svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สคช. หนุนทางรอด ในยุคโควิด-19

25 มกราคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

การกลับมาของ "โควิด-19" ระลอกใหม่ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าส่งผลกระทบในมิติทางเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศต่อเนื่อง ซึ่งต้องยอมรับว่าฉุดให้การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศดำดิ่งไปไม่น้อย

รัฐบาลโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้พยายามออกแบบทิศทางการขับเคลื่อนประเทศให้ล้อไปกับวิกฤตที่เกิดขึ้นให้ได้ด้วยประเทศไทยเป็นประเทศที่เรารู้กันดีอยู่ว่า เราพึ่งพาตัวเองได้ทุกคนต่างทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันการบริหารงบประมาณรายจ่ายทุกอย่างต้องเป็นไปด้วยความประหยัด คุ้มค่า มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบันและที่แน่นอนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ก็จะช่วยให้การดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆรวมทั้งในแง่ธุรกิจ สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ไม่หยุดชะงัก



ด้วยนโยบายของรัฐบาลนับเป็นหัวใจให้ทุกหน่วยงานต้องปรับตัวระดมทุกความคิด ทุกสรรพกำลัง เพื่อให้เศรษฐกิจฐานรากสามารถเดินต่อไปได้หรือแม้จะทำอย่างไร ที่จะช่วยพยุงเงินในกระเป๋าของประชาชนยังคงมีอยู่มีใช้รวมไปถึงมีมากขึ้นในยุควิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้

สคช. หนุนทางรอด ในยุคโควิด-19


สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)หรือ สคช.ในฐานะหน่วยงานภาครัฐภายใต้การกำกับของนายกรัฐมนตรีที่ปัจจุบันมีนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี ควบคุมดูแล ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ สานนโยบายเพื่อมาต่อยอดทางความคิด และการดำเนินงานทันทีและล่าสุดในการประชุมคณะกรรมการสคช. โดยมี นายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสคช.เป็นประธานการประชุมและในฐานะที่เป็นกรรมการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงานและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้ระดมทุกความเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งในมิติแรงงานอาชีพ เศรษฐกิจ สังคมเพื่อหามาตรการช่วยเหลือคนในอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19ให้สามารถเข้าสู่สภาพคล่องให้ได้โดยเร็ว

สคช. หนุนทางรอด ในยุคโควิด-19


ด้าน ดร.นพดล ปิยะตระภูมิผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวเสริมว่าสคช. จะพลิกวิกฤติการระบาดของโรค อาศัยช่วงที่คนระมัดระวังตัวในการเดินทางอยู่แต่บ้านมาสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานราก ด้วยการพัฒนาทักษะสมรรถนะในอาชีพ สามารถนำความรู้ไปสร้าง และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆรวมทั้งสร้างอาชีพทางรอดอาชีพที่ 2 อาชีพที่ 3ได้ ภายใต้แนวคิด สคช. ช่วยไทย สร้างการเรียนรู้ สร้างโอกาส สร้างงาน สร้างอาชีพทั้งนี้สคช. ได้ออกมาตรการแนวทางการช่วยเหลือ ได้แก่



มาตรการที่ 1ประกาศลดค่าธรรมเนียมการประเมินสมรรถนะด้านการใช้อีคอมเมิร์ซโดยค่าสมัครเข้ารับการประเมินมาตรฐานสมรรถนะ ปกติเก็บ 300 บาทแต่ลดเหลือ 150 บาท ค่าธรรมเนียมการประเมินมาตรฐานสมรรถนะ อีคอมเมิร์ซระดับ 1 ปกติเก็บค่าธรรมเนียมการประเมิน (สอบ) เป็นเงิน 400บาท เหลือเก็บเพียง 150 บาท ระดับ 2 ปกติเก็บ 500บาท แต่ สคช. จะสนับสนุนให้ 250 บาทเหลือเก็บค่าธรรมเนียมการสอบเพียง 250 บาท ทั้งนี้สงวนสิทธิ์คนละ 1ครั้ง ต่อ 1 สิทธิ์เบื้องต้นกำหนดงบประมาณสนับสนุนค่าธรรมเนียมการสอบ 1,000 คนนอกจากนี้ให้ลดค่าธรรมเนียมการประเมิน (สอบ) ตามมาตรฐานอาชีพต่างๆ จากเดิมเก็บ 500บาท ลดเหลือเก็บเพียง 250 บาท เท่านั้น



มาตรการที่ 2สนับสนุนค่าธรรมเนียมการประเมินสมรรถนะเต็มจำนวนในบางอาชีพ ได้แก่การประเมินมาตรฐานสมรรถนะด้านการใช้ภาษาอังกฤษ (English Proficiency), การประเมินมาตรฐานสมรรถนะด้านการขับขี่ปลอดภัยและประหยัดพลังงานโดยให้เก็บเฉพาะค่าสมัครสอบ แต่เก็บค่าสมัครเพียงครึ่งเดียวโดยค่าสมัครสอบ 300บาท เก็บเพียง 150 บาท เท่านั้น



นอกจากนี้ สถาบันฯจะสนับสนุนค่าธรรมเนียมการประเมินตามมาตรฐานอาชีพให้กลุ่มผู้เปราะบางในสังคมประกอบไปด้วย นักเรียน นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่หรือสำเร็จการศึกษาแล้วไม่เกิน 1 ปีและกลุ่มผู้ต้องขังใกล้พ้นโทษ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอาชีพที่เป็นผู้มีรายได้น้อยที่สถาบันฯจะสนับสนุนค่าธรรมเนียมการประเมินมาตรฐานอาชีพเต็มจำนวน ได้แก่ อาชีพช่างทำผมอาชีพผู้ประกอบอาหารริมบาทวิถี อาชีพเกษตรกรซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยยกระดับภาคการเกษตรสู่เกษตรมูลค่าสูงต่อยอดการสร้างแพลตฟอร์มตลาดดิจิทัลใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวนโยบายของรัฐบาลด้วย



มาตรการที่ 3การจัดอบรมออนไลน์ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นมาตรการสำคัญในการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคนในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศนำร่อง 10 อาชีพ ที่ สคช.ได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในการจัดทำมาตรฐานอาชีพเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อาทิเทคนิคการแต่งหน้า, เทคนิคการทำผม, ทำตลาดออนไลน์, เทคนิคเมนูง่ายๆแต่อร่อยอย่างเชฟระดับโลก, เทคนิคการถ่ายภาพเพื่อการขาย,ตัดต่อ ทำคลิปง่ายๆ เพียงใช้โทรศัพท์มือถือ, เป็นนายหน้าอย่างมืออาชีพด้วยกูรูที่ได้การันตีมาตรฐานสากลISO/IEC 17024, เทคนิคง่ายๆ ในการดูแล เข้าใจผู้สูงอายุ และเด็กรวมทั้งเทคนิคง่ายๆ ในการใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนซึ่งจะมีการมอบใบประกาศให้ด้วยสำหรับผู้ที่ผ่านการอบรม

สคช. หนุนทางรอด ในยุคโควิด-19


สำหรับการจัดอบรมจะเปิดอบรมจะดำเนินการผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ที่มีทั้งเฟซบุ๊กแฟนเพจ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เว็บไซต์หรือช่องทางยูทูปด้วยการลงทะเบียนผ่านระบบ E-Training ของสถาบันฯผู้ที่เข้าอบรมจะได้เทคนิคต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญในอาชีพที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์จริงได้ในชีวิตประจำวัน เสริมทักษะในอาชีพ รวมทั้งนำไปต่อยอดขยายผลให้กับธุรกิจหรือในอาชีพของตัวเอง จนสามารถสร้างเป็นอาชีพทางรอดอาชีพที่ 2 อาชีพที่3 ได้ด้วย นับเป็นการสร้างโอกาส สร้างงาน สร้างรายได้ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งยังเป็นการส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจทัลและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของแรงงาน (Life Long Learning) ตามแนวทางรัฐบาลอีกด้วยทั้งนี้สามารถติดตามรายละเอียดการอบรม รวมทั้งประกาศการลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมต่างๆ ได้จากในเว็บไซต์สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) www.tpqi.go.th

สคช. หนุนทางรอด ในยุคโควิด-19

logoline