svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

โซเชียลมีเดีย อาวุธลับการเมืองยุค 5จี

07 มกราคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจกับเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ก็คือ การนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้เป็นตัวจุดชนวนและนัดหมายรวมตัวกัน ซึ่งปัจจุบันการนำอาวุธทางการเมืองชนิดนี้มาใช้ ถือว่าสร้างความสำเร็จให้กับผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างปฎิเสธไม่ได้ และเป็นเรื่องยากที่จะหาทางแก้ปัญหา

พันธ์ศักดิ์อาภาขจร ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสื่อสาร            บอกว่า ผู้ที่เคลื่อนไหวทางการเมืองแทบทุกประเทศใช้โซเชียลมีเดีย เป็นตัวสร้างการแบ่งแยกทางการเมืองผ่านการแสดงออกทางความคิดเห็นซึ่งผู้ที่นำเครื่องมือทางการเมืองลักษณะนี้มาใช้เนื่องจากมีขบวนการที่ต้องการนำเสนอข้อมูลของฝ่ายตัวเองให้คนที่สนับสนุนรับทราบความเคลื่อนไหวและตกอยู่ใน "ห้องเสียงสะท้อน" หรือ "Echo Chamber" ซึ่งเป็นการสร้างข้อมูล แนวความความคิดหรือความเชื่อต่างๆ ให้ถูกขยายผ่านการสื่อสาร และมีการทำซ้ำๆ โดยไม่ถูกตั้งคำถาม หรือมุมมองที่แตกต่างออกไป



หากพูดถึงสถานะบนโลกออนไลน์ของโดนัลด์ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็ไม่ต่างอะไรจาก "Influencer" (อินฟลูเอนเซอร์) หมายถึงผู้มีอิทธิพลบนสื่อโซเชียล และมีการทำคอนเทนต์เผยแพร่ตามแพลตฟอร์มต่างๆในโซเชียลมีเดีย 



ที่สำคัญ โดนัลด์ ทรัมป์ มีผู้ติดตามเกือบ 80 ล้านคนทั่วโลก ทำให้เวลาที่ โดนัลด์ ทรัมป์สร้างวาทกรรมทางการเมืองขึ้นมา จะสร้างแรงโน้มน้าวใจต่อผู้คนที่สนับสนุนเขาได้อย่างไม่ยากและมักจะใช้เป็นอาวุธเด็ดทางการเมืองในการจุดชนวนทางการเมืองโดยที่ผ่านมาจะสังเกตได้ว่า ผู้นำสหรัฐฯมักจะใช้ทวิตเตอร์ในการสร้างฐานคะแนนทางการเมือง เพราะในช่วงที่บารัค โอบามา นั่งเก้าอี้ประธานธิบดีสหรัฐฯเอง ก็ยังใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการสร้างความสนใจจากประชาชนคนรุ่นใหม่ โดยมีผู้ติดตามมากถึง127 ล้านคน จนมีการตั้งฉายาว่า "ประธานาธิบดีของคนรุ่นใหม่"


คุณพันธ์ศักดิ์ ยังบอกอีกว่าอิทธิพลความน่ากลัวของโซเชียลมีเดียต่อการเมือง อาจนำความรุนแรงจากความเห็นต่างทางการเมืองที่ถูกบ่มเพาะมานนานในโลกเสมือนให้เข้าสู่โลกความจริงได้ไม่ยากอีกต่อไปเพราะสิ่งที่เราได้เห็นคือ การแบ่งขั้วทางการเมือง แบ่งฝ่ายซึ่งกลุ่มที่มีความเห็นต่างกัน จะสร้างพื้นที่ความคิดเห็นของตัวเองขึ้นมาซึ่งนำมาสู่ความรุนแรงอย่างที่เราได้เห็นในสหรัฐฯ ตอนนี้

 

 

            แต่เมื่อมองย้อนกลับมาถึงการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทยคุณพันธ์ศักดิ์ ให้มุมมองที่น่าสนใจว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดความรุนแรงขึ้นเหมือนในสหรัฐฯได้เหมือนกันเพราะสิ่งที่เป็นต้นตอ คือ ช่องทางสื่อสารทางโซเชียล ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ เนื่องจากบริษัทของทั้งสองแห่งนี้ ไม่ได้อยู่ในประเทศไทยหากยังไม่มีการยับยั้งการแสดงออกทางการเมืองอย่างสุดโต่งผ่านช่องทางเหล่านี้ก็เป็นไปได้ว่า จะสร้างการบ่มเพาะความเห็นต่างและการเกลียดชังขึ้นมาได้เรื่อยๆและเมื่อความเกลียดชังสุกงอมขึ้นมาก็ยากที่จะหยุดยั้งได้ ฉะนั้น สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การยับยั้งชั่งใจในโลกออนไลน์ของผู้ใช้รวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคมในการใช้สื่อออนไลน์นั่นเอง

อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้หลายคนคาใจก็คือ เหตุใดทวิตเตอร์ จึงแสดงท่าทีสกัดการเคลื่อนไหวของทรัมป์ได้อย่างรวดเร็ว ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสื่อสาร บอกว่า ผู้ที่สร้างแอพลิเคชั่นก็คือ บุคคลที่สร้างช่องทางโซเชียลมีเดีย ก็คือคนปกติทั่วไป ฉะนั้นการบิดเบือนหรือการสร้างเจตนาของผู้สร้างอินเตอร์เน็ตหรือช่องทางโซเชียลมีเดียจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร และการเป็นการสร้างหลุมพรางทางจิตวิทยาที่หลอกล่อให้คนก้าวข้ามความยับยั้งชั่งใจจนกล้าที่จะกระทำบางสิ่งจนนำไปสู่ความผิดทางกฎหมาย

 


            แบบนี้เราจะตั้งคำถามได้หรือไม่ว่าแม้แต่ตัวแพลทฟอร์มในโลกโซเชียลมีเดีย ก็ยังเลือกข้างเหมือนกันจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ที่อาจจะเกิดขึ้นมาในบ้านเราได้     

logoline