svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

จี้รัฐศึกษาข้อมูลรอบด้านก่อนสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล

13 มกราคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ชาวบ้านเสนอศึกษารอบด้านก่อนตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวล หวั่นส่งผลกระทบให้คนในพื้นที่ แม้จะมีนโยบายว่าใช้พลังงานไฟฟ้าจากพืชโดยเฉพาะไม้ไผ่ แต่เกรงจะเกิดผลกระทบในวงกว้าง จี้รัฐเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงก่อนลงมือดำเนินการ

จากกรณีที่มีการประชาสัมพันธ์ เรื่องการจัดตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยชี้แจงการปลูกพืชพลังงานเพื่อส่งโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า ที่ต้องการพืชพลังงาน โดยเฉพาะไม้ไผ่หลากหลายชนิดทั้ง ไม้ไผ่ซางหม่น และไผ่สร้างไพร   ซึ่งต้องการใช้ไผ่วันละ 50  ตัน  และต้องการพื้นที่ปลูกไผ่โดยประมาณ 3 พันไร่ พร้อมกับระบุสถานที่จัดตั้งโรงงานไว้ชัดเจนนั้น 



จี้รัฐศึกษาข้อมูลรอบด้านก่อนสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล


เรื่องนี้นายสิริศักดิ์ สะดวก อายุ 41 ปี ที่ปรึกษากลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายเชียงเพ็ง จ.ร้อยเอ็ด  ตั้งคำถามต่อกรณีดังกล่าวว่า ความเข้าใจต่อคนในพื้นที่มีความเข้าใจต่อกระบวนการอย่างไรบ้างต่อกรณีจะมีการจัดตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวล เนื่องจากตนมองว่าโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากที่จะเกิดขึ้นอีกมากในภาคอีสานนั้น ถึงจะเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่ไม่เกิน  10  เมกะวัตต์เพื่อจะได้ไม่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA นั้น โดยชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งจะมีแผนในการดำเนินโครงการต้องมีสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากแผนที่จะมีการดำเนินโครงการก่อนเพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจ 


นอกจากนั้นตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากผู้ลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก พ.ศ. 2563  "โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก" หมายความว่า โครงการจัดตั้งโรงไฟฟ้าที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ รับรู้และเห็นชอบในการก่อสร้าง มีส่วนแบ่งรายได้ ของโรงไฟฟ้าคืนกลับสู่ชุมชน โดยชุมชนเป็นหุ้นส่วนในการประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ร่วมกับภาคเอกชน และ หรือ องค์กรของรัฐผ่านทางวิสาหกิจชุมชน 


จี้รัฐศึกษาข้อมูลรอบด้านก่อนสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล





"ดังนั้นผมขอตั้งประเด็นว่าในเมื่อตามระเบียบของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานระบุชัด และผมยังมองต่ออีกว่า จะต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการนั้นย่อมหมายถึงโครงการดังกล่าวหน่วยงานภาครัฐหรือบริษัทจะต้องสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนทั้งทางด้านนโยบาย และโครงสร้างการทำงาน โดยการจัดให้มีการเปิดเวทีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียก่อนดำเนินการใด ๆ ไม่ใช่ประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวชุมชนแล้วล่ารายชื่อชาวบ้านหรือประชาสัมพันธ์ผ่านใบปลิวแค่นั้น"นายสิริศักดิ์ กล่าว และว่า 



จี้รัฐศึกษาข้อมูลรอบด้านก่อนสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล








การมีส่วนร่วมทั้งในเรื่องการให้ข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนของโรงไฟฟ้าชีวมวลต้องเริ่มตั้งแต่ก่อนจะมีโครงการ ซึ่งการให้ข้อมูลจะต้องมีทั้งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ด้านวิถีชีวิต ด้านมลพิษที่จะตามมา เพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่และนักวิชาการได้ร่วมกันพิจารณาตัดสินใจ ดังนั้นถ้าไม่มีกระบวนการเหล่านี้ตามระเบียบของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานที่ได้ระบุไว้ก็ถือว่าไม่มีกระบวนการมีส่วนร่วมจริง เพราะชาวบ้านในพื้นที่ไม่เคยรับรู้ข้อมูลข่าวสารมาก่อน และบริษัทไม่ควรฉกฉวยช่วงเวลาสถานการณ์เช่นนี้ในการดำเนินแผนโครงการ เพราะสถานการณ์เชื้อไวรัสโควิค-19 ที่ชาวบ้านต้องป้องกันตนเองตามนโยบายของภาครัฐ และควรหยุดแผนไว้ก่อนเนื่องจากชาวบ้านไม่สามารถรวมตัวกันได้




จี้รัฐศึกษาข้อมูลรอบด้านก่อนสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล


นายสิริศักดิ์ ยังกล่าวอีกว่า สำหรับพื้นที่ก่อสร้าง ตนอยากให้กลับไปคิดว่าพื้นที่ตั้งเหมาะสมจริงหรือไม่ ใกล้ชุมชน วัด โรงเรียน หรือไม่  และที่ตั้งโครงการต้องไม่ขัดกับผังเมืองด้วย รวมถึงการจัดตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลนั้นจะต้องใช้น้ำกี่ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และจะใช้น้ำจากแหล่งใด ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรน้ำใต้ดินและเหนือผิวดินหรือไม่ การจัดตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลที่กล่าวถึงนั้นกี่เมกะวัตต์ วัตถุดิบที่กล่าวถึงนั้นเรื่องพืชพลังงานทางเลือก โดยระบุว่าต้องการใช้ ไผ่ซางหม่น ไผ่สร้างไพร จริงหรือ หรือมีวัตถุดิบอื่นอีกหรือไม่



จี้รัฐศึกษาข้อมูลรอบด้านก่อนสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล




ด้านนางมะลิจิตร เอกตาแสง กรรมการกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายตำบลเชียงเพ็ง กล่าวว่า ตนอยากตั้งข้อสังเกตเช่นกัน เพราะที่ผ่านมาชาวบ้านในพื้นที่ไม่ได้รับรู้ข้อมูลที่แท้จริง เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจเลย ตนอยากเสนอให้มีการศึกษาอย่างรอบด้าน และเปิดเผยข้อมูลความเป็นจริงอย่างละเอียดในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของคนในพื้นที่ เพราะว่าโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก เดิมเป็นนโยบายของนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่มีเป้าหมายจะรับซื้อไฟฟ้า 1,933 เมกะวัตต์  หลังจากที่ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานยืนยันที่จะยึดแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ   ดังนั้นชาวบ้านในพื้นที่จึงมีสิทธิในการคัดค้านตั้งคำถามและตรวจสอบกระบวนการการทำประชาพิจารณ์ว่าถูกต้องหรือไม่ เนื่องจากกังวลว่าผลกระทบจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต จึงเสนอว่าควรยุติโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ และควรพัฒนาพื้นที่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและทรัพยากรชุมชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนมากกว่านี้.

logoline