svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"จตุพร" ประกาศตัดสัมพันธ์ "อารี ไกรนรา" รับไม่ได้โหวตสวนมติฝ่ายค้าน

23 กุมภาพันธ์ 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"จตุพร พรหมพันธ์" ประธานนปช.ผิดหวัง ส.ส.นักเลือกตั้งจ้องขายตัว โดยไม่สำนึกบุญคุณประชาชน ประกาศขอตัดขาดแยกทางเดินกับ "อารีย์ ไกรนรา" หลังโหวตสวนมติของฝ่ายค้าน

นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เฟชบุ๊คไลฟ์ peace talk หัวข้อ "งูเห่ากลบหมด" โดยระบุว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมถึงเรื่องราวต่างๆของบ้านเมือง และสถานการณ์ covid-19 จนถึงปัญหาความยากจนต่างๆ เหล่านี้ถูกกลบด้วยประเด็นการเมือง ว่าด้วยเรื่องงูเห่าทั้งซีกรัฐบาลและฝ่ายค้าน พร้อมทั้งปัญหางูเห่ายังเลื้อยไปกลบเนื้อหาการอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่สังคมไทยกลับไปสนใจเรื่องงูเห่าเป็นหลัก

ในเหตุการณ์พฤษภาคม 2535  เป็นผลพวงของการรัฐประหารในวันนี้เมื่อ 30 ปีที่แล้ว สังคมพูดกันคือการปฏิรูปการเมือง ซึ่งเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญปี 2540 เพราะประชาชนรู้สึกวิกฤตศรัทธาต่อนักการเมือง โดยเฉพาะนักการเมืองประเภทขายตัว ทรยศต่ออุดมการณ์นั้นมีเกลื่อนและเป็นสาเหตุของการถูกล้มกระดาน และพวกเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่นแทบทั้งหมด จึงเป็นชนวนเปิดประตูให้กับการรัฐประหารทุกครั้งที่ผ่านมา

การรณรงค์ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี 2534 มาตรา 211 เป็นที่มาของรัฐธรรมนูญปี 2540 ก็มีการชูธงประเด็นเรื่องการปฏิรูปการเมืองเป็นปัญหาหลัก ซึ่งหมายถึงการเมืองโดยนักการเมืองที่มีเส้นแบ่งบางๆกับคำว่านักเลือกตั้ง ที่สะท้อนถึงการไม่รับผิดชอบต่อประชาชน แบบประเภทซื้อมาขายไป เวลาเข้าสู่อำนาจพูดอย่าง เมื่อมีอำนาจก็ทำอย่าง ก่อนเป็น ส.ส.ก็เป็นคนหนึ่ง เสมือนเป็นคนดีกันทั้งนั้น แต่เมื่อเป็นเสร็จก็ชั่วอย่างถึงที่สุด

ดังนั้น การปฏิรูปการเมืองปี 2540 ก็เป็นปัญหาหลัก และวันนี้ที่มีการพูดเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2560 ซึ่งก็ยังไม่แน่ว่าสุดท้ายแล้วจะเกิด ส.ส.ร.ได้หรือไม่ โดยส่วนตัวมองว่า เรื่องใหญ่ที่สุดคือเรื่องนักการเมือง ซึ่งเป็นปัญหาเดิม ที่ไม่รู้สำนึกบุญคุณของประชาชน

ดังนั้น สังคมไทยภายหลังการอภิปรายฯ แต่ละฝ่ายก็มีการพูดกันถึงเรื่อง ส.ส.ในพรรคโหวตส่วนมติพรรค โดยเฉพาะพรรคที่ตนไปเป็นผู้ช่วยหาเสียงให้ (เพื่อชาติ) และปฎิเสธไม่ได้กับคนที่ใกล้ชิด อย่าง "นายอารี ไกรนรา" ส.ส.พรรคเพื่อชาติ ก็เลือกวิถีทางของตัวเองและถือเป็นการแยกทางกันทางการเมืองอย่างเป็นทางการ

logoline