svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ การใช้มาตรการกำกับดูแลในระหว่างปล่อยตัวชั่วคราว

13 มิถุนายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำแนะนำของ 'ประธานศาลฎีกา' ว่าด้วยการใช้มาตรการกำกับดูแลในระหว่างปล่อยตัวชั่วคราว โดยมุ่งเสริมสร้าง ประสิทธิภาพในการป้องกันการหลบหนีและภัยอันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างผู้ต้องหาได้รับการปล่อยชั่วคราว

วันนี้(13 มิ.ย.64) ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศเผยแพร่ คำแนะนำของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการใช้มาตรการกำกับดูแลในระหว่างปล่อยตัวชั่วคราวพ.ศ. 2564 ลงใน เว็บไซต์ เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมา

โดยมีเนื้อหาดังนี้ ตามที่พระราชบัญญัติมาตรการกํากับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560 กําหนดให้มีมาตรการกํากับดูแลผู้ามจําเป็นในการเรียกหลักประกันลงด้วย ส่งผลให้ผู้ต้องหาหรือจําเลยที่ยากจน ซึ่งไม่อาจหาหลักประกันมาวางย่อมมีโอกาสที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราวเช่นเดียวกับผู้ต้องหาหรือจําเลยอื่น อันเป็นการลดความเหลื่อมล้ําในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อีกทางหนึ่ง จึงสมควรถูกปล่อยชั่วคราวขึ้น โดยมุ่งประสงค์ที่จะเสริมสร้าง ประสิทธิภาพในการป้องกันการหลบหนีและภัยอันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างที่ ผู้ต้องหาหรือจําเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวจากศาล ซึ่งนอกจากจะทําให้สังคมได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้นแล้ว ยังมีส่วนช่วยลดควจัดวางระบบ การใช้มาตรการกํากับดูแลดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับหลักการและวัตถุประสงค์ของกฎหมาย รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้แพร่หลายมากขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2551 ประธานศาลฎีกา จึงออกคําแนะนํา ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 การกํากับดูแล หมายถึง การสอดส่องดูแลให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติตามคําสั่ง หรือเงื่อนไขที่ศาลกําหนดซึ่งรวมถึงการรับรายงานตัวและการให้คําปรึกษาแก่บุคคลดังกล่าวด้วย เพื่อมิให้เกิดการหลบหนีหรือก่อภัยอันตรายหรือความเสียหายใด ๆ ดังที่กําหนดไว้ในประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108

ข้อ 2 ในกรณีปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 111 หากศาลเห็นว่า มีความจําเป็นเพื่อคุ้มครองสังคมจะมีคําสั่งกําหนดเงื่อนไขหรือสั่งใช้ มาตรการกํากับดูแลกับผู้ถูกปล่อยชั่วคราวนั้นก็ได้

ข้อ 3 การปล่อยชั่วคราวในกรณีอื่นนอกจากข้อ 2 ศาลจึงคํานึงถึงการใช้วิธีกําหนดเงื่อนไข ให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติและมาตรการกํากับดูแลเป็นเบื้องต้น

ข้อ 4 เงื่อนไขที่อาจกําหนดให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติในระหว่างปล่อยชั่วคราว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 วรรคสาม เช่น(1) ให้มาศาลตามกําหนดนัด (2) ห้ามยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน (3) ห้ามเดินทางออกนอกประเทศหรือออกนอกพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง (4) ห้ามพบหรือเข้าใกล้ผู้เสียหาย

(5) ห้ามออกจากที่อยู่อาศัย(6) การเปลี่ยนหรือย้ายที่อยู่อาศัยต้องแจ้งให้ศาลทราบ (7) ห้ามเข้าไปในสถานที่บางแห่ง (8) ห้ามคบหาสมาคมกับบุคคลบางประเภท (9) ให้รายงานตัวต่อผู้กํากับดูแลหรือบุคคลที่ศาลกําหนด

(10) ให้เข้ารับคําปรึกษาหรือการบําบัดรักษาความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจ (11) ให้เข้ารับการตรวจร่างกายเพื่อหาสารเสพติด (12) ห้ามทํากิจกรรมหรือประกอบอาชีพบางอย่าง (13) ห้ามพกพาอาวุธปืน (14) ห้ามกระทําการตามที่ถูกกล่าวหาหรือฟ้องร้อง

ข้อ 5 นอกจากกําหนดเงื่อนไขตามข้อ 4 แล้ว ศาลจะกําหนดให้มีผู้กํากับดูแลเพื่อสอดส่องดูแล รับรายงานตัว หรือให้คําปรึกษาแก่ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวด้วยก็ได้ โดยอาจแต่งตั้งจากบุคคลที่ขึ้นบัญชีไว้ ต่อศาลหรือบุคคลอื่นที่ศาลเห็นว่า เหมาะสมและสามารถสอดส่องดูแลให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติ ตามเงื่อนไขหรือคําสั่งของศาลได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้นั้น

ในกรณีที่ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวมีความเสี่ยงสูงที่จะหลบหนีหรือก่อภัยอันตรายและมีการกําหนด เงื่อนไขเกี่ยวกับสถานที่อยู่หรือการเดินทางซึ่งต้องมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด ศาลอาจสั่งใช้อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจํากัดการเดินทางของผู้ถูกปล่อยชั่วคราวควบคู่ไปด้วยก็ได้

ข้อ 6 การกําหนดเงื่อนไขการแต่งตั้งผู้กํากับดูแลตลอดจนการสั่งใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ศาลพึงพิจารณากําหนดให้เหมาะสมและได้สัดส่วนกับพฤติการณ์ของผู้ต้องหาหรือจําเลยเป็นราย ๆ ไป

ถ้าศาลเห็นว่า การใช้วิธีการตามวรรคหนึ่งเป็นอันเพียงพอต่อการป้องกันการหลบหนีหรือ ก่อภัยอันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแล้ว ศาลจะปล่อยชั่วคราวโดยไม่เรียกหลักประกันเลยก็ได้ เว้นแต่เป็นคดีเกี่ยวกับการทุจริตฉ้อฉลอันมีผลกระทบต่อสาธารณชนส่วนรวมหรือการค้ายาเสพติดให้โทษ ที่พฤติการณ์แห่งคดีก่อให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจและสังคมอย่างร้ายแรง

ข้อ 7 ถ้าความปรากฏต่อมาว่า วิธีการที่กําหนดไว้ไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสม ศาลอาจมีคําสั่ง ให้ใช้วิธีการที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามที่เห็นสมควร

ข้อ 8 ภายหลังที่ศาลมีคําพิพากษาแล้ว หากจําเลยไม่เคยถูกคุมขังมาก่อนหรือได้รับ การปล่อยชั่วคราวในศาลชั้นต้นหรือศาลชั้นอุทธรณ์และไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนี ยุ่งเหยิงกับ พยานหลักฐานหรือก่อเหตุอันตรายประการอื่นใด แม้ยังไม่มีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาหรือยังไม่ได้รับอนุญาต ให้อุทธรณ์หรือฎีกา ให้ศาลที่มีอํานาจนําวิธีการตามคําแนะนํานี้ไปใช้ประกอบการพิจารณาสั่งคําร้องขอ ปล่อยชั่วคราวด้วยเพื่อให้จําเลยมีโอกาสได้รับการปล่อยชั่วคราวมากขึ้นและสามารถดูแลความปลอดภัย ให้แก่สังคมได้ในขณะเดียวกัน

ข้อ 9 การประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ศาลกับผู้กํากับดูแล อาจดําเนินการโดยผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ใดก็ได้

ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องแต่งตั้งบุคคลซึ่งอยู่นอกเขตศาลเป็นผู้กํากับดูแล อาจขอให้ เจ้าหน้าที่ศาลที่บุคคลดังกล่าวมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตของศาลนั้นประสานงานให้ และเพื่อความรวดเร็ว การติดต่อระหว่างเจ้าหน้าที่ศาลด้วยกันจะดําเนินการโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

ข้อ 10 การจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายแก่ผู้กํากับดูแลให้ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วย มาตรการกํากับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล และเพื่อให้การดําเนินการเป็นไป ด้วยความเรียบร้อย ศาลอาจแจ้งให้ผู้กํากับดูแลทราบถึงสิทธิที่จะได้รับเงินดังกล่าวภายหลังจากปฏิบัติ หน้าที่เสร็จสิ้นแล้วก็ได้

ข้อ 11 ให้สํานักงานศาลยุติธรรมจัดทําคู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ผู้กํากับดูแล รวมทั้ง คู่มือในการปฏิบัติตนของผู้ถูกปล่อยชั่วคราวและสนับสนุนการดําเนินการของศาลต่าง ๆ ให้เป็นไป ตามคําแนะนํานี้

ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564
เมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกา

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ การใช้มาตรการกำกับดูแลในระหว่างปล่อยตัวชั่วคราว

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ การใช้มาตรการกำกับดูแลในระหว่างปล่อยตัวชั่วคราว

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ การใช้มาตรการกำกับดูแลในระหว่างปล่อยตัวชั่วคราว

logoline