svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

ผวจ.แม่ฮ่องสอนตรวจพื้นที่-ประสบอุทกภัยซ้ำซาก

10 มิถุนายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แม่ฮ่องสอน -ผู้ว่าฯแม่ฮ่องสอน ลงพื้นที่ ต.นาปู่ป้อม อ.ปางมะผ้า และ อ.ปาย ตรวจติดตามการเตรียมความพร้อมศูนย์บัญชาการเหตุการณ์วาตภัย อุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ระดับอำเภอ เพื่อเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในหน้าฝนนี้

วันที่ 10 มิถุนายน 2564 นายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8-9 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา ตนพร้อมด้วยนายชนก มากพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เดินทางตรวจติดตามการเตรียมความพร้อมศูนย์บัญชาการเหตุการณ์วาตภัย อุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ระดับอำเภอ ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลนาปู่ป้อม ต.นาปู่ป้อม อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน 



ผวจ.แม่ฮ่องสอนตรวจพื้นที่-ประสบอุทกภัยซ้ำซาก



โดยมีนายชัยพล โรจนวิสิฐ นายอำเภอปางมะผ้า ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ฯ นำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมประชุมเพื่อรับทราบปัญหาพื้นที่ประสบอุทกภัยซ้ำซากในเขต ต.นาปู่ป้อม อ.ปางมะผ้า จากการรายงานปัญหาน้ำล้นตลิ่ง ท่วมบ้านเรือนราษฎร ที่ทำกิน ในพื้นที่บ้านไม้ซางหนาม หมู่ที่ 7 จำนวน 9 จุด และบ้านโท้งสาแล จำนวน 12 จุด

ผวจ.แม่ฮ่องสอนตรวจพื้นที่-ประสบอุทกภัยซ้ำซาก

จากนั้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2564 ได้เดินทางตรวจติดตามการเตรียมความพร้อมศูนย์บัญชาการเหตุการณ์วาตภัย อุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก ละดินโคลนถล่ม ระดับอำเภอ ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลปาย อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน โดยมีนายอนุสรณ์ มณีเลิศ นายอำเภอปาย ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ฯ นำหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ปกครองอำเภอ ท้องถิ่นอำเภอ หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 36 แม่สะเรียง ร.7 พัน 5 อ.ปาย เกษตรและสหกรณ์จังหวัด อปท.ในพื้นที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนภาคประชาชน ร่วมประชุมคณะทำงานปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวาตภัย น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปี 2564 เพื่อรับทราบปัญหาพื้นที่ประสบอุทกภัยซ้ำซากในเขต อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน


ผวจ.แม่ฮ่องสอนตรวจพื้นที่-ประสบอุทกภัยซ้ำซาก




จากการรายงาน รูปแบบอุทกภัยที่เกิดใน อ.ปาย ได้แก่ น้ำท่วมหลากเอ่อล้นท่วมพื้นที่ริมน้ำ (ริมแม่น้ำปาย ) น้ำป่าเกิดในหลายพื้นที่โดยเฉพาะหมู่บ้านที่มีลำห้วย ลำน้ำ เช่น บ้านแพมบก บ้านแม่ฮี้ ดินโคลนถล่ม น้ำกัดเซาะตลิ่ง เกิดการเปลี่ยนทิศทางน้ำ โดยมีปัจจัยสำคัญต่อการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ คือ สภาพระดับความสูงชันของพื้นที่ การไหลของน้ำจากระดับความสูงระดับน้ำทะเล 1,900 ,1,500 , 500 เมตร เป็นต้น



ผวจ.แม่ฮ่องสอนตรวจพื้นที่-ประสบอุทกภัยซ้ำซาก




ผวจ.แม่ฮ่องสอนตรวจพื้นที่-ประสบอุทกภัยซ้ำซาก


การลงพื้นที่ตรวจติดตามการเตรียมความพร้อม ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์วาตภัย อุทกภัย น้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม ระดับอำเภอ แต่ละอำเภอของผู้ว่าราชการจังหวัด ฯ พร้อมคณะ ฯ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาวาตภัย อุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม รวมทั้งเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนผู้ประสบภัย และการบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย ทั่วถึง รวดเร็วและเป็นธรรม รวมทั้งเร่งรัดผู้รับผิดชอบต่างๆ ให้ปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิผล อย่างยั่งยืน

ผวจ.แม่ฮ่องสอนตรวจพื้นที่-ประสบอุทกภัยซ้ำซาก

logoline