svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ไร้ทางออก! ปัญหาความรุนแรงในโรงพยาบาล

30 ธันวาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากประเด็นหนุ่มเมาคลั่งทำร้ายเจ้าหน้าที่และพยาบาล โรงพยาบาลเวียงแก่น จะเห็นได้ว่า ปัญหาความรุนแรงในโรงพยาบาลที่เกิดขึ้น เหมือนกับการฉายหนังเรื่องเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก แม้บุคลากรทางการแพทย์จะเคยออกมาเรียกร้องกันจนเหนื่อย เพื่อขอให้มีมาตรการป้องกันความปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่ แต่สุดท้ายชีวิตการทำงานของพวกเขาและเธอ ก็ไม่ต่างอะไรกับการถูกแขวนไว้บนเส้นด้ายอยู่ดี

เหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่โรงพยาบาลจนทำให้โรงพยาบาล ซึ่งควรเป็น "พื้นที่ปลอดภัย" ต้องกลายเป็น "พื้นที่เสี่ยงภัย" มีเพิ่มขึ้นให้เห็นเป็นข่าวดังอยู่ตลอด "ข่าวข้นคนข่าว" จะพาไปย้อนดูเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสถานพยาบาลว่าเพียงช่วงเวลาไม่กี่ปี เกิดเหตุการณ์รุนแรงแบบนี้ขึ้นมากี่ครั้งแล้ว

เราจะแยกลักษณะเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นออกเป็น2 ลักษณะ คือ ประเภทแรก เป็นความรุนแรงที่เกิดกับบุคลากรทางการแพทย์โดยตรง

คดีแรก ย้อนกลับไปเมื่อปี 2555 คือ เหตุการณ์ที่คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงศีรษะบุรุษพยาบาลโรงพยาบาลเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว เสียชีวิตคาห้องฉุกเฉินเพราะไม่พอใจที่พาภรรยามารักษา แต่บุรุษพยาบาลถามมาก ไม่ยอมเริ่มรักษาจึงชักปืนจ่อยิงจนเสียชีวิต


คดีต่อมาเพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคมที่ผ่านมา คือ คดียิงผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรีเสียชีวิตคาโต๊ะทำงานภายในคลินิกส่วนตัว  โดยคนร้ายได้ปลอมตัวเป็นคนไข้เข้ามารักษาตัวที่คลินิกแห่งนี้ ซึ่งหลังจากตรวจร่างกายเสร็จได้อ้างว่า จะไปหยิบเงินที่รถยนต์ พอเดินกลับมาในคลินิก ได้ใช้อาวุธปืนยิงคุณหมอท่านนี้เสียชีวิตสาเหตุคาดว่า อาจจะมาจากประเด็นชู้สาว เพราะคนร้ายหวาดระแวงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณหมอและภรรยาตัวเองที่ทำงานในคลินิกแห่งนี้

และล่าสุดก็คือ กรณีที่หนุ่มเมาคลั่งใช้เท้าถีบทำร้ายเจ้าหน้าที่และพยาบาล พร้อมทำลายข้าวของในโรงพยาบาลเวียงแก่นจนเสียหายเนื่องจากไม่ยอมให้รักษา จากการประสบอุบัติรถจักรยานยนต์คว่ำ เนื่องจากเมาสุรา

 


สำหรับความรุนแรงประเภทถัดมา เป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่โรงพยาบาล โดยส่วนใหญ่มาจากสาเหตุการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่นที่มีเรื่องมีราวกันจากที่อื่นพอมีเพื่อนในกลุ่มบาดเจ็บก็นำตัวมารักษาที่โรงพยาบาลแต่กลุ่มคู่อริกลับตามมาเช็คบิลกันถึงที่โรงพยาบาล


คดีแรก เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เหตุการณ์ยกพวกตีกันในโรงพยาบาลสิริธร กรุงเทพมหานคร


ถัดมาในเดือนมีนาคม ปี 2559 เหตุบุกทำร้ายคู่อริ โรงพยาบาลราษฎร์บูรณะกรุงเทพมหานครเช่นกัน และเมื่อปี 62 ปี ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ กลุ่มวัยรุ่นบุกทำร้ายคู่อริโรงพยาบาลกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี


ต่อมาเดือนเมษายน เหตุยกพวกตีกันในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลบางสะพานน้อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งในเดือนเดียวกัน เกิดเหตุบุกทำร้ายคู่อริที่โรงพยาบาลประทาย จังหวัดนครราชสีมา


ถัดมาเดือนพฤษภาคม เกิดเหตุรุนแรงขึ้นถึง 3 เหตุการณ์ คือที่โรงพยาบาลเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี และโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทาจังหวัดยโสธร และสุดท้ายเกิดเหตุที่โรงพยาบาลอ่างทอง


เหตุความรุนแรงในช่วงหลังพบว่า เหตุทะเลาะวิวาทในสถานพยาบาลโดยเฉพาะหน้าห้องฉุกเฉิน มีจำนวนพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก


แม้กระทรวงสาธารณสุขจะได้ออกมาตรการ 7 ข้อสำหรับป้องกันเหตุรุนแรงในโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นการให้เพิ่ม "ประตูนิรภัย" แบบล็อคได้ทันที และสื่อสารญาติผู้ป่วยเป็นระยะเพื่อลดความกังวล แต่ที่น่าเป็นห่วงกว่านั้น ก็คือความเสียหายที่โรงพยาบาลต้องแบกรับจากพวกแก๊งอันธพาล ล้วนเป็นภาษีของประชาชน ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายลงโทษให้เด็ดขาด


"ข่าวข้นคนข่าว" ได้รับข้อมูลจากสหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย ซึ่งระบุว่า ปัญหาความรุนแรงในโรงพยาบาลที่เกิดขึ้นมาจากผู้ที่ก่อเหตุความรุนแรง 5 กลุ่ม คือ 


1.คนร้ายที่เข้ามาปล้น เข้ามาทำร้าย  2.ผู้ป่วย  3.อดีตลูกจ้างของโรงพยาบาลที่ถูกให้ออก ซึ่งมีความไม่พึงพอใจกับผู้บริหาร  4.กลุ่มญาติของบุคลากรในโรงพยาบาล ส่วนใหญ่จะเป็นความขัดแย้งเรื่องส่วนตัว และกลุ่มสุดท้าย กลุ่มที่ 5 ก็คือ ญาติผู้ป่วย

logoline