svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ศบค.แถลงพบผู้มีอาการหนักใส่เครื่องช่วยหายใจ 394 ราย ล่าสุด! ตายรวมแล้ว 399 ราย

09 พฤษภาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศบค. เผยยอดผู้ติดเชื้อโควิดยังพุ่ง 2101 รายดับรวม 399 อาการหนักราย รายใส่เครื่องช่วยหายใจ 394 ราย พบคนลักลอบเข้าเมืองสะสม 15,378 คน บุคลากรการแพทย์ติดแล้วกว่า 500 คน พร้อมเผยสถานที่ตรวจคัดการเชิงรุก

วันนี้ (9พ.ค.) นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์ การแพร่ระบาดภายในประเทศประจำวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม 2564 ว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 99 ของโลก พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,101 ราย พบผู้ป่วยยืนยันสะสม 83,375 ราย รักษาหายกลับบ้านแล้ว 53,605 ราย หายเพิ่ม 2,179 ราย รักษาอยู่ 29,371ราย แบ่งเป็นรักษาในโรงพยาบาล 20,477 ราย และโรงพยาบาลสนาม 8,894ราย เป็นผู้ป่วยอาการหนัก 1,442 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 394 ราย เสียชีวิตใหม่ 17 ราย รวมเสียชีวิต 399 คน

โดยผู้เสียชีวิตแบ่งเป็นผู้ป่วยชาย 8 ราย และผู้ป่วยหญิง 9 ราย ค่ากลางอายุ 68 ปีระหว่างอายุ 34-99 ปี และเป็นต่างชาติ 1 ราย แบ่งเป็น กรุงเทพมหานคร 8 ราย, สมุทรปราการ 3 ราย, ปทุมธานี, สมุทรสาคร, สุราษฎร์ธานี, สงขลา, แพร่และชัยนาท จังหวัดละ 1 ราย ซึ่งมีบุคลากรทางการแพทย์เสียชีวิตด้วย คือ ทันตแพทย์

ซึ่งผู้ติดเชื้อรายใหม่แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ 2,086 ราย เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศเข้า State Quarantine 15 ราย เป็นการค้นหาเชิงรุก/โรงงาน 412 ราย และเข้าระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯ 1,674 ราย

ซึ่งมีการเดินทางมาจากต่างประเทศ 15 ราย โดยมีการลักลอบเข้ามาทางช่องทางธรรมชาติ 5 ราย แบ่งเป็นเมียนมาร์ 1 ราย, มาเลเซีย 2 ราย และกัมพูชา 2 ราย โดยมีบุคคลสัญชาติไทยอยู่ในกลุ่มดังกล่าวที่ลักลอบเข้ามา ซึ่งมีทั้งมีอาการและไม่มีอาการป่วย

ทั้งนี้ยอดการฉีดวัคซีนในประเทศไทยสะสมแบ่งเป็นฉีดวัคซีนเข็มแรก 1,273,666 ราย เพิ่มขึ้น 10,963 ราย และเข็มที่สองจำนวน 470,054 ราย เพิ่มขึ้น 2,261 ราย

นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวว่า สถานการณ์ผู้ป่วยโควิด-19 ละลอกใหม่เดือนเมษายน 2564 ในประเทศไทย ตามพื้นที่และปัจจัยเสี่ยงวันที่ 1 เมษายนถึง 9 พฤษภาคม ในกรุงเทพมหานคร พื้นที่สถานบันเทิง ร้านอาหาร ตัวเลขผู้ติดเชื้อกลายเป็น 0 แต่ในส่วนตลาด ชุมชน ขนส่ง วันนี้พบผู้ติดเชื้อรายวัน 31 มีการสัมผัสผู้ป่วยยืนยัน 193 ราย และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ 756 รายรวมทั้งสิ้นผู้ติดเชื้อรายวันในกรุงเทพฯ 980 ราย ทั้งนี้ในที่ประชุมอีโอ eoc ของกระทรวงสาธารณสุข คล้องกับที่ประชุมศปก.ศบค. ได้พูดถึงลักษณะของบุคลากรทางการแพทย์อาจเจ็บป่วยจากโรค โควิด-19 ซึ่งเราให้ความสำคัญเนื่องจากเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับโรคซึ่งลักษณะทางระบาดวิทยาของบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อ โควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนถึงวันที่ 7 พฤษภาคม มี 512 ราย อายุเฉลี่ย 33.37 ปี เป็นบุคลากรทางการแพทย์หญิงมากกว่าคือ 3.1 ต่อ ชาย 1 มีอาการ 181 มีอาการ 285 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อจะเป็นพยาบาล ผู้ช่วย 34% ซึ่งพบว่าลักษณะของหน่วยงานจะเป็นในโรงพยาบาลของภาครัฐ 65% รองลงมาคือโรงพยาบาลเอกชน 29% โดยพบใน 57 จังหวัด โดยกทม.สูงสุด 137 รายตรัง 47 ราย ชลบุรี 34 ราย นครปฐม 25 ราย และขอนแก่น 18 ราย ซึ่งพบว่า 512 ราย นี้ ปัจจัยเสี่ยง 202 ราย มาจากปัจจัยเสี่ยงในการสัมผัสผู้ป่วยยืนยันในขณะทำงาน และสัมผัสกับผู้ร่วมงานที่อยู่ในโรงพยาบาล 63 ราย นอกโรงพยาบาล 106 รายและ อยู่ระหว่างการสอบสวน 141 ราย

นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวว่า การลักลอบเข้ามาทางช่องทางธรรมชาติ พบว่าผู้เดินทางจากต่างประเทศรวม 15 รายโดย 5 รายเป็นคนสัญชาติไทย ที่ลักลอบเข้ามาทางช่องทางธรรมชาติได้แก่เมียนมา 1 ราย มาเลเซีย 2 รายกัมพูชา 2 ราย ซึ่งฝ่ายมั่นคงก็ได้ทำงานในด้านนี้ โดยจากข้อมูลรายวัน (9พ.ย.) พบว่าฝั่งประเทศลาวมีคนรักรอบเข้ามา 4 คน เมียนมา 15 คน กัมพูชา 4 คนและทางใต้ 1 คน นี้จากการสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ยอดรวมของการจับกุมคนที่เดินทางเข้าประเทศไทย 15,378 คน

นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า สำหรับจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศรายใหม่และสะสมวันที่ 1 มกราคม 2564 ถึง 9 พฤษภาคม 2564 5 อันดับแรก กรุงเทพมหานครรวม 19,009 ราย เชียงใหม่ 3857 ราย นนทบุรี 3470 ราย ชลบุรี 3296 ราย และสมุทรปราการ 3124 ราย ส่วนจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดประจำวันที่ 9 พฤษภาคม 10 อันดับแรกกรุงเทพมหานคร 980 ราย นนทบุรี 221 ราย สมุทรปราการ 108 ราย ชลบุรี 96 ราย สมุทรสาคร 95 ราย สุราษฎร์ธานี 50 ราย ระนอง 48 ราย จันทบุรี 38 ราย ปทุมธานี 31 ราย และประจวบคีรีขันธ์ 28 ราย พรุ่งนี้ในส่วนของกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลพบว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อที่มีอาการหนัก ปอดอักเสบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ทางกรุงเทพมหานคร รายงานการติดเชื้อ โควิด-19 ของวันที่ 8 พฤษภาคม คือป้อมปราบศัตรูพ่ายสาม 11 คลองเตย 19 ประทุม 1018 ดินแดง 14 ลาดพร้าว 12 ราชเทวี 11 ห้วยขวาง 11 จตุจักร 10 วัฒนา 10 และวังทองหลาง 9 ราย ในส่วนผลการคัดกรองเชิงรุกกรุงเทพประปริมณฑลสะสมตั้งแต่ 1 เมษายน จนถึงวันที่ 8 พฤษภาคม จำนวนตรวจรายวันของกรุงเทพมหานคร 6869 พบผู้ติดเชื้อ 241 ราย รอผล 7377 ตรวจสะสม 107,366 พบผู้ติดเชื้อแล้ว 2874

นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวถึง การฉีดวัคซีนโดยจำนวนผู้ฉีดวัคซีนเข็มที่หนึ่ง 10,963 รายจำนวนผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่สอง 2269 รายรวม 13,232 โดยส่วนจำนวนการได้รับวัคซีนสะสมตั้งแต่วันที่ 28ก.พ. -8 พ.ค. 1,743,720 โดส ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรทางการแพทย์

เมื่อถามว่าหากอยู่ในเขตกลุ่มเสี่ยงของพื้นที่กทม. มีมาตรการสุ่มตรวจผู้ติดเชื้ออย่างไรเพื่อให้คนที่อยู่ในพื้นที่มีความสบายใจมากขึ้น นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวว่าหากสงสัยว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือติดเชื้อขอให้หยุดอยู่ที่บ้านลดการเคลื่อนย้าย และใส่หน้ากากตลอดเวลา เช่น ชุมชนคลองเตย ความเสี่ยงสูงใน 39 ชุมชนตอนนี้มีการตรวจเชิงรุกต่อเนื่องกันทุกวันซึ่งประชาชนสามารถเข้ารับการบริการได้ รวมถึงพื้นที่อื่นๆ เขตดุสิตที่ชุมชนบ้านญวน สะพานขาว ตรวจเชิงรุกตั้งแต่วันนี้ถึง 11 พฤษภาคม ประตูน้ำเขตราชเทวี จะตรวจเชิงรุกวันที่ 11 พฤษภาคม แฟลตดินแดง ชุมชนย่านพระรามเก้า จะตรวจเชิงรุกวันที่ 10-11 พฤษภาคม เขตป้อมปราบ แถวตลาดโบ๊เบ๊ จะตรวจวันที่ 11 พฤษภาคม.

//

logoline