svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กทม.ติด'โควิด'เพิ่ม 13 ราย ยอดสะสม 606 ชี้ติดเชื้อจากการไปพื้นที่เสี่ยง

19 มกราคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรุงเทพมหานคร เผยยอดป่วย "โควิด" ในกรุงเทพฯ มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 13 ราย ส่งผลยอดสะสมผู้ป่วย 606 คน โดยกลุ่มผู้ป่วยมาจากการไปพื้นที่เสี่ยง มีอาชีพเสี่ยง หรือสัมผัสกับผู้ป่วยก่อนหน้านี้

19 มกราคม 2564 เพจเฟซบุ๊ก "กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์" โพสต์ข้อความแจ้งสถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ระบุว่า...
การแถลงข่าวศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) วันอังคารที่ 19 มกราคม 2564 เวลา 11.30-12.15 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
- ทั่วโลก ผู้ป่วยรายใหม่ 473,750 ราย ผู้ป่วยสะสม 96,005,763 ราย ผู้เสียชีวิต 9,167 คน ผู้ป่วยเสียชีวิตรวม 2,049,238 คน
- ประเทศไทย ผู้ป่วยรายใหม่ 171 ราย รวมผู้ป่วยสะสม 12,594 ราย (ระลอกใหม่ 8,357 ราย) รักษาหายแล้ว 9,356 ราย ยังรักษาอยู่ 3,168 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ผู้ป่วยเสียชีวิตรวม 70 คน
- กรุงเทพมหานคร ผู้ป่วยรายใหม่ 13 ราย รวมผู้ป่วยสะสม 2,140 ราย (ระลอกใหม่ 606 ราย)

กทม.ติด'โควิด'เพิ่ม 13 ราย ยอดสะสม 606 ชี้ติดเชื้อจากการไปพื้นที่เสี่ยง



กทม.ติด'โควิด'เพิ่ม 13 ราย ยอดสะสม 606 ชี้ติดเชื้อจากการไปพื้นที่เสี่ยง




ข้อสั่งการจากที่ประชุม ศบค.
1. สถานการณ์ต่างประเทศ คาดว่าอีกไม่กี่วันยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกจะถึง 100 ล้านคน โดยประเทศในเอเชียยังพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย ปากีสถาน ญี่ปุ่น บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ เมียนมา ขณะที่ประเทศมาเลเซียยังมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในที่ประชุม EOC สธ.เห็นว่าจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างใกล้ชิด

กทม.ติด'โควิด'เพิ่ม 13 ราย ยอดสะสม 606 ชี้ติดเชื้อจากการไปพื้นที่เสี่ยง



2. สถานการณ์ผู้ป่วยรายใหม่ในวันนี้ 171 ราย แบ่งเป็น การติดเชื้อในประเทศ 158 ราย เป็นผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯ 33 ราย (มีประวัติไปสถานที่เสี่ยง มีอาชีพเสี่ยง หรือสัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้านี้) และจากการค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 125 ราย (แรงงานต่างด้าว)
การติดเชื้อจากต่างประเทศ 13 ราย เป็นผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานกักกันทุกประเภท (Quarantine Facilities) ทั้งนี้ แนวโน้มผู้ป่วยรายใหม่ยังทรงตัว ส่วนผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุกในชุมชนยังพบต่อเนื่อง เนื่องจากระบบการค้นหายังพบผู้ป่วยรายใหม่ หากมีการค้นหามากก็จะพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

กทม.ติด'โควิด'เพิ่ม 13 ราย ยอดสะสม 606 ชี้ติดเชื้อจากการไปพื้นที่เสี่ยง



3. จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศรายใหม่และสะสมระลอกใหม่ ตั้งแต่วันที่ 18 ธ.ค. 63 - 19 ม.ค. 64 มีผู้ติดเชื้อรวม 7,829 ราย โดยกรุงเทพฯ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 13 ราย เป็นการติดเชื้อภายในประเทศ จากการไปพื้นที่เสี่ยง มีอาชีพเสี่ยง หรือสัมผัสกับผู้ป่วยก่อนหน้านี้ 9 ราย ประกอบด้วยเพศหญิง 5 ราย อายุ 23-47 ปี เพศชาย 4 ราย อายุ 28-64 ปี สัญชาติไทย 8 ราย แรงงานข้ามชาติ 1 ราย มีอาการป่วย 7 ราย และไม่มีอาการ 2 ราย
ติดเชื้อจากการคัดกรองเชิงรุกในชุมชน 4 ราย เป็นเพศหญิง 3 ราย อายุ 25 ปี 2 ราย และ 43 ปี 1 ราย เพศชาย 1 ราย อายุ 35 ปี สัญชาติไทย 2 ราย และแรงงานข้ามชาติ 2 ราย มีอาการ 2 ราย และไม่มีอาการ 2 ราย

4. จังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ขณะนี้กระจายไปใน 61 จังหวัดเท่าเดิม โดยจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อสะสมมากกว่า 50 ราย 10 จังหวัด จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อสะสม 11-50 ราย 12 จังหวัด จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อสะสม 1-10 ราย 39 จังหวัด และจังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อมาก่อน 16 จังหวัด ส่วนจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อรักษาอยู่มากกว่า 100 ราย 4 จังหวัด โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคกลางและภาคตะวันออก

กทม.ติด'โควิด'เพิ่ม 13 ราย ยอดสะสม 606 ชี้ติดเชื้อจากการไปพื้นที่เสี่ยง


5. การค้นหาเชิงรุกใน จ.สมุทรสาคร สธ.มีแผนให้ทีมสอบสวนโรคเข้าไปตรวจเชิงรุก 50 คน/โรงงาน โดยตรวจให้ได้ 600 โรงงาน/วัน ขณะที่โรงงานที่อยู่ใน จ.สมุทรสาคร มีประมาณ 10,000 แห่ง เจ้าหน้าที่จึงต้องเร่งเข้าไปตรวจ แต่การเข้าตรวจเชิงรุกในโรงงานมีอุปสรรคหลายเรื่อง โดยเฉพาะบุคลากร ซึ่งขณะนี้ได้รับความร่วมมือจาก 12 เขตตรวจราชการ ที่เข้าไปสอบสวนโรค โดยกำหนดให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือน ม.ค.63 เพื่อให้ทันกับการประกาศข้อกำหนดที่จะประเมินสถานการณ์ถึงวันที่ 31 ม.ค.นี้
6. การวิเคราะห์สถานการณ์การติดเชื้อในกรุงเทพฯ จากกราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ในโรงพยาบาลและการค้นหาในชุมชนรายวันในกรุงเทพฯ วันนี้สถานการณ์อยู่ในระดับสูงคงตัว (12 ราย) ในจำนวนนี้เป็นกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 6 ราย ซึ่งต้องเน้นเฝ้าระวัง คัดกรองเชิงรุกในพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ จากสถานบริการ ผับ บาร์ ที่อาจมีความเชื่อมโยงกับจังหวัดปริมณฑล
โดยเขตที่มีผู้ป่วยยืนยันสูงสุด 5 อันดับแรก คือ เขตบางขุนเทียน (106 ราย) บางแค (27 ราย) บางพลัด (27 ราย) จอมทอง (25 ราย) และเขตธนบุรี (21 ราย) เขตที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยยืนยัน 2 เขต คือ เขตสัมพันธวงศ์ และเขตสะพานสูง นอกจากนี้ ยังต้องกำกับติดตามการกักตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูงระหว่างรอผลตรวจหาเชื้อจนครบ 14 วัน

กทม.ติด'โควิด'เพิ่ม 13 ราย ยอดสะสม 606 ชี้ติดเชื้อจากการไปพื้นที่เสี่ยง


7. การใช้งานแอปพลิเคชันหมอชนะ มีจำนวนยอดดาวน์โหลด 7.80 ล้านครั้ง จำนวนผู้ใช้งาน 6.34 ล้านคน การส่งแจ้งเตือนสะสม 4,232 ราย ซึ่งต้องขอขอบคุณคนไทยที่ให้ความไว้วางใจ แต่หากมีข้อติดขัดสามารถสะท้อนปัญหาได้ โดยข้อมูลจาก GISTDA รายงาน 5 จังหวัดที่มีสัดส่วนการประเมินกิจการ/กิจกรรม ในระดับที่ดีที่สุด ได้แก่ นครปฐม ระยอง ชลบุรี นนทบุรี และกรุงเทพฯ ซึ่งในกรุงเทพฯ มีกิจการ/กิจกรรมที่ได้คะแนนดี 5 อันดับแรก ได้แก่ ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม รถโดยสารประจำทาง ร้านจำหน่ายอาหาร และหน่วยงานและสถานที่ราชการ


logoline