svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ปฏิวัติ"ซูจี"เหตุกองทัพเมียนมาหวั่นสูญอำนาจปกครอง

02 กุมภาพันธ์ 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"นักวิชาการ" วิเคราะห์รัฐประหารเมียนมา เหตุกองทัพหวั่นเสียอำนาจปกครอง เกรง "ซูจี" อ่อนข้อให้กลุ่มชาติพันธุ์ ทำประเทศแบ่งแยก ยันแถลงการณ์ปลุกปชช.ต่อกรปฏิวัติของปลม

2 กุมภาพันธ์ 2564 ผศ.ดร.ลลิตา หาญวงษ์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิเคราะห์ถึงสถานการณ์ยึดอำนาจเมียนมา กับ "เนชั่นทีวี" ว่า เหตุผลจากกองทัพเมียนมา เนื่องจากการเลือกตั้งไม่เป็นธรรม และ ยูเอสดีพี ได้เสียงน้อยลงในสภาฯ ซึ่งก่อนหน้านี้ทั้ง เอ็นแอลดี และยูเอสดีพี สู้กันได้ เสียงห่างกันไม่มาก แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ นางอองซาน ซูจี ได้เสียงไปถล่มทลาย

ทั้งนี้ ทำให้ไปกระตุ้นความหวาดระแรงของกองทัพเมียนมา เนื่องจากมีสิทธิในอนาคตนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จนรัฐบาลพลเรือนมีอำนาจเหนือกองทัพ ซึ่งเมียนมาตลอด 10 ปี ขัดแย้งชาติพันธุ์ และมีการแสดงตัวใหม่ๆ และกองทัพเมียนมาต้องสู้รบกับกะเหรี่ยง แม้เคยลงนามยุติปัญหา แต่ปัจจุบันยังมีอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องของความมั่นคง

ขณะเดียวกัน กองทัพเมียนมายึดหลักอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะเวลาปฏิวัติทุกครั้ง กองทัพอ้างความเป็นปึกแผ่น โดยสโลแกนสหภาพพม่า ระบุไม่สามารถแบ่งแยกได้ ให้เป็น รัฐ แคว้น แต่เอ็นแอลดี เจรจาสันติภาพ ทำให้กองทัพเมียนมา มองนางอองซาน อะลุ่มอะล่วยมากเกินไป เพราะเกรงว่าจะไปตั้งรัฐ

อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญเมียนมา 2008 ถูกร่างโดยกองทัพเมียนมา ดังนั้น ไม่มีเหตุผลฉีก กว่าจะได้ทำประชามติ หลังเกิดพายุนากีส แต่ท้ายสุดก็ได้มา และหากมีรัฐธรรมนูญใหม่ ทหารร่างตามเดิม ก็ไม่ได้หมายความว่า ประชามติจะง่ายขนาดนั้น เพราะโซเชียลในเมียนมา เติบโตตั้งแต่ปี 2008 จึงไม่ง่ายที่จะผ่านเหมือนปี 2008

ปฏิวัติ"ซูจี"เหตุกองทัพเมียนมาหวั่นสูญอำนาจปกครอง

ผศ.ดร.ลลิตา อธิบายต่อว่า บทหนึ่งของรัฐธรรมนูญเมียนมา ระบุว่า ยึดอำนาจได้ หากทำให้เชื่อว่าเกิดสถานการณ์แตกแยก แต่เรื่องโกงเลือกตั้ง กองทัพใช้มาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เนื่องจาก กกต. ถูกตั้ง โดยเอ็นแอลดี ซึ่งการรัฐประหารไม่ได้ทำชั่วข้ามคืน วางแผนตั้งแต่ต้น อนุญาตให้ นางอองซาน เข้ามา หากไม่เป็นตามแผน ก็รัฐประหารได้ทุกเมื่อ

อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ถือว่าหักดาบเซียนนักวิเคราะห์ ว่าทำไม่ต้องปฏิวัติ หลัง โจ ไบเดน เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ รวมถึง เอ็นแอลดี ได้ยกเลิกเมกะโปรเจคทวาย ซึ่งทหารเป็นผู้ริเริ่ม โดยร่วมทุนกับฝั่งไทย รวมถึง เอ็นแอลดี พยายามแก้รัฐธรรมนูญหลายครั้ง และถูกตอบโต้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น มือกฎหมาย นางอองซาน ซึ่งเป็นชาวมุสลิม ถูกสังหาร จนปัจจุบันยังไม่สามารถจับตัวได้

ผศ.ดร.ลลิตา ย้ำว่า หากเปิดประชุมสภาฯ วานนี้ได้ ก็จะพิจารณาโกงเลือกตั้ง แต่หน่วยงานนานาชาติที่จับตามองที่ผ่านมา ไม่มีปัญหาพิเศษ แต่บทบาท กกต. ไปเตะสกัดพรรคเล็ก พรรคน้อย เนื่องจาก เอ็นแอลดี ไม่อยากให้พรรคเล็ก หนุ่มสาว คนรุ่นใหม่ เข้ามา เพราะต้องการมีเสียงเบ็ดเสร็จ เนื่องด้วยอุปนิสัย นางอองซาน ไม่ทำงานร่วมกับคนไว้ใจไม่ได้


ปฏิวัติ"ซูจี"เหตุกองทัพเมียนมาหวั่นสูญอำนาจปกครอง




ทั้งนี้ เชื่อว่าการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 1 ปี ของเมียนมา จะกลับไปสู่การเลือกตั้ง แต่ก็ไม่มีอะไรบังคับได้ว่า จะไม่เกิดรัฐประหาร ซึ่งเมียนมา ศึกษาบทเรียนในอดีตมาพอสมควร แต่กองทัพเมียนมา คงไม่เอาจีน เพราะรู้จักจีน เวลาเข้าไป เช่น แอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเข้าไปริดรอน แต่จะเป็นสหรัฐฯก็ไม่ใช่ เพราะ โจ ไบเดน ประกาศชัด ไม่สนับสนุนการรัฐประหาร

ส่วนอินเดีย โดยรัฐบาลปัจจุบันเป็นฝ่ายขวา อนุรักษ์นิยม เกลียดชังมุสลิม ส่วนเพื่อนบ้านเอเชียไม่เกี่ยวข้องมาก ยกเว้นไทย แต่ถ้าเป็นรัฐบาลนี้ ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกิจการภายในประเทศ แต่เงื่อนไข 1 ปี เมียนมา ต้องจับตาดูว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง แต่ประท้วงแน่นอน และกองทัพตั้งจะรับอย่าง เพราะในอดีตเมียนมาเคยมีโศกนาฎกรรม จนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

ขณะที่สถานการณ์ล่าสุด อินเตอร์เน็ตกลับมาใช้งานได้ตั้งแต่เวลา 16.00 น. วานนี้ และได้รับการยืนยันจากนักวิชาการเมียนมา ว่าแถลงการณ์เรียกร้องให้ประชาชนออกมาต่อสู้กับรัฐประหาร ไม่เป็นความจริง

logoline