ภายหลังเจ้าของไร่สตรอเบอร์รี่ใหญ่ที่สุดต.อ่ายนาไลย อ.เวียงสา จ.น่านออกมาเรียกร้องภาครัฐยื่นมือช่วยเหลือเนื่องจากได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ระบาด ทำให้รายได้จากเดิมวันละ 3-4 หมื่นบาท เหลือเพียงวันละพันกว่าบาท บางวันขายไม่ได้ ทำให้สตรอเบอร์รี่สดเน่าเสียหายไปแล้วกว่า 5 หมื่นบาท
ล่าสุดนายวิบูรณ์ แววบัณฑิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน พร้อมคณะ เจ้าหน้าที่เกษตร บริษัทประชารัฐจังหวัดน่าน ลงพื้นที่เดินทางไปพบนางสาวเมวรักษ์ แซ่วื้อ ชาวไทยชนเผ่าม้ง น้องสาวเจ้าของไร่สตรอเบอร์รี่ดังกล่าว เพื่อตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจ พร้อมแนะนำการบริหารจัดการ โดยนำผลผลิตสตอเบอร์รี่สดและแห้ง ไปขายที่ตลาดสด ต.กลางเวียง อ.สา จ.น่าน โดยลดราคา หรือขายในราคาทุน เพื่อไม่ให้ขาดทุน เนื่องจากระยะทางไม่ไกลนัก เพียง10 กิโลเมตรเท่านั้น ส่วนผลผลิตจากไร่ที่จะออกมา ช่วงวันที่ 25 มกราคมนี้ จะช่วยประชาสัมพันธ์หาตลาดให้ต่อไป
- ผวจ.ร้อยเอ็ดแจงไม่เคยสั่งปิดตลาดนัดถนนคนเดิน หลังมือดีติดป้ายขับไล่
- ตร.ภ.3แถลงจับคนร้ายจี้ชิงทอง หลังไล่ล่าเพียง 19 ชม.
- 4 สมาคมรวมพลังออกแถลงการณฺ์ป้อง "พลเอกเปรม"
นางสาวเมวรักษ์ แซ่วื้อกล่าวขอบคุณผู้สื่อข่าวเนชั่น ที่ได้ช่วยเป็นสื่อกลางให้ รอง ผวจ.น่าน และคณะลงพื้นที่มารับฟังปัญหาและให้คำแนะนำพร้อมช่วยเหมาสตอเบอร์รี่ โดยเมื่อปีที่ผ่านมา มีรายได้จากการขายสตรอเบอร์รีประมาณ 1,200,000 บาท แต่ปีนี้ประสบปัญหาไวรัสโควิด-19ระบาด ทำให้ปัจจุบันมีรายได้เพียง300,000 บาท และมีผลผลิตเน่าเสียขาดทุนไป 5- 6 หมื่นบาท
อย่างไรก็ตาม จะมีผลผลิตจะออกมาในช่วงวันที่ 25 มกราคม-พฤษภาคมนี้ จากที่ปลูกจำนวน 3 ไร่ มีต้นสตรอเบอร์รี่กว่า 2 หมื่นต้นหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้จะต้องเป็นหนี้ธนาคารและเสียดอกเบี้ยทบต้นแน่นอน
ทางด้านนายวิบูรณ์ แววบัณฑิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน กล่าวว่า ไร่สตรอเบอร์รี่ใหญ่ที่สุด@เวียงสา ต.อ่ายนาไลย อ.เวียงสา จ.น่าน อยู่ระหว่างเส้นทางด่านห้วยน้ำอุ่น เข้าอ.เวียงสา เป็นไร่สตอเบอร์รี่พันธุ์พระราชทาน 80 ของพี่น้องชาติพันธุ์ม้ง ได้มาทำการประกอบอาชีพการเกษตร บริเวณนี้เพื่อจำหน่ายผลผลิตในช่วงฤดูหนาว ในพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ จะมีผลผลิตออกมากประมาณ 25 มกราคมที่จะถึงนี้
ดังนั้นขอเชิญชวนประชาชนชาวน่าน ที่มาจากด่านห้วยน้ำอุ่น-สามแยกเวียงสา อยู่ซ้ายมือ ถ้าออกจากเวียงสา -ไปด่านห้วยน้ำอุ่น อยู่ขวามือ จะมีเพิงจำหน่ายสตอเบอร์รี่ หรือจะขึ้นไปบนไร่สามารถเก็บผลผลิตด้วยมือจากไร่ทดลองชิม ผลสุกจะหวานกว่าจังหวัดอื่น เนื่องสภาพดินและอากาศของจังหวัดน่าน เหมาะสมในการปลูกอย่างไรก็ตามควรที่จะสนับสนุนจากกลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ที่เปลี่ยนจากการปลูกข้าวโพด หันมาปลูกสตอเบอร์รี่ ที่จะทำรายได้ดีกว่าปลูกโพดหลายเท่าตัว