svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

5 ทริคหยุดเลือดกำเดาไหล

22 มกราคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เปิด 5 ทริคหยุดเลือดกำเดาไหล ซึ่ง "เลือดกำเดาไหล" หรือ "Epistaxis" เป็นภาวะเลือดออกทางจมูก ที่สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือภาวะเลือดออกทางจมูกด้านหน้า ซึ่งมักจะไม่ค่อยรุนแรง และภาวะเลือดออกทางจมูกด้านหลังโพรงจมูก

เพจเฟซบุ๊ก "มูลนิธิหมอชาวบ้าน" ได้แนะ ทริคหยุดเลือดกำเดาไหล โดยมีรายละเอียดดังนี้....
หยุดเลือดกำเดาไหล
ภาวะเลือดกำเดาไหล เกิดจากหลอดเลือดที่มาเลี้ยงเยื่อบุจมุกฉีกขาด ทำให้เลือดไหลออกจากจมูกข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ ในเด็กและผู้ที่มีอายุน้อยมักออกจากส่วนหน้าของจมุก แต่ถ้าเลือดออกส่วนหลังของจมูก มักพบในผู้สุงอายุ 

5 ทริคหยุดเลือดกำเดาไหล


การรักษาเมื่อมีอาการเลือดกำเดาไหล
1.ให้ผู้ป่วยเงยหน้าขึ้นใช้นิ้วชี้และหัวแม่มือบีบจมูกทั้ง 2 ข้างให้แน่นประมาณ 5-10 นาที ให้หายใจทางปากแทน นอนพัก ยกศรีษะสูง นำน้ำแข็งมาประคบบริเวณหน้าผากหรือดั้งจมูกประมาณ 10 นาที ถ้าเลือดไม่หยุดควรไปพบแพทย์
2.หลังจากเลือดกำเดาหยุดไหลภายใน 1-2 วัน ควรหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนบริเวณจมูก การยกของหนัก การเล่นกีฬาที่หักโหมหรือกลางแดด เพราะอาจทำให้มีเลือดออกได้อีก
3.สำหรับผู้ป่วยที่กินยาแก้ปวด ควรหลีกเลี่ยงยาแอสไพริน ยาละลายลิ่มเลือด เพราะยาเหล่านี้จะทำให้เลือดไหลง่ายกว่าปกติ
4.ควรกินอาหารที่มีวิตามินเคสูง ซึ่งพบในผักใบเขียวทุกชนิด ผักกาดขาว แครอต น้ำมันตับปลา ตับ เนยแข็ง ไข่ขาว ถั่วหมัก จะช่วยให้เลือดแข็งตัวได้เร็วขึ้น
ส่วนสาเหตุที่ทำให้เลือดกำเดาไหลนั้น สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ ภาวะโรคในจมูก และ ภาวะร่างกายที่ผิดปกติ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. เลือดกำเดาไหลเพราะภาวะโรคในจมูก คือ อาจเกิดจากการที่ "มีก้อนในจมูก" หรือ "ก้อนเนื้องอกบริเวณหลังโพรงจมูก" รวมถึงการติดเชื้อต่างๆ ที่ทำให้มีแรงดันขึ้นไปทำให้เกิดอาการคัดจมูกหรือจาม จนเส้นเลือดฝอยแตก และเกิดเป็นเลือดกำเดาไหลออกมา หรืออาจเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุ ถูกกระแทกจนกระดูกหัก ผนังจมูกคด ก็ทำให้เลือดกำเดาไหลได้ รวมถึงการใช้ยาพ่นสเตียรอยด์รักษาภูมิแพ้ ถ้าพ่นไม่ถูกวิธี ก็อาจทำให้ผนังจมูกบางและเป็นเหตุให้เลือดออกได้เช่นกัน
2. เลือดกำเดาไหลเพราะความผิดปกติของร่างกาย ได้แก่ คนที่มีโรคประจำตัว เป็นโรคเลือดที่ทำให้การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เลือดออกง่าย หยุดยาก โดยมักจะเป็นตามเยื่อบุต่างๆ เช่น เยื่อบุจมูก หรือว่าไรฟัน รวมถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง คนที่เป็นโรคตับหรือคนที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดต่างๆ ก็มีโอกาสเลือดกำเดาออกได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไป

logoline