svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น คือ อะไร ?

24 กุมภาพันธ์ 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเรียกว่า CBR (Community-Based Research) เป็นงานวิจัยประเภทหนึ่งที่ดำเนินการเพื่อคนในชุมชนโดยคนในชุมชน และเป็นของคนในชุมชนเอง อธิบายง่าย ๆ คือเป็นงานวิจัยที่สร้างชาวบ้านให้ลุกขึ้นมาเป็นนักวิจัยด้วยตัวเอง

#งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า CBR (Community-Based Research) เป็นงานวิจัยประเภทหนึ่งที่ดำเนินการ#เพื่อคนในชุมชน #โดยคนในชุมชน #และเป็นของคนในชุมชนเอง อธิบายง่าย ๆ คือเป็นงานวิจัยที่สร้างชาวบ้านให้ลุกขึ้นมาเป็นนักวิจัยด้วยตัวเองมาบอกปัญหาของตัวเอง ค้นหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล จนนำไปสู่การจัดการปัญหาของตัวเองได้โดยมีภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ทำหน้าที่หนุนเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อจัดการปัญหานั้น ซึ่งงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น(CBR) #จะให้ความสำคัญกับแนวคิดการมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ โดยที่ทุกขั้นตอน หรือกิจกรรมในการดำเนินงานจะเน้นไปที่การสร้างการมีส่วนร่วมและความรู้สึกเป็นเจ้าของปัญหาของคนในชุมชนไม่ใช่เพียงรอคอยการช่วยเหลือหรือสนับสนุนจากกลุ่มคนภายนอกเท่านั้น แต่คนในชุมชนต้องแก้ปัญหาของชุมชนด้วยคนในชุมชนเอง#โดยจะมีพี่เลี้ยงหรือโค้ช คอยช่วยในการติดตั้งความรู้ใหม่เสริมความรู้เดิมที่มีในท้องถิ่น พัฒนาศักยภาพคนในชุมชนให้เกิดความเชื่อมั่น เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของตัวเองควบคู่ไปกับการมุ่งเน้นผลลัพธ์รูปธรรมการเปลี่ยนแปลง ที่ต้องนำไปสู่การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในชุมชนเพราหัวใจสำคัญ คือ คนในชุมชนต้องได้ประโยชน์สูงสุดจากการดำเนินงาน



 

งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น คือ อะไร ?

สรุปคืองานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (CBR) เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ใหม่ผ่านกระบวนการปฏิบัติร่วมกันของชุมชนท้องถิ่น ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือการพัฒนาเป็นงานของคนท้องถิ่นเพื่อคนท้องถิ่น เน้นการมาร่วมทำวิจัยของชาวบ้านเจ้าของปัญหาเป็นผู้ปฏิบัติการลงมือทำวิจัยเองเพื่อแก้ไขปัญหา ตั้งแต่การหาประเด็นปัญหาในชุมชนเป็นโจทย์ที่ต้องหาคำตอบและทางออกโดยคนในชุมชนเองภายใต้การเข้ามาร่วมทำงานเป็นทีมในพื้นที่ โดยมีพี่เลี้ยงหรือนักวิชาการนักพัฒนา ที่อาจเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือ NGOs ที่ทำงานในพื้นที่ร่วมกับชาวบ้านเพื่อรวบรวมข้อมูลวางแผน วิเคราะห์และทดลองปฏิบัติ เพื่อนำไปปรับแก้ปัญหาหรือพัฒนาศักยภาพคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนท้องถิ่น

งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น คือ อะไร ?

ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ใหม่ในการเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระบรมราโชวาทระยะ 20 ปี(พ.ศ.2560 25479) โดยกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานไว้ 4 ด้าน คือด้านการพัฒนาท้องถิ่น ด้านการผลิตและพัฒนาครู ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษาและด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการและเชื่อมโยงแนวคิดงานพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม(Engagement University) มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อท้องถิ่นสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้นวัตกรรม สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาและยกระดับและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือตามบริบทของพื้นที่โดยใช้หลักการบริหารจัดการแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาพื้นที่ด้วยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรภาคีสู่เป้าหมายวิสัยทัศน์ร่วมพัฒนาทั้งระดับตำบลกลุ่มตำบล จังหวัด โดยการบูรณาการพันธกิจทั้งการวิจัย สอน บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับสถานการณ์จริงในชุมชนมีความร่วมมือตั้งแต่ต้นทางระหว่างทาง และปลายทางร่วมมือกันกับเครือข่ายเป็นกลไกการทำงานเพื่อเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงภาคประชาชนกับมหาวิทยาลัยและภาคีให้เกิดรูปธรรมผลงานพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคมตามหลักการพื้นฐาน4 ประการ คือ

1) ร่วมคิดร่วมทำแบบหุ้นส่วน (Partnership)

2) เกิดประโยชน์ร่วมกันแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (Mutual benefits)

3) มีการใช้ความรู้และเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน (scholarship)

4) เกิดผลกระทบที่ประเมินได้ (Social impact)

โดยแนวทางการทำงานจะ #นำไปสู่เป้าหมายการเป็นอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่จะปฏิบัติภารกิจเพื่อท้องถิ่นทั้งการพัฒนา เสริมองค์ความรู้ติดตั้งวิธีคิดและกระบวนการ ตลอดจนแก้ปัญหาของท้องถิ่นให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน

 

#มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

#วิศวกรสังคมมรร#สร้างงาน #สร้างอาชีพ #สร้างรายได้ #สร้างสังคม

#ราชภัฏราชนครินทร์

#ฉะเชิงเทรา

งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น คือ อะไร ?


logoline