svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

'อริย์ธัช' ติง ศบค.ช้า ทำงานตามวันหยุดส่งผลต่อการควบคุมโควิด

16 เมษายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"อริย์ธัช ชาติอาริยะพงศ์" ออกโรงหวด ศบค.แซ่บ ประเด็นแนวทางมาตรการ รับมือการระบาดของโควิด-19 ว่าทำงานล่าช้า เพราะทำงานไปตามวันหยุดราชการ เทียบเชื้อโรคทำงานไม่มีวันหยุดและคงนำหน้าเราไปก่อน ชี้หากมีการประชุมก่อนหน้านี้ อาจจะมีมาตรการช่วยลดจำนวนการเคลื่อนที่ของประชาชน

"อริย์ธัช ชาติอาริยะพงศ์" กล่าวว่า ในที่สุดวันหยุดยาวช่วงเทศกาลสงกรานต์ก็หมดลง เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขที่ทำให้หลายคนได้ใช้เวลาอยู่กับที่บ้านมากขึ้น แต่สิ่งที่น่ากังวลสำหรับการระบาดของโควิด 19 ก็คือหลังจากนี้ เพราะเป็นที่น่าสังเกตว่าขณะที่สถานการณ์ส่อเค้ารุนแรงขึ้นเรื่อยๆกลับไม่มีการประชุมเพื่อตัดสินใจทางนโยบายหรือมีมาตรการใดที่ชัดเจนออกมา มีเพียงการดำเนินการไปตามปกติของภาคสาธารณสุขเท่านั้น เช่น เรื่องการจัดหาเตียงสนามหรือระบบส่งต่อผู้ป่วย

"มีสถานการณ์ตึงเครียดภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อคุมโรคและมีหน่วยงานบูรณาการเฉพาะอย่าง ศบค.ที่ต้องเตรียมความพร้อมมากมาย แต่ดูเหมือนว่าจะทำงานไปตามวันหยุดราชการ แม้บอกว่าจะมีการประชุมด่วนในวันที่ 16 เม.ย. แต่นั่นก็คือวันแรกของการเปิดทำการของราชการ ซึ่งกว่าจะรู้แนวทางมาตรการที่ตรงกันชัดเจนก็คือ 16.00 น.ไปแล้วถือว่าล่าช้าสำหรับสถานการณ์ไปพอสมควรเพราะเชื้อโรคทำงานไม่มีวันหยุดและคงนำหน้าเราไปก่อน สิ่งที่น่ากังวลของโควิดก็คือเชื้อที่ติดไปพร้อมกับการเคลื่อนย้ายของประชากรไปสถานที่ต่างๆ จนทำให้เกิดการระบาด ซึ่งจะเห็นผลชัดขึ้นหลังจากนี้ เนื่องจากมีการเดินทางมากในช่วงสงกรานต์และต้องยอมรับว่าในหลายพื้นที่ยังมีการจัดกิจกรรมรวมกลุ่มกันอยู่จึงเป็นไปได้ที่จะมีทั้งการรับเชื้อ แพร่เชื้อ และพร้อมที่จะกระจายเชื้อ หาก ศบค. มีการประชุมก่อนหน้านี้ อาจจะมีมาตรการเวิร์คฟอร์มโฮมที่ชัดเจนออกมา อย่างน้อยที่สุดก็คือในส่วนของราชการเอง ก็จะช่วยให้เกิดความนิ่งในการเคลื่อนที่ ไม่ต้องนำเชื้อกลับมากระจายระหว่างการเดินทางหรือกลับมารับความเสี่ยงที่มากขึ้นโดยเฉพาะในกรุงเทพซึ่งต้องยอมรับเป็นพื้นที่สีแดงไปแล้ว "

'อริย์ธัช' ติง ศบค.ช้า ทำงานตามวันหยุดส่งผลต่อการควบคุมโควิด

นายอริย์ธัช กล่าวต่อไปว่า รัฐบาลและ ศบค.ไม่ควรปล่อยให้เกิดการเคลื่อนย้ายประชากรคราวละมากๆบ่อยครั้ง การควบคุมการไปอาจทำไม่ได้แต่อย่างน้อยก็จำกัดการกลับได้ในสถานการณ์แบบนี้ ควรควบคุมในส่วนที่เลี่ยงได้ การกลับกรุงเทพฯหลังสงกรานต์เป็นสถานการณ์ที่น่ากังวลเพราะลำพังช่วงที่กรุงเทพมีคนน้อย สถานการณ์ก็เริ่มวิกฤต แม้จะมีการเตรียมโรงพยาบาลสนามไว้รองรับก็อาจไม่เพียงพอหากควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ สำหรับทางออก ส่วนตัวขอเสนอให้ดึงภาคเอกชนมาช่วย เช่น การใช้ฮอลของศูนย์แสดงสินค้าหรือศูนย์ประชุมขนาดใหญ่ต่างๆมาเป็นพื้นที่เพิ่มเติมสำหรับโรงพยาบาลสนาม เพราะมีความกว้างขวางโอ่โถงและมีความพร้อมด้านสาธารณูปโภคในการรองรับคนจำนวนมากอยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้มีความรู้สึกกล้ามารับการตรวจหาเชื้อมากขึ้น เพราะต้องยอมรับว่าเวลานี้หลายคนกังวลมากหากต้องอยู่โรงพยาบาลสนามเนื่องจากได้เห็นภาพของความแออัดที่เกิดขึ่น หากทำให้เกิดความสบายใจก็จะลดความกังวลตรงนี้ได้ 

นอกจากนี้ ภาครัฐต้องเปลี่ยนท่าทีการสื่อสารเพื่อเตรียมความพร้อในกรณีที่ต้องให้กักตัวเองที่บ้าน คอนโด หรือหอพัก ไม่ควรทำให้รู้สึกว่าการติดเชื้อเป็นสิ่งที่น่ากลัวหรือน่ารังเกียจ แต่ต้องช่วยเหลือสนับสนุนเช่น ระบบการส่งยาและอาหาร เป็นต้น เพื่อทำให้เขาสามารถกักตัวได้จริงๆโดยไม่ต้องออกจากที่พัก 14 วัน ซึ่งที่ผ่านมารัฐเองเป็นผู้ที่สื่อสารด้วยการขู่ให้กลัวเป็นทิศทางหลัก ตรงนี้จึงถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนเป็นการสร้างความเข้าใจ

'อริย์ธัช' ติง ศบค.ช้า ทำงานตามวันหยุดส่งผลต่อการควบคุมโควิด

สำหรับในต่างจังหวัดสงกรานต์ที่ผ่านมาการควบคุมกำกับการกิจกรรมรวมหมู่ไม่ได้เป็นไปอย่างเข้มงวดเช่นมีฉลองงานอุปสมบทหมู่มีลิเกมีกิจกรรมงานวัดต่างๆมีแอบฉลองตามบ้านมีความปะปนทั้งคนที่มาจากกรุงเทพหรือพื้นที่เสี่ยงและคนในพื้นที่ดังนั้นจึงต้องเตรียมความพร้อมในการพบผู้ติดเชื้อมากขึ้นในต่างจังหวัดด้วยจึงอาจต้องเตรียมทั้งพื้นที่กักตัวและตรวจเช็คอุปกรณ์ทางการแพทย์สำรองในกรณีที่มีผู้ป่วยหนักมากขึ้นพร้อมๆกันจังหวัดไหนที่มีความเหลื่อมล้ำทางสาธารณสุขสูงสูงก็ควรรีบจัดหาลงไปให้
logoline