svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

เหนือถกรับภัยแล้งชี้"พิจิตร"น่าห่วง

25 มกราคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เชียงใหม่ ภาคเหนือถกแผนรับมือภัยแล้ง สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1 ระบุพิจิตรน่าเป็นห่วงเหตุมีฝนตกเพียง 38% จากปกติปริมาณน้ำฝน 1,200 มม. ขณะที่ ศูนย์ภูมิภาคฯ เตรียมพัฒนาระบบพยากรณ์สภาพอากาศเฝ้าระวังภัยแล้ง-พยากรณ์ภัยแล้ง ใช้เป็นข้อมูลบริหารจัดการน้ำ ด้าน นักวิชาการ แนะปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 25 มกราคม 2564 ที่ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์วิจัยทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จัดสัมมนา "สถานการณ์ภัยแล้งภาคเหนือ ปี 2564" โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและนักวิชาการเข้าร่วมสัมมนาผ่านโปรแกรม ZOOM และ ถ่ายทอดทางเฟซบุ๊ก Water Focus

เหนือถกรับภัยแล้งชี้"พิจิตร"น่าห่วง


นายเจนศักดิ์ ลิมปิติ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1กล่าวว่า มาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ปี 2563/2564ได้เร่งเก็บกักน้ำก่อนที่จะสิ้นฤดูฝน และจัดการแหล่งสำรองน้ำดิบในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนโดยจะต้องมีการปฏิบัติการเติมน้ำให้กับแหล่งน้ำในพื้นที่เกษตรและพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำพร้อมทั้งต้องมีการจัดทำบัญชีน้ำในแต่ละพื้นที่เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นปัจจุบันหลายจังหวัดยังไม่เข้าใจการบริหารจัดการน้ำโดยพื้นที่ในภาคเหนือที่มีฝนน้อยที่สุดน่าจะเป็นจังหวัดพิจิตร ซึ่งฝนหายไปมากกว่าร้อยละ 38 จากปกติที่ต้องมีปริมาณฝนตกในพื้นที่ 1,200 มม.โอกาสที่จะเป็นพื้นที่ขาดแคลนน้ำจึงมีสูง

เหนือถกรับภัยแล้งชี้"พิจิตร"น่าห่วง


ศาสตราจารย์ ดร.อรรถชัย จินตเวช ภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ปีนี้จะอยู่ในช่วงที่มีฝนเยอะความชื้นมีสูง จะมีฝนตกเร็วขึ้น น่าจะมีผลดีต่อการปลูกข้าวจากสถิติพายุที่พัดผ่านเข้ามาในพื้นที่ในปี2563 มีพายุเข้ามาหลายตัว ทำให้สถานการณ์น้ำดีขึ้นโดยยังคาดว่าปีนี้ น่าจะมีพายุเข้ามาเยอะมากกว่าปีที่ผ่านมาการปลูกข้าวน่าจะดีกว่าปีที่ผ่านมา ชาวบ้านมีความพยายามที่จะปลูกมากขึ้นราคาข้าวค่อนข้างอยู่ในระดับที่ดี

เหนือถกรับภัยแล้งชี้"พิจิตร"น่าห่วง


ผศ.ดร.ชาคริต โชตอมรศักดิ์ หัวหน้าศูนย์ภูมิภาคเพื่อการศึกษาด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เตรียมการพัฒนาระบบพยากรณ์ภัยแล้งสำหรับพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ในส่วนของระบบที่มีการพัฒนาน่ามีประโยชน์ในการบริหารจัดการลุ่มน้ำในภาคเหนือ จะใช้ตัวแผนจำลองลักษณะภูมิอากาศในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เพื่อใช้เป็นปีฐานในการพยากรณ์ นำมาเป็นตัวชี้วัดเพื่อเลียนแบบเหตุการณ์ในอดีต

เหนือถกรับภัยแล้งชี้"พิจิตร"น่าห่วง

หลังจากนั้นจะทำการเฝ้าระวังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในอดีต ติดตามข้อมูลสภาพในอดีตจนถึงปัจจุบัน ถึงสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลพยากรณ์จะพยากรณ์ล่วงหน้า 6 เดือน โดยใช้ดัชนีภัยแล้งที่ผ่านมา ข้อมูลที่จะนำเสนอจะเก็บไว้ในฐานข้อมูลหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลในบริการข้อมูลดาต้าเบทไปใช้ประกอบในการบริหารจัดการน้ำได้

"ในช่วงระยะเวลา 2 ปี หลังจากการพัฒนาระบบนี้ คาดว่า จะเกิดระบบเฝ้าระวังภัยแล้งภาคการเกษตรในภาคเหนือ และเกิดระบบพยากรณ์ภัยแล้วในภาคเหนือตอนบน และจะนำไปสู่ระบบบริการข้อมูลต่อไป เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ นำไปประยุกต์ใช้ ทั้งนี้ต้องมีการประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบว่าหน่วยงานต้องการข้อมูลนส่วนไหน เพื่อทีมพัฒนาวิจัยจะได้นำมาพัฒนาปรับปรุงให้ข้อมูลตรงกับความต้องการเพื่อนำไปใช้บริหารจัดการให้ได้มากที่สุด"

เหนือถกรับภัยแล้งชี้"พิจิตร"น่าห่วง


 ผศ.ดร.มาโนช โพธาภรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า กรณีศึกษาการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ การปลูกข้าว เปียกสลับแห้ง ที่อ่างดอยงู น้ำที่เคยมีสำหรับปลูกข้าว 5,000 ไร่ สามารถขยายได้เป็น 2 เท่า โดยได้รับรางวัลการบริหารจัดการน้ำจาก กพร. การบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอเกิดจากการแย่งน้ำกันของชาวบ้าน เกิดการรประชุมเพื่อแก้ไขปัญหา เพื่อวางแผนจัดการโควตาน้ำตามข้อตกลงของกลุ่มผู้ใช้น้ำ โดนหันมาใช้วิธีปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง จากเดิมที่ใช้น้ำ 2,000 ลบ.ม. ต่อไร่ มาเป็นต่ำกว่า 1,000 ลบ.ม.ต่อไร่ เชื่อว่าการดำเนินการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำได้อย่าเต็มที่



 

           ผศ.สุธาสินี สุภา หัวหน้าศูนย์บริการวิชาการทางกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นเมืองเกษตรกรรม มีกว่า 9ล้านครัวเรือน ซึ่งถือเป็นฐานการใช้จ่ายสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจประเทศ หากภัยแล้งส่งผลสร้างความเสียหายต่อพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตร จะส่งผลกระทบต่อไปยังรายได้ของกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งอาจส่งผลไปถึงปัญหาหนี้ครัวเรือน และหนี้นอกระบบ หากไม่เร่งแก้ไขปัญหาจะส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยได้

 

   

เหนือถกรับภัยแล้งชี้"พิจิตร"น่าห่วง

         ผศ.ดร.วสันต์ จอมภักดี ประธานคณะกรรมการประสานงาน อนุรักษ์แม่ปิงและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การแก้ปัญหาภัยแล้งมาตรการที่สำคัญ ต้องเริ่มในฤดูฝน โดยดูจากต้นทุนน้ำเป็นหลัก ในลุ่มน้ำภาคเหนือเป็นลุ่มน้ำที่มีขอบเขตชัดเจน การบริหารจัดการทำงานได้ค่อนข้างง่าย เพราะมีสันปันน้ำกำหนดไว้ชัดเจน การบริหารจัดการน้ำจึงขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนเป็นหลัก การกักเก็บน้ำต้นทุนไว้ใช้เป็นเรื่องสำคัญ รวมทั้งต้องมีข้อมูลการใช้น้ำอย่างชัดเจน เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ถึงเวลาที่ต้องให้ความสำคัญกับข้อมูลการใช้น้ำอย่างชัดเจนสร้างการมีส่วนร่วมให้ได้ การจะแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้มีประสิทธิภาพ ต้องกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ภัยแล้งเข้าไปในแผนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาระดับประเทศ

logoline