svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"อ.เจษฎ์" เตือนอีกครั้ง!! การฉีดยาฆ่าเชื้อที่สาธารณะ ไม่ควรทำนะ!! ไม่ค่อยได้ผล

14 มกราคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์" ออกมาเตือนเรื่องการฉีดยาฆ่าเชื้อที่สาธารณะ ไม่ควรทำนะครับ !! ไม่ค่อยได้ผล สิ้นเปลืองงบประมาณ และอาจมีอันตรายจากการสูดดมสัมผัสสารเคมี

ก็ยังมีคนส่งมาฟ้องอยู่เรื่อยๆ นะครับ ว่าในชุมชนมีการเอาสารเคมียาฆ่าเชื้อ มาฉีดพ่นตามที่สาธารณะ ด้วยความที่เชื่อกันว่าป้องกันโรคโควิด-19 ได้ซึ่งก็เตือนอยู่ตลอดว่า ไม่ควรทำนะครับ !! ไม่ค่อยได้ผล สิ้นเปลืองงบประมาณ ทำให้หลงเข้าใจผิดว่าป้องกันโรคได้ แถมจะมีอันตรายจากการสูดดมสัมผัสสารเคมีได้ด้วย ... แถมที่เห็นในข่าวนี้ ก็ใช้รถที่ใช้พ่นยาตามสวนผลไม้ มาพ่นยาฆ่าเชื้อด้วย ระวังจะมีสารเคมีอันตรายอื่นๆ ปนเปื้อนมานะครับ

"อ.เจษฎ์" เตือนอีกครั้ง!! การฉีดยาฆ่าเชื้อที่สาธารณะ ไม่ควรทำนะ!! ไม่ค่อยได้ผล

เอาคำเตือนเดิมๆ ของสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย  มารีโพสต์เรื่อยๆ ครับ
ขณะนี้ ประเทศไทยมีผู้ป่วย COVD-19 ต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร ด้วยความกังวลเรื่องของการปนเปื้อนเชื้อใน สถานที่สาธารณะต่าง ๆ และที่พักอาศัย ตลอดจนในร่างกายของผู้ป่วย จึงเกิดการปฏิบัติที่หลากหลายด้วยความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าจะช่วยทำลายเชื้อ หรือลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ช่น การฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อบนร่างกายของบุคคลทั่วไป ทั้งในลักษณะของการสร้างอุโมงค์ให้เดินผ่านหรือเดินผ่านไปตามทางเดินปกติ การฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อบนถนนหรือสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ตลอดจนภายในอาคารบ้านเรือนที่พักอาศัยหรือร้านค้า

"อ.เจษฎ์" เตือนอีกครั้ง!! การฉีดยาฆ่าเชื้อที่สาธารณะ ไม่ควรทำนะ!! ไม่ค่อยได้ผล


ทางสมาคมโรคติดเชื้อขอชี้แจงเรื่อง การฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อลงบนตัวบุคคลหรือสถานที่ เพื่อฆ่าเชื้อโคโรนาไวรัส ดังนี้
1.การฉีดพ่นทำลายเชื้อบนร่างกายของบุคคล ไม่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อการติดเชื้อ เนื่องจากหากบุคคลมีเชื้อไวรัสอยู่ เชื้อจะอยู่ที่ทางเดินหาย ใจ ซึ่งการพ่นยาฆ่าเชื้อในสักษณะดังกล่าว จะไม่สามารถทำลายเชื้อได้ นอกจากนี้ ยาฆ่าเชื้อยังอาจจะเป็นอันตรายต่อคนได้ จึงไม่ควรทำโดยเด็ดขาด การป้องกันการแพร่เชื้อที่ถูกต้องคือ การรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล การใช้หน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง และการรักษาความสะอาดของมือ
2. ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ หรืออบฆ่าเชื้อด้วยสารเคมีต่างๆ บนถนน สถานที่สาธารณะ หรืออาคารบ้านเรือนใดๆ ไม่ว่าในสถานที่นั้นจะมีผู้ป่วยโรคนี้หรือไม่ การปฏิบัติดังกล่าวเป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ เพราะไม่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแต่ประการใด
นอกจากนี้ หากในบริเวณนั้นมีเสมหะ หรือสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจของผู้ป่วยที่ยังไม่แห้ง การฉีดพ่นน้ำยา อาจทำให้เชื้อฟุ้งกระจายขึ้นมา เป็นอันตรายได้ หากจะทำความสะอาดในกรณีที่มีผู้พักอาศัยหรือผู้ใช้บริการป่วยเป็นโรคนี้ แนะนำให้ใช้วิธีเช็ดถูด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และยังมีคำแนะนำอื่น ตามรายละเอียดนี้ 

logoline