svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

แห่ขาย"ผักหวานปากวัว"สร้างรายได้งาม

18 มกราคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อุตรดิตถ์ - ชาวบ้านเริ่มสร้างเพิงชั่วคราว เพื่อนำผักหวานป่า ไข่มดแดง และของป่าตามฤดูกาลมาขายกันอย่างคึกคัก สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ ชูเมนูเด็ดหน้าแล้ง "แกงผักหวานป่าปลาร้าปลาย่าง" แซ่บนัว อร่อยจนไม่อยากจะแบ่งใคร

    วันที่ 18 มกราคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเข้าสู่ช่วงหน้าแล้ง บรรยากาศริมทางถนนสายหลัก ตั้งแต่ อ.ท่าปลา อ.น้ำปาด มุ่งหน้าสู่เขื่อนสิริกิติ์ และตลาดการค้าชายแดนไทย-ลาว จ.อุตรดิตถ์ ชาวบ้านต่างสร้างเพิงไม้ไผ่เป็นการชั่วคราว เพื่อเป็นแหล่งขายของป่าพื้นบ้าน เนื่องจากเข้าสู่หน้าแล้ง พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ตามเขา ไม่สามารถทำการเกษตรได้ รอเข้าสู่ฤดูฝนเท่านั้น



แห่ขาย"ผักหวานปากวัว"สร้างรายได้งาม


 ที่สำคัญด้วยการระบาดของโควิด-19 ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะอยู่ภูมิลำเนา ยกเลิกการเดินทางรับจ้างหรือขายแรงงานเมืองใหญ่ ทำให้ตลาดของป่าอาหารพื้นบ้าน ที่ถนนสายเข้าสู่ อ.น้ำปาด บริเวณ ต.แสนตอ อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ คึกคักตั้งแต่ต้นปี ชาวบ้านต่างนำผักหวานป่า ไข่มดแดง และของป่าตามฤดูกาลที่หากันเอง มาวางขายให้กับประชาชนที่สัญจรผ่านไปมา เน้นเทคนิคเก็บและวางขายแบบสดๆ ค้าขายกับแบบชาวบ้านๆ และมีการแบ่งขาย ไม่จำเป็นต้องซื้อเป็นกิโลกรัม เช่น ผักหวานราคาเริ่มกองละ 20 บาท 50 บาท จากกิโลกรัมละ 200 บาท และที่สำคัญยังสามารถใช้ "คนละครึ่ง" ของรัฐบาลซื้อได้ด้วย สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้ชาวบ้านในช่วงงดทำการเกษตรช่วงหน้าแล้ง

แห่ขาย"ผักหวานปากวัว"สร้างรายได้งาม



แห่ขาย"ผักหวานปากวัว"สร้างรายได้งาม



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แต่ที่ดูจะน่าสนใจ และลูกค้าทั้งลูกค้าขาประจำและขาจร ต้องแวะเพื่อหาซื้อผักหวานป่า ที่ริมทางของ อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ เนื่องจาก เป็น "ผักหวานปากวัว" ไม่ต้องเผาป่า ก็มีผักหวานกิน ซึ่งเป็นความร่วมไม้ร่วมมือของชาว อ.อน้ำปาด ที่ให้ความร่วมมือในการไม่เผาป่า ไม่สร้างมลพิษหรือหมอกควัน ด้วยการใช้หลัก "สัตว์กินพืช ให้พืชแตกใบอ่อน"

แห่ขาย"ผักหวานปากวัว"สร้างรายได้งาม



แห่ขาย"ผักหวานปากวัว"สร้างรายได้งาม


นางพรรณราย อารินทร์ทอง หนึ่งในแม่ค้าขายผักหวานป่า อ.น้ำปาด กล่าวว่า อ.น้ำปาดนับเป็นแหล่งขายผักหวานป่าของ จ.อุตรดิตถ์ เมื่อไม่ได้ปลูกพืชเพราะแล้ง จึงหันมาเลี้ยงวัว แทบจะมีทุกครอบครัว ด้วยสภาพภูเขาจึงต้อนฝูงวัวเข้าป่า ให้กินใบไม้ ตามธรรมชาติ ซึ่งมีต้นผักหวานป่าเป็นจำนวนมาก เมื่อวัวกินใบผักหวาน ทำให้มีการแตกยอดอ่อน ชาวบ้านเลี้ยงวัว ยังได้เก็บผักหวานยอดอ่อนๆ มาขายสร้างรายได้ ซึ่งไม่ต้องเผาป่า จึงกลายเป็นที่มา "ผักหวานปากวัว" และวัวที่เลี้ยงส่วนใหญ่จะเป็นวัวตัวเมีย เพราะให้ลูกวัวได้ ส่วนวัวตัวผู้เลี้ยงพอโตก็ขาย เพิ่งเริ่มต้นฤดูกาล ผักหวานเริ่มแตกยอดอ่อน ราคากิโลกรัมละ 200 บาท จัดเป็นเมนูเด็ดยอด นิยมทุกครอบครัว "แกงผักหวานป่าปลาร้าปลาย่าง" แซ่บนัว อร่อยจนไม่อยากจะแบ่งใคร



แห่ขาย"ผักหวานปากวัว"สร้างรายได้งาม



logoline