเทศไทย ปรับให้เป็น AQ คือ alternative quarantine ต้องจ่ายเอง สำหรับคนมีสัญชาติไทยและไม่มีสัญสัญชาติไทย หรือคนต่างชาติ ให้เป็น AQ ส่วน SQ สำหรับกลุ่มเปาะบางหรือข้าราชการ รัฐจะดูแล และรัฐจะดูแลเรื่องค่าตรวจหาเชื้อให้คนทุกประเภท
ส่วน OQ หรือ organization quarantine ถ้าเป็นแรงงานไทยกลับมาจากต่างประเทศ กระทรวงแรงงานจะมีการกำหนดพื้นที่และระยะเวลาที่ต้องดูแล แต่ถ้าเป็นกลุ่มคนสัญชาติไทยที่ตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศ ประสงค์จะกลับมา หรือเรียกว่ากลุ่มเปราะบาง ไม่มีกำลังในการจ่ายตรงนี้ ภาครัฐจะจัดหา OQ ให้ เช่นเดียวกับการเข้ามาทางบกตามแนวขอบชายแดน ก็จะเป็น SQ ซึ่งภาครัฐเป็นผู้รับผิดชอบ ต้องทำเพื่อควบคุมโรคยอม ถ้ามาทางน้ำ(เรือ) ให้ใช้แบบเดียวกับการมาทางอากาศ
ส่วนการผ่อนคลายการถ่ายทำภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์นั้น ให้ถ่ายทำได้แต่ต้องรวมกันไม่เกิน 50 คน พิจารณาความหนาแน่นของพื้นที่ด้วยอย่างน้อย 4 ตารางเมตรต่อ 1 คน การสวมหน้ากาก อาจไม่จำเป็นในบางสถานการณ์ เช่น ละคร เฉพาะนักแสดงที่เข้าฉาก , การประกวดร้องเพลง เฉพาะผู้เข้าร่วมประกวดที่มีการจัดพื้นที่ไว้เฉพาะ , รายการเกมโชว์ ผู้ร่วมรายการคราวละ 1 คน , ผู้ประกาศข่าว จะต้องมีฉากกั้น เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร หรือตามความเหมาะสม พร้อมมีแนวปฏิบัติในการถ่ายรายการโทรทัศน์ ละคร ภาพยนตร์และวีดีทัศน์ ทั้งช่วงระหว่างการถ่ายทำ การพักถ่ายทำ และหลังการถ่ายทำ
ขณะที่การปรับระยะเวลาการกักตัวสำหรับลูกเรือ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) มีข้อเสนอปรับวิธีการกักตัวเมื่อได้รับวัคซีนครบตามกำหนดอย่างน้อย 14 วัน แบ่งเป็น 1. กรณีไม่ได้ลงจากเครื่องบิน หรือลงจากเครื่องบินไม่เกิน 12 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ได้สวมชุดป้องกันส่วนบุคคล (ppe) ให้สังเกตอาการที่ home quarantine  หากมีอาการให้รีบแจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคและอยู่ภายใต้กำกับของสายการบิน 2.กรณีไม่ได้ลงจากเครื่องบิน หรือลงจากเครื่องบินไม่เกิน 12 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ไม่ได้สวมชุดป้องกัน หรือลงจากเครื่องบินเกิน 12 ชั่วโมง ให้เข้ารับการกักกันที่ home quarantine หรือสถานที่ตามที่เจ้าพนักงานควบคุมโรคเห็นสมควร หากมีอาการให้รีบแจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อและอยู่ภายใต้กำกับของสายการบิน โดยจำนวนกับยังเป็น 14 วันเท่าเดิม การตรวจหาเชื้อเมื่อมีอาการหรือขึ้นอยู่กับการบินครั้งต่อไป
ส่วนการเปิดพื้นที่นำร่องรับการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า แต่เน้นหนักภูเก็ตจะมีความพร้อมมากกว่า ซึ่ง นายกฯ หรือ ผอ.ศบค. เน้นย้ำให้นโยบายทิศทางของประเทศไทย จะเปิดพื้นที่ เปิดประเทศ ต้องนำร่องที่เป็นพื้นที่ ค่อยๆ เปิดและเรียนรู้กันไป ภาคส่วนต่างๆต้องมีความพร้อม และต้องจัดสมดุลการป้องกันคนไทยในการติดเชื้อ กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา ได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการ ททท. เป็นผู้นำเสนอหลักการ มีตั้งเเต่ก่อนเดินทาง เดินทางมาถึง เมื่อพำนัก และก่อนเดินทางออกไป ที่สำคัญคือกลุ่มคนที่เราจะรับมาต้องไปประเทศที่ทางกระทรวงสาธารณสุขกำหนดว่าเสียงต่ำหรือเสียงปานกลาง ต้องได้รับวัคซีนที่กระทรวงสาธารณสุข โดยทาง อย. กำหนดไว้ ขณะนี้มีอยู่ 5 ตัว คือ แอสตราเซเนกา ซิโนเเวค ซิโนฟาร์ม โมเดินา Johnson & Johnson ส่วนไฟเซอร์ ถ้า WHO รองรับแล้วก็นับรวมได้ โดยต้องฉีดมาก่อน 2 เข็มหรือตามประเภทของวัคซีน อย่างน้อย 14 วัน ถึงจะเข้าประเทศไทยได้ เมื่อมาถึงต้องอยู่ในที่พัก ถ้าภูเก็ตก็ต้องอยู่ 14 คืน ถ้าอยู่น้อยกว่าก็ต้องออกนอกราชอาณาจักรเท่านั้น แต่ถ้าจะบินจากภูเก็ตไปสมุยต้องอยู่ 14 วันก่อน เพื่อมั่นใจว่าไม่ได้ติดเชื้อ ซึ่งการเลือกเป็นเกาะเพราะเป็นพื้นที่ที่สามารถควบคุมดูแลได้ ส่วนที่อื่นให้เป็นตามเอกสาร การตรวจหาเชื้อก็ด้วย โดยกระทรวงสาธารณสุข จะดูแลและออกข้อกำหนดในรายละเอียด
สำหรับหลักการการเปิดพื้นที่นำร่องจองการรับนักท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้น ทางกระทรวงสาธารณสุข มีข้อห่วงใย ต้องมีมาตรการกำกับอีก 3 ข้อคือ 1.ต้องมีการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการสถานการณ์โควิด ติดตามดูเรื่องข้อมูลการติดเชื้อ 2.เปิดเวทีการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ผู้ประกอบการเอกชน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ เพื่อให้สอดคล้องกันทั้งจังหวัดจะเป็นเรื่องดี  3.การเตรียมความพร้อมทางสาธารณสุข มาตรการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค
ทั้งนี้ หากพบว่ามีผู้ติดเชื้อรายใหม่มากกว่า 90 รายต่อสัปดาห์ มากกว่า 6 ตำบล และมากกว่า 3 คลัสเตอร์ ควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ หาต้นตอการติดเชื้อไม่ได้ จะต้องมีการปรับลดกิจการลง และมีการทบทวนหรือยุติภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ 
อย่าวไรก็ตาม ตอนนี้แนวทางอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต ส่วนเกาะสมุย เกาะเต่า เกาะพงัน จะเป็นพื้นที่ต่อไป โดยนายกฯ จะลงพื้นที่ 1 กรกฎาคม 

logoline