svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"ทนายบิลลี่" ส.ส.ก้าวไกล อัดผู้สถาปนา รธน.60 คือ คสช.แต่ใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือในการลงประชามติ

17 มีนาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ทนายบิลลี่" ส.ส.ก้าวไกล อัดผู้สถาปนา รธน.60 คือ คสช.แต่ใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือในการลงประชามติ พร้อมจี้รัฐสภาทำตามอำนาจโหวตวานะ3 .

นายจิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล อภิปรายแสดงความเห็นกรณีที่ว่ารัฐสภาจะสามารถลงมติวาระ3 ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมได้หรือไม่ ว่า ขอย้ำเตือนกับสมาชิกรัฐสภาและประชาชนว่าการที่กว่าจะก้าวมาถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันนี้ได้นั้นมีการใช้เวลามาจำนวนมากกว่า 6 เดือน และยังไม่ทราบว่าจะต้องใช้เวลาอีกเท่าไหร่ถึงจะแล้วเสร็จตามกระบวนการ เพื่อตอบคำถามของประชาชนว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่เป็นของประชาชนนั้นเป็นอย่างไร และจะได้รัฐธรรมนูญนั้นหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่เหมือนจะง่ายแต่ยาก แม้กระทั่งว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้นเป็นนโยบายที่บรรจุไว้ของรัฐบาล รวมถึงมีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติม แล้วก็ใช้ร่างของรัฐบาลในการประกอบการพิจารณา พวกเราก็ยอม และไม่เอาร่างของฝ่ายค้าน

"ทนายบิลลี่" ส.ส.ก้าวไกล อัดผู้สถาปนา รธน.60 คือ คสช.แต่ใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือในการลงประชามติ


"ดังนั้นรอยต่อที่กว่าจะมาถึงวันนี้มีขวากหนามมากมาย ถ้าจะถามว่าวันนี้ทำไมรัฐธรรมนูญจึงต้องแก้ไข ที่มา เนื้อหา กระบวนการไม่ชอบธรรม อำนาจสถาปนาต้องไปสอบถามประชาชนก่อนว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2560 หรือไม่ ซึ่งความจริงเขียนไม่ครบ อำนาจในการสถาปนารัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ได้เกิดจากประชาชนอย่างเดียว แต่เกิดจากรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี2557 หัวหน้า คสช.คณะรัฐประหาร นี่แหละอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ2560 แล้วมาใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือในการลงประชามติ เราจึงเห็นภาพว่ามีการจับประชาชนมากมาย" นายจิรวัฒน์ กล่าว
นายจิรวัฒน์ กล่าวยืนยันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นประชาชนต้องได้ประโยชน์ ไม่เช่นนั้นจะแก้ไขทำไม เพราะเมื่อใครจะมาเป็นรัฐบาล ต้องมาดูรัฐธรรมนูญ พรรคการเมืองที่ได้คะแนนอันดับ1 อย่างพรรคเพื่อไทยควรได้เป็นรัฐบาล แต่กลับได้พรรคพลังประชารัฐมาเป็นรัฐบาล นี่แหละที่เป็นความผิดปกติของรัฐธรรมนูญ 2560 รวมถึงองค์กรวุฒิสภา ที่สามารถกำหนดรัฐบาลได้ แล้วก็ยังมาคุมงบประมาณ คุมกฎหมาย คุมยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

"ทนายบิลลี่" ส.ส.ก้าวไกล อัดผู้สถาปนา รธน.60 คือ คสช.แต่ใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือในการลงประชามติ


อย่างไรก็ตาม นายจิรวัฒน์ ยืนยันว่าเมื่อพิจารณาตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภา และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็สามารถทำได้ ซึ่งในอดีตก็เคยเกิดขึ้น ดังนั้นเราต้องก้าวไปจากความขัดแย้งของการเรียกร้องเรื่องรัฐธรรมนูญ จะได้นำไปสู่มิติใหม่ ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องนโยบาย โดยที่ไม่ต้องมีเรื่องการเมืองมาทำให้กังวลใจ ดังนั้นรัฐสภาจึงต้องยืนยันอำนาจของรัฐสภาและคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ แล้วดำเนินการโหวตวาระ3 แต่หากจะนำไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความอีกครั้ง ตนก็เกรงว่าศาลอาจจะวินิจฉัยกำกวมไม่ต่างจากเดิม ก็จะยิ่งทำให้เสียเวลา

logoline