svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

เมื่อ "กฎหมู่" ปะทะ" กฎหมาย" อดข้าว-ปลุกม็อบกดดันศาล!

29 เมษายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เหตุการณ์ที่หน้าศาลอาญา รัชดาฯ วันนี้ (29 เม.ย.) คือการเผชิญหน้ากันระหว่าง "กฎหมู่" กับ "กฎหมาย" อย่างแท้จริง ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นคงต้องให้สังคมตัดสินว่าสุดท้ายเราจะเลือกฝั่งไหน

ประเด็นที่สามารถตั้งข้อสังเกตได้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คือ
1. การได้รับประกันตัว หรือปล่อยชั่วคราว สามารถทำได้ เหมือนกับที่ผู้ต้องหาและจำเลยหลายคนในคดีนี้ได้ประกัน เช่น หมอลำแบงค์, ไผ่ ดาวดิน, สมยศ พฤกษาเกษมสุข ซึ่งบางคนก็ไปร่วมชุมนุมอยู่ด้วย ม็อบและคุณแม่ของเพนกวินควรจะถามคนเหล่านั้นว่าทำอย่างไรถึงได้ประกัน แล้วก็ให้เพนกวินทำแบบเดียวกัน
2. การตั้งเงื่อนไขของศาล อยู่ภายใต้กฎหมาย ทั้งรัฐธรรมนูญ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 การตั้งเงื่อนไขไม่ให้กระทำซ้ำในสิ่งที่ถูกกล่าวหาอยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้กระทบกับกระบวนการสอบสวนในข้อกล่าวหาที่เป็นคดีอยู่แล้ว ซึ่งแต่ละคนก็มีกันหลายคดี ถ้ายิ่งไปกระทำซ้ำ คดีก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นไม่สิ้นสุด
3. การตั้งเงื่อนไขของศาล ไม่ใช่การพิพากษาล่วงหน้า และผู้ต้องหาหรือจำเลยสามารถยื่นประกันเพื่อออกไปต่อสู้คดีได้ โดยไม่ไปกระทำพฤติกรรมนั้นเพิ่มอีก เพื่อพิสูจน์ก่อนว่าสิ่งที่ได้กระทำและถูกกล่าวหานั้นเป็นความผิดจริงหรือไม่
4. การอดอาหารเพื่อเรียกร้องให้ได้ประกันตัว ศาลไม่สามารถให้ประกันได้ เพราะไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขของกฎหมาย (หากศาลให้ประกันด้วยเหตุผลนี้ ก็จะถูกดำเนินคดีเสียเอง) และหากศาลยอมให้ประกันด้วยเหตุผลนี้ ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอื่นๆ ทั่วประเทศอีกราวๆ 6 หมื่นคน พากันอดอาหารบ้าง ศาลและกระบวนการยุติธรรมจะทำอย่างไร
5. การอดอาหารเพื่อเรียกร้องให้ได้ประกันตัว เป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำกับผู้ต้องหาหรือจำเลยคนอื่น ในคดีอื่นๆ หรือไม่ ทั้งๆ ที่เพนกวินและม็อบสามนิ้ว เรียกร้องความเท่าเทียม แต่กลับพยายามสร้างเงื่อนไขเพื่อไม่ให้ใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม
6. การนำม็อบไปประท้วงศาล อ่านชื่อผู้พิพากษากลางม็อบ เป็นการละเมิดอำนาจศาล ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้พิพากษาหรือไม่ และเป็นการใช้ "กฎหมู่" อยู่เหนือ "กฎหมาย" หรือไม่
7. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่แกนนำม็อบถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด ยังมีสภาพบังคับใช้อยู่ การจะให้ยกเว้น ไม่ดำเนินคดี ย่อมทำไม่ได้ การแก้ไขกฎหมายนี้เป็นอำนาจของสภา ไม่ใช่ปลุกม็อบกดดันศาล

เมื่อ "กฎหมู่" ปะทะ" กฎหมาย" อดข้าว-ปลุกม็อบกดดันศาล!

เมื่อ "กฎหมู่" ปะทะ" กฎหมาย" อดข้าว-ปลุกม็อบกดดันศาล!





       สำหรับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 บัญญัติว่า การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว จะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี
(2) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน
(3) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น
(4) ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ
(5) การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล
คำสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราวต้องแสดงเหตุผล และต้องแจ้งเหตุดังกล่าวให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยและผู้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว

เมื่อ "กฎหมู่" ปะทะ" กฎหมาย" อดข้าว-ปลุกม็อบกดดันศาล!


สำหรับเงื่อนไขที่ศาลตั้ง ไม่ให้ไปกระทำซ้ำในพฤติกรรมที่ถูกกล่าวหา หรือที่เป็นคดีกันอยู่ เป็นเหตุผลตามกฎหมายใน (2), (3) และ (5) ศาลจึงไม่อนุญาตให้ประกันตัว ที่สำคัญหากให้ประกัน แล้วผู้ต้องหาหรือจำเลยไปกระทำซ้ำ ย่อมเป็นการเพิ่มกระทงความผิด หากสุดท้ายศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิด ก็จะต้องรับโทษสูง (บวกโทษตามกระทงความผิด) ทำให้มีโอกาสที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนีในชั้นศาลสูง ซึ่งก็เข้าเหตุไม่ให้ประกันตัวตาม (1) ด้วย

เมื่อ "กฎหมู่" ปะทะ" กฎหมาย" อดข้าว-ปลุกม็อบกดดันศาล!


เมื่อ "กฎหมู่" ปะทะ" กฎหมาย" อดข้าว-ปลุกม็อบกดดันศาล!

logoline