svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

"ไชยันต์" แฉนักวิชาการป้ายสี ร. 9 ป้อนชุดข้อมูลผิดพลาดให้เยาวชน พบ 30 ประเด็นที่เป็นเท็จ!

30 ธันวาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รายการเรื่องลับมาก ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 14.20 15.00 น. ทางเนชั่น ทีวี ช่อง 22 วันนี้ (30 ธ.ค.) "ดร.เสรี วงษ์มณฑา" สัมภาษณ์ "ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร" ศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรณีความลับหนังสือ "ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่้อ" หนังสือเล่มนี้พูดถึงอะไร และอะไรไม่น่าจะเป็นเรื่องจริง

หนังสือเล่มนี้ แก่นของเรื่องคืออะไร เพราะอ่านตามข่าวเห็นบอกว่าเป็นหนังสือที่ใส่ร้าย รัชกาลที่ 7?
"หลังจากที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 สวรรคตปี 59 ก็อยากทำวิจัยว่าพระองค์ท่านเผชิญอะไรในช่วง 70 ปีครองราชย์ ประมาณ 2489-2559 หลังจากที่ให้ทีมวิจัยเข้าไปค้นคว้าวรรณกรรม ก็เจองานของอ.ณัฐพล ที่ปรากฎในขอฝันใฝ่ การเริ่มต้นพบข้อผิดพลาด เราพบจากงานที่อ.ณัฐพลเขาเอามาเผยแพร่หลังจากเขาเขียนวิทยานิพนธ์เสร็จแล้ว"

"ไชยันต์" แฉนักวิชาการป้ายสี ร. 9 ป้อนชุดข้อมูลผิดพลาดให้เยาวชน พบ 30 ประเด็นที่เป็นเท็จ!


เห็นว่ากล่าวหารัชกาลที่ 7 ตรงๆ ว่าสนับสนุนกบฎบวรเดช?
"ก็เป็นที่รับทราบกันว่า มีนักประวัติศาสตร์กลุ่มนึง เขาพยายามชี้ให้เห็นว่ากบฎบวรเดช พยายามยึดอำนาจคืนเพื่อกลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์"
หมายความว่าจะไม่เป็นประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข กลับไปสู่สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถ้าตีความแบบนั้นก็เป็นการกล่าวหารัชกาลที่ 7 ที่ชัดเจนมาก?
"คืออย่าลืมว่าบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในกบฎบวรเดช คือพระองค์เจ้าบวรเดช การกล่าวหาร.7 เชื่อมโยงเรื่องเกี่ยวกับการให้การสนับสนุน ซึ่งตรงนี้หลักฐานมีการปฏิเสธชัดเจนไปแล้ว ผมจะไม่ไปแตะประเด็นนั้น เราจำกัดอยู่แค่ในช่วงร. 9"
อาจารย์เจอตั้ง 30 ประเด็นที่เป็นเท็จ ไล่ให้ฟังหน่อยได้มั้ย?
"อย่างในหนังสือขอฝันใฝ่ฯ หน้า 124 เขาก็บอกว่ามีรายงานสถานทูตสหรัฐประจำกรุงเทพฯ ระบุข่าวความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างสถาบันกษัตริย์กับรัฐบาลในขณะนั้น สถาบันกษัตริย์ ขณะนั้นร.9 ทรงศึกษาอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ ดังนั้นต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตำแหน่งขณะนั้นคือกรมขุนชัยนาท รัฐบาลขณะนั้นคือจอมพลป.พิบูลสงคราม เรื่องที่กล่าวคือช่วง 2493 ในรายงานสถานทูตสหรัฐประจำกรุงเทพฯ ได้ระบุความขัดแย้งระหว่างสถาบันกษัตริย์กับรัฐบาลขณะนั้นว่าผู้สำเร็จราชการได้เสด็จมานั่งเป็นประธานประชุมคณะรัฐมนตรี ประหนึ่งกษัตริย์เป็นประธานการประชุมคณะเสนาบดีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อันนี้อาจเชื่อมโยงก็ได้ว่านักประวัติศาสตร์กลุ่มนึงเขาพยายามตีความว่าหลัง 2475 เขาตีความกบฎบวรเดชว่าพยายามกลับสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พอปี 2493 อ.ณัฐพลก็บอกว่ามีรายงานสถานทูตว่าผู้สำเร็จราชการเข้าไปนั่งประทับในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ทีนี้ลองคิดดู คณะรัฐมนตรีก็เป็นฝ่ายบริหาร การเปลี่ยนแปลงการปกครอง กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญต้องอยู่เหนือสิ่งเหล่านี้ ถ้ามานั่งประทับเป็นประธาน ก็เหมือนกษัตริย์ประชุมเสนาบดี ข้อความนี้เป็นข้อความที่ทีมวิจัยผม พอผู้ช่วยส่งมาให้ดูเราก็สงสัย เพราะมันไม่เคยได้ยิน เราก็ดูข้อความดังกล่าว ถ้าเป็นนิยายก็คงช่างมัน แต่อันนี้เป็นหนังสือที่มีฟุตโน้ต มีเชิงอรรถ เราต้องรู้ว่าการดูการอ่านข้อความในหนังสือวิชาการไม่เพียงพอ สมัยนี้เด็กๆ เขาอ่านก็ดีแล้ว เขาเชื่อเพราะมีฟุตโน้ต มีการอ้างอิง พออ้างแล้วโห เป็นรายงานสถานทูต"

"ไชยันต์" แฉนักวิชาการป้ายสี ร. 9 ป้อนชุดข้อมูลผิดพลาดให้เยาวชน พบ 30 ประเด็นที่เป็นเท็จ!

แล้วความจริงคืออะไร?
"พอเราไปเช็กเชิงอรรถแล้ว ซึ่งเช็กยากเหมือนกันนะ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ พอเช็กแล้วไม่มีข้อความ แต่เขาเอาใส่เข้ามา"
จริงๆ มีการเข้าไปนั่งมั้ย?
"เราไม่ทราบครับ ในฐานะนักวิชาการ เราไม่ไปฟันธงว่ากษัตริย์ไม่แทรกแซงเลยหรือแทรกแซง การเขียนงานออกมาว่าแทรกแซงเข้าไปนั่งประทับ ก็ต้องมีหลักฐานอ้างอิง แต่ทีนี้พอเราค้นคว้าแล้วมันไม่มี"
ขออีกประเด็น ที่เห็นว่าไม่ใช่แน่ๆ?
"เล่มนี้ขอเน้นไปที่ผู้สำเร็จราชการไปนั่งประทับในครม. อีกประเด็นนึงที่คิดว่าเป็นเรื่องร้ายแรง เขาเขียนว่าสถานทูตสหรัฐรายงานว่าไม่เพียงแต่สถาบันกษัตริย์ เริ่มต้นการท้าทายอำนาจของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามเท่านั้น แต่กลุ่มรอยัลลิสต์ ยังมีแผนสร้างความนิยมในพระมหากษัตริย์เพื่อให้เกิดในหมู่ประชาชน เพื่อท้าทายอำนาจรัฐบาลจอมพล ป. อีกทางนึงด้วย การให้จัดโครงการให้พระองค์เยี่ยมประชาชนในชนบท"แสดงว่าการที่ในหลวงเสด็จเยี่ยมประชาชนในชนบท ถ้าภาษาสมัยนี้คือเป็นแผนไอโอเหรอ ที่ทำให้ประชาชนนิยมกษัตริย์ ไม่ใช่การประกอบพระราชกรณียกิจที่สมควรเหรอ?
"ในนี้เขาบอกว่าสถานทูตสหรัฐรายงานว่ารอยัลลิสต์พยายามให้พระองค์ เสด็จเยี่ยมประชาชนในชนบท เพราะต้องการจะสร้างความนิยม ทีนี้ก็ต้องดูอ้างอิงอีก อ้างอิงเรื่องรายงานสถานทูตสหรัฐที่ต้องไปค้นคว้า ปรากฎว่าในรายงานมีการสัมภาษณ์อาจารย์หม่อมคึกฤทธิ์ ว่าที่่ท่านไปที่ผ่านมา ท่านไม่ได้ไปหาสิ่งเหล่านี้ แต่ทำไมคนเขียนมาเขียนบอกว่ากลุ่มรอยัลลิสต์มีแผนการจัดให้พระองค์ไปหาความนิยม โดยการเสด็จเยี่ยมประชาชนในชนบท นี่แหละประเด็นพอนักวิชาการเขาเขียน และมีการอ้างอิง เพียงแต่การอ้างอิงคนธรรมดาเข้าไม่ถึง คนก็จะเชื่อ โดยเฉพาะเป็นภาษาอังกฤษหนึ่ง การเข้าถึงรายงานสถานทูตก็ยากเย็นแสนเข็น ฉะนั้นในแง่นึงเราจะไปโทษเด็กไม่ได้ เพราะเด็กเขาอ่านและเชื่อตามนั้น แล้วมีกระแสนักวิชาการที่มาสนับสนุนการเขียนตรงนี้ มันก็อาจเป็นไปได้ที่ฝ่ายรอยัลลิสต์สนับสนุนให้พระมหากษัตริย์ลงชนบทเพื่อหาคะแนนนิยม เป็นไปได้ทั้งนั้น เพียงแต่ว่าเมื่อเขียนแล้วอ้างหลักฐาน มันไม่มีไงครับ"
ไม่น่าเป็นความผิดถึงขนาดเอามาเขียนเพื่อให้ส่อนัยยะแบบนี้ จนเด็กๆ พูดตลอดเวลาว่าเราโดนปั่นหัวมาตั้งแต่อายุน้อยๆ เขาพูดว่าพวกเราดักดานและงมงาย สิ่งที่อาจารย์ทำตอนนี้ต้องการอะไร?
"หลังจากพบว่ามีข้อความที่เราสงสัย เราไปตรวจสอบเชิงอรรถแล้ว ก็พบว่าหนังสือขอฝันใฝ่ฯ มีข้อความไม่ถูกต้องและมีวิทยานิพนธ์อีกเล่มนึงที่เขาอ้างข้อความที่กษัตริย์ไปประชุมคณะรัฐมนตรี มันก็ไปเผยแพร่กันใหญ่ ลองคิดดูถ้านักศึกษาอ่านเจอเล่มนี้แล้วไปเจอวิทยานิพนธ์อีกเล่มนึง มันก็น่าจะเป็นจริงนะ ยิ่งมีหนังสือต่างเล่ม ต่างคนเขียน แต่พูดประเด็นเดียวกัน ก็มีความน่าเชื่อถือ ทีนี้ผมก็ต้องแจ้งไปทางจุฬาฯ กรรมการวิทยานิพนธ์ ทุกอย่างก็จบตรงที่จุฬาฯ สั่งปกปิดวิทยานิพนธ์ที่เป็นอิเล็กทรอนิก และขอให้ผู้เขียนไปแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดในหนังสือเล่มนี้ซะ สิ่งที่คนเขาอ้างอิงไปเยอะแยะ ให้ตัวอ.ณัฐพลไปแก้"

"ไชยันต์" แฉนักวิชาการป้ายสี ร. 9 ป้อนชุดข้อมูลผิดพลาดให้เยาวชน พบ 30 ประเด็นที่เป็นเท็จ!


แล้วเกิดอะไรขึ้น?
"เขาไม่แก้ไงครับ ถึงจุดนึงผมคิดว่าข้อความที่บอกว่ากษัตริย์แทรกแซงการเมือง ถึงเป็นข้อความที่เขาพูดถึงต้นสมัยรัชกาลที่ 9 แต่อย่าลืมว่าการที่เด็กๆ ออกมาทุกวันนี้เพราะมองว่าสถาบันกษัตริย์ไม่อยู่ในทำนองคลองธรรม พยายามแทรกแซงการเมือง พยายามสร้างความนิยมเพื่อเอาความนิยมนั้นเป็นฐานในการแทรกแซงการเมือง การสร้างข้อมูลเท็จทางวิชาการที่ดูน่าเชื่อถือมาก และนำไปสู่การขัดแย้งความเข้าใจผิดทางการเมือง โดยเฉพาะเกี่ยวกับระบอบการปกครองและสถาบันทางการเมือง ผมคิดว่าต้องเปิดเผยสู่สาธารณะเพื่อให้รับรู้ว่าความจริงคืออะไร"
ข้อกล่าวหาเหมือนกลับไปสู่สมบูรณาญาสิทธิราชย์ เขาถึงมีคำพูดว่า 2475 ยังไม่สมบูรณ์ เราจำเป็นต้องมาต่อ 2475 ทำให้หลุดพ้นจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างแท้จริง มันเป็นการกล่าวหาที่ร้ายแรง และส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กๆ ที่ชูสามนิ้ว ถ้าเขาไม่แก้ไขตรงนี้จะดำเนินการยังไง?
"ผมได้ทำหน้าที่ของผมแล้ว ในฐานะมาเปิดความจริงให้กับสาธารณะ แล้วในฐานะนักวิชาการเมื่อเห็นอะไรผิดพลาดทางวิชาการ แล้วทางจุฬาฯ ยังไม่ทำอะไร ตัวนักวิชาการอย่างอ.ณัฐพล ควรมีจริยธรรมทางวิชาการ เมื่อไม่มีตรงนี้ผมก็ต้องเปิดเผย อย่างน้อยสิ่งนี้ผู้ปกครองที่ดูอยู่รู้แล้วว่าเด็กของเรา กำลังเผชิญการยัดเยียดข้อมูลที่ผิดพลาดอย่างเป็นระบบ ฉะนั้นคนที่ชมรายการอาจไปบอกลูกหลาน ให้ลูกไปดูเชิงอรรถมั้ย ถ้าไม่มีเอามาถามอาจารย์ก็ได้"

"ไชยันต์" แฉนักวิชาการป้ายสี ร. 9 ป้อนชุดข้อมูลผิดพลาดให้เยาวชน พบ 30 ประเด็นที่เป็นเท็จ!


หนังสือเล่มนี้ที่พิมพ์ออกมา ใครพิมพ์?
"สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน"
ก็น่าจะรู้นัยยะ คิดว่ามีความเกี่ยวพันกันมั้ย?
"ฟ้าเดียวกันเขาก็มีจุดยืนของเขา ที่ต้องการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ เรื่องเกี่ยวกับมาตรา 112 เกี่ยวกับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ก็เหมือนกับพูดในสิ่งที่ไม่ได้พูดกัน คนก็สนใจอ่าน แต่โดยรวมในช่วงแรกเขาก็เขียนงานน่าสนใจเวลาเผยแพร่ออกมา แต่ผมจะไม่ไปพูดรวมทั้งหมด ผมจะพูดสิ่งที่ผมเจอและผมเป็นห่วง และเชื่อมโยงกับวิกฤตการเมืองและความวุ่นวายในปัจจุบันเยอะมาก"

สิ่งที่อาจารย์เป็นห่วง?
"หนึ่งคือทุกวันนี้เยาวชนก็โดนมาตรา 112 กันเยอะ พวกแกนนำ ผมยังคิดว่าเขาบริสุทธิ์ใจ ลูกศิษย์ผมก็อยู่ในนั้นเยอะ เช่นทัตเทพ ฟอร์ด ก็เป็นนักเรียนที่เกียรตินิยมอันดับหนึ่งรัฐศาสตร์จุฬาฯ ผมยังรู้สึกว่าเขาไปขับเคลื่อน ต่อต้าน ก็เพราะได้รับข้อมูลที่ผิดพลาดจากนักวิชาการ"ประเด็นไหนบ้างที่คิดว่าทำให้เด็กพวกนี้เป็นปฏิปักษ์กับสถาบันพระมหากษัตริย์?
"มันก็เริ่มตั้งแต่สมัยสมศักดิ์ เจียม เขาเกียรตนิยมอันดับหนึ่งประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ แกก็หยิบยก 6 ต.ค. บ้าง 2519 กรณีสวรรคต กรณี 6 ต.ค. ก็พูดทำนองว่าการสังหารโหดที่สนามหลวง คล้ายพระมหากษัตริย์อยู่เบื้องหลัง นักวิชาการเวลาจะทำอะไรต้องมีหลักฐาน ถ้าไม่มีหลักฐานต้องเขียนชัดเจนว่าเป็นการตีความเท่าที่หลักฐานจะเอื้อให้ตีความ 14 ต.ค. 2516 ที่เคยถูกมองว่าพระองค์ท่านช่วยนิสิต นักศึกษา ก็มาตีความใหม่ว่าพระองค์รับรู้อยู่เบื้องหลังมีการวางแผน"

"ไชยันต์" แฉนักวิชาการป้ายสี ร. 9 ป้อนชุดข้อมูลผิดพลาดให้เยาวชน พบ 30 ประเด็นที่เป็นเท็จ!


ตอนนั้นที่รู้แทบจะฆ่ากันตาย แต่พระองค์ทำให้ยุติลงได้ ถ้าพระองค์ไม่ช่วยอาจรุนแรงกว่านี้?
"ครับ ก็เหมือนพฤษภา ปี 35 แต่นักวิชาการเขาก็ไปค้นว่ามีการรายงานสถานทูตอะไรต่างๆ ว่าภาพที่เห็นเป็นภาพภายนอก มันมีเบื้องหลัง นี่เป็นสิ่งที่นักวิชาการหรือนักประวัติศาสตร์หยิบยกขึ้นมาตีความหรือบิดเบือนก็ดี นำไปสู่การที่คนรุ่นใหม่ อาจอายุ 20 กว่าปีตอนนี้ ซึ่งไม่มีประสบการณ์โดยตรง ย่อมต้องรับรู้ข้อมูลผ่านข่าวสาร เขาก็ได้ข้อมูลมาเต็มๆ เลยนะ ว่ารัชกาลที่ 9 ขึ้นครองราชย์ 2489 ต้นรัชกาลก็มีการแทรกแซงแล้วล่ะ ช่วง 2500 ที่พระองค์เสด็จชนบทก็เป็นแผนการต้องการหาความนิยม เป็นเรื่องการทะยานอยากต่ออำนาจที่จะกลับมาเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ก็ไล่มาเรื่อย"
เป็นการป้ายสีชัดเจน ป้ายสีสถาบันว่าเกี่ยวข้องกับทั้งหมดเหรอ?
"เขาพยายามบอกว่าเหตุการณ์ที่เห็นไม่ว่า 14 ต.ค. หรือพฤษภาทมิฬ นักวิชาการฝั่งนึงได้สร้างภาพอันสวยงาม เขากล่าวหาว่าพยายามสร้างอีกมุมนึงขึ้นมา เขาเลยบอกว่าใครเชื่อข้อมูลแบบอาจารย์ ถือว่าดักดาน ทีนี้ในฐานะผมเป็นนักวิชาการที่ศึกษารัฐศาสตร์ ผมก็บอกว่า เอาล่ะ คุณจะมีอีกมุมก็ไม่ว่า แต่คุณต้องมีหลักฐาน ไม่ใช่ไปเขียนโดยไม่มีหลักฐาน หรือเขียนโดยพยายามตีความ ถ้าตีความต้องบอกว่าเป็นความเห็นส่วนตัวนะ แค่นั้่นแหละครับ"
ทัศนคติเด็กที่เป็นปฏิปักษ์มาจากเนื้อหาตรงนี้ และนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ที่ออกมาพูดให้ข้อมูลที่ไม่มีหลักฐานยืนยัน?
"หลักฐานไม่มีเลยก็มี ที่จะพูดฟันธงแบบของเขาก็ไม่ได้"

"ไชยันต์" แฉนักวิชาการป้ายสี ร. 9 ป้อนชุดข้อมูลผิดพลาดให้เยาวชน พบ 30 ประเด็นที่เป็นเท็จ!


อยากแนะนำผู้ปกครองที่ได้ดูรายการยังไง?
"ผู้ปกครองคงทราบแล้วว่าสาเหตุที่ทำให้บุตรหลานของท่านมีทัศนคติแบบนี้ก็มาจากงานวิชาการ ถึงแม้ตัวผู้ปกครองบอกว่าจะไปอ่านหนังสือสู้เด็กไม่ไหว แต่เรารู้แล้ว เรื่องสำคัญอยู่ที่เชิงอรรถ การอ้างอิง ขอให้ผู้ปกครองบอกลูกหลานว่ากลับไปดูเชิงอรรถมั้ย ถ้าหาไม่ได้ก็อย่าเพิ่งเชื่อได้มั้ย"

logoline