svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

255 คณาจารย์แถลงขอศาลทบทวนปล่อยตัวแก๊งราษฎร 4 ราย

15 กุมภาพันธ์ 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แถลงการณ์คณาจารย์ 255 รายชื่อ 31 สถาบัน วิงวอนให้ศาลทบทวนคืนสิทธิในการได้รับการประกันตัวระหว่างถูกดำเนินคดีแก่ผู้ถูกสั่งฟ้องจากการชุมนุมของกลุ่มราษฎรจำนวน 4 ราย


สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ศาลอาญามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวแกนนำของการชุมนุมวันที่ 19-20 กันยายน 2563 รวม 4 คน ได้แก่ นายอานนท์ นำภา, นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ (เพนกวิน), นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข, และนายปฏิวัฒน์ สาหร่ายแย้ม (หมอลำแบงค์) โดยให้เหตุผลว่า "หากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยอาจไปก่อเหตุลักษณะเดียวกันกับความผิดที่ถูกกล่าวหาอีก"


คณาจารย์ผู้มีรายชื่แนบท้ายจำนวน 255 รายชื่ 31 สถาบัน ขอให้ศาลได้พึงพิจารณาทบทวนคำสั่งไม่ให้ประกันตัว ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1.ขอให้ศาลพึงยึดหลัก "การสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ถูกกล่าวหานั้นเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด" (the principle of presumption of innocence) อันเป็น หลักการทางกฎหมายพื้นฐานที่สำคัญในการดำเนินคดี อีกทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ก็ยังบัญญัติไว้ในมาตร 29 วรรค 2 ว่า "ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้"

นอกจากนี้ คำสั่งไม่ให้ประกันตัวที่วางอยู่บนการวินิจฉัยว่าจำเลยอาจไปก่อเหตุลักษณะเดียวกันกับที่ถูกกล่าวหาจึงเป็นสมือนการตัดสินล่วงหน้าว่าการกระทำของผู้ถูกสั่งฟ้องเป็นการกระทำผิด ทั้งๆ ที่กระบวนการไต่สวนยังไม่ได้เริ่มต้นและยังไม่มีคำพิพากษา เป็นการขัดกับหลักการและบทบัญญัติในรัฐธรมนูญข้างต้น (รายละเอียดในประเด็นนี้ ปรากฏอยู่ในแถลงการณ์ของคณาจารย์สาขานิติศาสตร์ และนักกฎหมายลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564)

2. การไม่ให้ประกันตัวในระหว่างถูกดำเนิดดี หากภายหลังศาลมีคำพิพากษาว่าผู้ถูกสั่งฟ้องไม่ได้ กระทำความผิด สิทธิและเสรีภาพที่ถูกพรากไปจกการถูกจองจำระหว่างดำเนินคดีก็ไม่อาจเรียก คืนกลับมาได้ โดยเฉพาะนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ ซึ่งเป็นนักศึกษาอยู่ การถูกจองจำจึงหมายถึงศาลได้ลิดรอนสิทธิในการศึกษาของนายพริษฐ์ไปด้วย

3. การฟ้องร้องดำเนินคดีที่เกิดขึ้นจำนวนมากต่อผู้ชุมนุมทางการเมืองในขณะนี้ รวมถึงที่มีนัด
หมายสั่งฟ้องอีก 24 คนในวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์นี้
มีรัฐบาลเป็นคู่ขัดแยังโดยตรง จึงเป็นธรรมดาที่เจ้าหน้าที่รัฐจะใช้มาตรการทางกฎหมายในการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมอย่างเกินกว่าเหตุ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่สถาบันตุลาการ จักต้องรักษาความเป็นอิสระและสมดุลของการปกป้องหลักสิทธิเสรีภาพของประชาขนตามที่รัฐธรมนูญรับรองไว้ เพื่อเป็นที่พึ่งของประชาชน

4. การให้ประกันตัวผู้ชุนุมในคดีทางการเมืองอย่างที่ผ่านมา ช่วยประคับประคองไม่ให้ความขัดแย้งลุกลามบานปลายได้ค่อนข้างดี ตรงกันข้าม การไม่ให้ประกันตัว มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง
ที่ขยายตัวรุนแรงยิ่งขึ้น

พวกเราที่ลงชื่อแนบท้ายนี้จึงขอรียกร้องให้สถาบันตุลาการพึงทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เพื่อรักษาเกียรติยศของตนและศรัทธาของประชาชนด้วยความเคารพต่อสิทธิเสภาพและความเสมอภาคของประชาชน



สำหรับรายชื่อคณาจารย์ ประกอบด้วย

1. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการ
3.ธงชัย  วินิจจะกูล University of Wisconsin-Madison
4. ชยันต์ วรรธนะภูติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. อานันท์ กาญจนพันธุ์ ภาควิชสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
7. ไชยันต์ รัชชกูล นักวิชาการไม่อิสระ
8. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการอิสระ
9. เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10. ยศ สันตสมบัติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
11. พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
12. ชัยสิริ สมุทรวณิช นักวิชาการอิสระ
13. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซียงใหม่
ฯลฯ

logoline