svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ปากกาหมึกซึมทำด้วยมือของอินเดียกำลังได้รับความนิยมทั่วโลก

05 มกราคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อินเดียกำลังเป็นตลาดใหญ่สำหรับปากกาหมึกซึมที่เป็นงานศิลปะ ทุกด้ามทำด้วยมือ และผลิตจากวัสดุธรรมชาติ จำหน่ายออนไลน์จองนานเกือบสองปีสามารถ สร้างรายได้เดือนนับแสนบาท

ปากกาหมึกซึม "ฟอสฟอร์" ของนายมาโนช  เดชมัค ชายชาวอินเดียที่ลาออกจากการเป็นวิศวกรมาประดิษฐ์ปากกาหมึกซึมเป็นงานอดิเรกเมื่อปีพ.ศ.2557 ปากกาด้ามแรกของเค้าทำจากไม้กุหลาบที่อยู่ในบ้านเค้าเริ่มศึกษาข้อมูลการทำปากกาจากยูทูป และเริ่มวางจำหน่ายออนไลน์ในราคาด้ามละ 2,100บาท ซึ่งนักสะสมปากกาชาวต่างชาติซื้อไป

ปัจจุบันปากกาหมึกซึมฟอสฟอร์ได้รับความนิยมอย่างมากนายมาโนชประดิษฐ์ปากกาแต่ละด้ามเพียงคนเดียว เขาใช้เวลาประมาณ 1-4วันในการทำปากกาหมึกซึมหนึ่งด้ามลูกค้าที่สั่งซื้อออนไลน์จะต้องใช้เวลารอปากกานานเกือบสองปี หรือประมาณ 95 สัปดาห์แต่ยอดสั่งซื่อปากกาของก็มีเป็นจำนวนมากทั้งเว็บไซต์อีเบย์และแอมาซอน ลูกค้าต่างบอกว่าเขายินดีที่จะรอเพราะสินค้าที่ได้รับนั้นมีคุณค่าทางจิตใจและไม่เหมือนใคร

ปากกาหมึกซึมทำด้วยมือของอินเดียกำลังได้รับความนิยมทั่วโลก

อินเดียกำลังเป็นตลาดใหญ่สำหรับปากกาหมึกซึมที่เป็นงานศิลปะปากกาทุกด้ามประดิษฐ์ด้วยมือ ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ  การออกแบบ และรูปลักษณ์ ผู้ผลิตหลายคนนำยางธรรมชาติที่ปรับสภาพให้มีความแข็งแบบEbonite เป็นความแข็งคล้ายหนัง ซึ่งผู้ผลิตปากกาสมัยใหม่หลายรายไม่นิยมใช้ มีการใช้อะคริลิกคุณภาพสูงซึ่งเป็นพลาสติกใสที่ทนต่อการแตกละเอียดปากการูปทรงเพรียวบางทำจากไทเทเนียมทองเหลืองทองแดงเหล็กอลูมิเนียม และไม้เช่นไม้จันทน์หอมมีปากกาที่ทำจากเขาควายด้วย

มีการวาดลายด้วยมือที่เป็นงานศิลปะท้องถิ่นมีสีสันแปลกตาและไม่ซ้ำใครผู้ผลิตหลายรายให้ความสำคัญกับการนำเข้าไส้ปากกาและระบบเติมหมึกอย่างมากเน้นให้มีอายุการใช้งานสูงสุดเป็นสำคัญ สินค้าทุกชิ้นจำหน่ายทางออนไลน์และมีลูกค้าจำนวนมากในต่างประเทศ

กลุ่มลูกค้าปากกาหมึกซึมนั้นส่วนใหญ่เป็นผู้ชายนักสะสมชื่อนายยูซุฟ มานซอร์  มีปากกาหมึกซึมมากกว่า7,000 ด้ามเขากล่าวว่า "ปากกาหมึกซึมที่ทำขึ้นจากช่างฝีมือที่ยอดเยี่ยมนั้นเมื่อคุณพกพาไว้ในกระเป๋าเปรียบเสมือนเป็นเครื่องประดับสุดหรูของผู้ชาย ที่ใช้เป็นตัวเริ่มต้นของบทสนทนาทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี"

ปากกาหมึกซึมทำด้วยมือของอินเดียกำลังได้รับความนิยมทั่วโลก

ผู้ผลิตปากกาหมึกซึมของอินเดียเป็นกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็กส่วนใหญ่เป็นผู้เกษียณอายุ เป็นผู้ที่เลิกทำอาชีพอื่นๆ หลายคนหันมาผลิตปากกาเป็นงานอดิเรก เช่นเจ้าของบริษัทปากกา ASAPens สามารถผลิตปากกาได้ 350 ด้ามต่อเดือน จำหน่ายราคาด้ามละ400 บาท สามารถสร้างรายได้สูงถึงเดือนละหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท

นายพิชญ สุดบรรทัด คือเจ้าของผลงานหนังสือ "Bangkok Wakes to Rain" สะสมปากกามากกว่าหกด้าม กล่าวกับสำนักข่าวบีบีซีว่า "ปากกาแต่ละด้ามมีความเป็นของตัวเองปากกาหมึกซึมของอินเดียนั้นเชื่อถือได้ และผลิตขึ้นเพื่อรองรับหมึกจำนวนมาก เขาใช้ปากกาหมึกซึมที่มาผลิตจากบริษัทยักษ์ใหญ่หลายประเทศทั้งเยอรมัน ญี่ปุ่น และอิตาลี แต่ปากกาเชิงพาณิชย์เหล่านั้นไม่คู่ควรกับการสะสม"


logoline