svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

สาวใต้ร่อนทองสู้โควิด-19

31 ธันวาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สำนักข่างรอยเตอร์ประโคมข่าว ธุรกิจร่อนทองในแม่น้ำสายบุรี อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาสของสาวไทย สามารถช่วยวิกฤติเศรษฐกิจของชาวบ้าน สร้างรายได้ในสถานการณ์โควิด-19

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานข่าวว่าท่ามกลางภาวะหดตัวทางเศรษฐกิจของไทย โดยธนาคารโลกคาดการณ์ว่าจะหดตัวถึงร้อยละ 6.6  ในปีนี้ธุรกิจร่อนทองของแม่น้ำสายบุรีสามารถช่วยวิกฤติเศรษฐกิจของชาวบ้านในสถานการณ์โควิด-19

ตำบลภูเขาทองจัดตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2523 ปัจจุบันมี 8 หมู่บ้านเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอสุคิรินในอดีตช่วงก่อนปี พ.ศ. 2474 ชาวฝรั่งเศสได้เข้ามารับสัมปทานทำเหมืองแร่ทองคำบริเวณภูเขาโต๊ะโมะ(เดิมเรียกภูเขาลีซอ) มีคนจากพื้นที่ต่างๆอพยพเข้ามาทำเหมืองเป็นจำนวนมาก

 

สาวใต้ร่อนทองสู้โควิด-19

ต่อมาได้เกิดสงครามเอเชียมหาบูรพาขึ้นชาวฝรั่งเศสกลับประเทศ รัฐบาลไทยได้ดำเนินการทำเหมืองต่ออีกประมาณปีกว่าๆ ก็เกิดเหตุการณ์ฉ้อราษฎร์บังหลวง ปล้นสะดมทองคำ และเหตุการณ์ความไม่สงบ ต่อมาจึงล้มเลิกกิจการเหมืองทองคำราษฎรที่อพยพมาก็อพยพกลับถิ่นฐานเดิม ภายหลังรัฐบาลได้จัดตั้งนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้จังหวัดนราธิวาสขึ้น เพื่ออพยพราษฎรที่มีฐานะยากจนไม่มีที่ดินทำกินจากถิ่นต่างๆ เข้ามาอยู่อาศัย

ปัจจุบันบ้านภูเขาทองได้ยกเลิกสัมปทานไปแล้วแต่ความอุดมสมบูรณ์ของแร่ทองคำยังคงอยู่ ชาวบ้านส่วนหนึ่งของที่นี่ยังคงไว้ซึ่งการร่อนแร่ทองคำในลำน้ำตามวิถีแห่งภูมิปัญญาพื้นบ้าน การ "ร่อนทอง" ที่บ้านภูเขาทอง มีการนำอุปกรณ์ร่อนทองที่ชาวบ้านที่นี่เรียกกันว่า"ชะเลียง" หรือ "เลียง" อุปกรณ์ร่อนทองรูปร่างคล้ายกระทะทำจากไม้หลุมพอไปยืนในตำแหน่งน้ำไหลที่น่าจะมีแร่ทองคำลงไปร่อนแร่ แล้วร่อนไปเป็นรอบๆไม่นานก็ได้ทองคำขึ้นมาให้รวบรวมนำไปขาย

สาวใต้ร่อนทองสู้โควิด-19

การร่อนทองของที่นี้เรียกว่าเป็นงานฝีมือเพราะใช้เพียงจอบ หรือพลั่วไปตักดินตักทรายในแม่น้ำมาใส่บนเชลียงจากนั้นก็ร่อนไปเรื่อย ๆ จนดินหมดเชลียง ซึ่งสายตาต้องไวเป็นพิเศษเนื่องจากทองคำจะมีลักษณะเล็กมากทับซ้อนอยู่ในชั้นดินทำซ้ำๆไปอย่างนั้นจนกว่าจะได้ทองคำสมใจ "เหมืองทองคำโต๊ะโมะ" แห่งนี้เป็นเหมืองทองคำที่เก่าแก่มากสร้างรายได้ให้กับและพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญรุ่งเรืองมากในอดีตและเป็นสถานที่ที่ส่งอิทธิพลต่อนักเขียนชื่อดังอย่าง พนมเทียนในการเขียนนิยายชื่อดัง

ปัจจุบันนี้ตำบลภูเขาทองเปิดให้เป็นชุมชนท่องเที่ยว โดยมีชาวบ้านในชุมชนเป็นผู้นำเที่ยวมีกิจกรรมการทดลองร่อนทองให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งหากลงไปร่อนแล้วไม่ได้ทองคำติดมือมาสามารถสอบถามจากชาวบ้านแถวนั้นเพื่อขอซื้อทองคำกลับไปเป็นที่ระลึกก็ได้โดยราคาจำหน่ายขึ้นอยู่กับการตกลงกันของทั้ง 2 ฝ่าย สนนราคาอยู่ประมาณ500-1,000 บาท

 

สาวใต้ร่อนทองสู้โควิด-19

logoline