svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

ถก "โฟก้ส" เหมาะ-ไม่เหมาะ อนุกมธ. อีสปอร์ต

08 ธันวาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เรื่องลับมากถกประเด็นของคนบันเทิงชื่อดังอย่าง "กัส-โฟกัส จีระกุล"ที่ได้ขึ้นไปนั่งแท่น อนุกรรมาธิการศึกษาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมส์ และอีสปอร์ต ว่าที่จริงแล้วมีความเหมาะสม หรือไม่อย่างไร ขณะที่ "ผศ.วันวิชิต บุญโปร่ง" อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต และ "จิรัฎฐ์ ทองสุวรรณ์" ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล ถกถึงประเด็นนี้อย่างน่าสนใจ

 "ดร.เสรี วงษ์มณฑา"  สัมภาษณ์ "ผศ.วันวิชิต บุญโปร่ง" อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต และ "จิรัฎฐ์ ทองสุวรรณ์" ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล กรณีแต่งตั้ง "โฟกัส จิระกุล" เป็นอนุกรรมาธิการศึกษาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมและอีสปอร์ต
เหตุผลคืออะไร?
จิรัฎฐ์ : "ในอนุกรรมาธิการศึกษาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมส์ และอีสปอร์ต นี่คือชื่อเต็ม ต้องมีคนทำงานหลากหลายในอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งน้องโฟกัสคือหนึ่งคนที่ทำสตรีมเมอร์ เล่นเกม และให้คนมาติดตามเยอะๆ เขาเชี่ยวชาญเขาเป็นหนึ่งในสายงานที่เราขาด"
น้องโฟกัสบอกว่าเขาไม่มีความรู้มากพอ แต่พร้อมจะเรียนรู้ เลยมีคนตั้งคำถามว่างั้นเราเอาคนที่รู้แล้วเลยดีมั้ย?
จิรัฎฐ์ : "น้องเขาค่อนข้างประหม่าในการเข้ามาในสภาและเจอคนที่หลากหลาย แต่ละคนเป็นนักวิชาการ เป็นหมอ ผมคิดว่าน้องน่าจะประหม่าเสียความมั่นใจในตัวเองเลยพูดออกไปอย่างนั้น จริงๆ เก่งในเรื่องที่น้องถนัด จริงๆ อนุกรรมาธิการเราตั้งขึ้นมาศึกษา หลักการคือเราตั้งมาโดยความไม่รู้ ดังนั้นกรรมาธิการต้องไม่รู้ที่สุดเพื่อที่จะได้เชิญคนเข้ามาให้ความรู้ มาถาม เพื่อได้ความรู้ทุกมิติ"
อาจารย์ว่าไง?
ผศ.วันวิชิต : "ผมมองสองขยัก ขยักแรกกรณีคุณโฟกัสถูกแต่งตั้งเพราะว่าด้วยความถูกคาดหวัง ด้วยภาพลักษณ์ ต่างๆ หรือความเชี่ยวชาญที่ตัวเองมี แล้วคิดว่าพอเข้าไปจะส่งเสริมภาพ เป็นข่าว หรือการติดตามออกไป แต่ต้องเข้าใจว่าการแต่งตั้งอนุกรรมาธิการ อดีตเราต้องทราบ ถ้ามีประสบการประชุมที่สภา จะเจอคนหลายประเภท คนประเภทแรกคือไม่มีความรู้เลยจริงๆ แต่ติดตามนักการเมือง และขอให้ไปแปะ บางทีเวลาประชุมทีไม่เคยใส่ความเห็นเลย แต่ตัวเองได้ประโยชนืจากการถูกคำสั่งแต่งตั้งเพื่อไปพิมพ์นามบัตร แล้วกลุ่มที่สองคือมีความรู้ความเชี่ยวชาญจริงๆ ไม่ได้หวังผลประโยชน์ใดๆ เอาความรู้ไปช่วยขับเคลื่อนจริงๆ เราจะเห็นลักษณะแบบนี้ สองกลุ่มคละๆ กัน กรณีคุณโฟกัสอาจด้วยต้องแบกความคาดหวัง แน่นอนเป้าหรือไม่โครโฟนทุกจุดจะจี้ไปที่เธอทุกครั้ง แล้วด้วยสถานการณ์ตอนนี้ที่น้องออกมาขับเคลื่อนทางการเมือง มันจึงกลายเป็นประเด็น ทำให้แตกเป็นสองด้าน"
น้องเขาแสดงความถ่อมตนว่าพร้อมเรียนรู้ แต่บังเอิญเจอคำปรารถที่น้องพูดออกมา ที่บอกว่านายกฯ ไม่ได้จบรัฐศาสตร์ ยังเป็นนายกฯ ได้ แล้วทำไมเขาจะเป็นไม่ได้ มองคำพูดตรงนี้ยังไง?
จิรัฎฐ์ : "ผมว่าก็เป็นความคิดของน้อง น้องมีสิทธิ์คิดแบบนั้น ผมว่าไม่มีใครเกิดมาเพื่อเป็นอนุกรรมาธิการ ไม่มีใครเกิดมาเพื่อเป็นนายกฯ เหมือนกัน ก็ไม่แปลกที่น้องจะพูดแบบนั้น แล้ววันนั้นน้องตั้งใจจริงๆ วันแรกที่น้องมา กระดาษเอสี่น้องจด 3-4 แผ่นเต็มเอี๊ยดหมดเลย และน้องตั้งใจฟังมาก"

ถก "โฟก้ส" เหมาะ-ไม่เหมาะ อนุกมธ. อีสปอร์ต



หลายคนอาจมองว่าทำไมต้องพูดถึงนายกฯ ไม่ได้จบรัฐศาสตร์?
ผศ.วันวิชิต : "ผมว่าเป็นความฉลาดในวัยคุณโฟกัสที่กล้าพูดแบบนี้ แต่ก็ไม่ได้บอกว่าถูกเสมอไป เราต้องมองว่าถ้าเรามองอย่างคนนอก พยายามอ่านคุณโฟกัส นัยยะแรกด้วยวัยกลุ่มการเคลื่อนไหวทางการเมือง เขาต้องการสร้างกุล่มมวลชนที่เติบโตไปพร้อมเขา ฐานแฟนคลับมวลชนอยู่ในวัยไล่เลี่ยกัน การเสนอความคิดหรือเข้าใจในวัยที่ทุกคนแสดงความรู้สึกไม่เข้าใจอะไร ขับเคลื่อนอะไร การพูดมันโดนมันปัง หรือสองต้องการพวกแมตซ์มาเก็ตติ้ง ไม่ได้มีอุดมการณ์ทางการเมือง แต่เลือกข้างเลือกฝ่ายให้ชัดเจนมากขึ้น อาจจะวงเล็บ 2.1 ก็ได้ว่าด้วยการพูดที่ไม่มีกลั่นกรอง ด้วยวุฒิภาวะ หรือกลอนพาไป พอไมค์จ่อก็เต็มที่ ผมก็เป็น ใครหลายคนก็เป็น พูดในสิ่งที่เราคันปากอยากพูด ก็เป็นไปได้ที่เป็นแบบนี้"
การที่โฟกัสเป็นดารา มีส่วนพิจารณามั้ย?
จิรัฎฐ์ : "สำหรับผมเป็นประโยชน์ต่อคณะอนุกรรมาธิการ เพราะทำให้เราอยู่ในสปอตไลท์ตลอดเวลา เราไม่ได้ส่งเสริมอุตสาหกรรมประเภทนี้ในวัฒนธรรมไทย เรามองว่ามันเป็นธุรกิจบาปด้วยซ้ำ ถ้าสังคมไม่จับตา ไม่เห็นว่าเราทำงานจริงจังและเป็นประโยชน์กับประเทศจริงๆ ผมว่าอุตสาหกรรมนี้เกิดยากมากครับ ถ้าไม่เปลี่ยนความคิดที่คน ฉะนั้นอันนี้ก็เป็นประโยชน์"
ผศ.วันวิชิต : "ผมว่าไม่ใช่กรณีนี้กรณีแรก ที่รัฐสภาโดยเฉพาะระดับชั้นอนุกรรมาธิการจะแต่งตั้งบุคคลที่มีชื่อเสียง จะเห็นว่าหลายๆ คน คุณบุ๋ม ปนัดดา หรือทนายรณณรงค์ ผมเข้าใจว่าบุคคลสาธารณะเหล่านี้ที่เข้าไปให้ความร่วมมือหรือเป็นผู้เชี่ยวชาญก็ดี สิ่งที่ได้ตามมาด้วยคือกระบอกเสียงจากสื่อโดยไม่ได้นัดหมาย พูดง่ายๆ โพสต์ว่ามีประชุมที่รัฐสภาตอน 9 โมงเช้า เชื่อมั้ยไม่ต้องใช้เงินสักบาท คนสนใจ และอนุกรรมาธิการก็รู้สึกว่าได้ยกระดับความสนใจไปในตัวด้วย"

ถก "โฟก้ส" เหมาะ-ไม่เหมาะ อนุกมธ. อีสปอร์ต

โฟกัสมีความรู้เรื่องอีสปอร์ต พร้อมเรียนรู้ ขณะเดียวกันในฐานะเป็นดาราก็ทำให้ได้พื้นที่ข่าว ทีนี้หลายคนมองว่าเป็นเพราะโฟกัสพูดต่อต้านรัฐบาลอยู่เสมอ การที่โฟกัสเข้ามาอย่างนี้จะมีผลต่อการทำงานมั้ย?
จิรัฎฐ์ : "คือตัวผมเองก็ไม่สนับสนุนรัฐบาล ต่อต้านรัฐบาลมาตลอด (หัวเราะ) ก็ไม่ได้มีผลอะไร เราศึกษาเฉยๆ ว่าทำไมไม่เติบโตสักที มูลค่ามหาศาลนะครับ เศรษฐกิจที่หมุนเวียนในบ้านเรา ปีที่แล้ว 2 หมื่น 5 พันล้าน ปีนี้คาดว่าจะ 3 หมื่นล้าน แต่ตกอยู่ประเทศเรา 1-2 เปอร์เซ็๋นต์ ซึ่งมันน้อยมาก เราก็ศึกษาว่าทำไมเศรษฐกิจโลกมันเติบโต แต่เรากลับตกลง มันสวนทางกันเราก็เลยต้องมาศึกษาว่ามันอยู่ที่ภาครัฐหรือเปล่า หรืออยู่ที่ดีเวอร์ล็อปเปอร์หรือเปล่าหรือติดที่สังคมวัฒนธรรมบ้านเรา เราเลยต้องศึกษาข้อมูล"
คนพูดว่าทำไมเลือกคนต่อต้านรัฐบาลมาอยู่ตรงนี้?
ผศ.วันวิชิต : "ผมคิดว่าถ้ามองอย่างเป็นกลาง ต้องการความหลากหลาย ต้องการคนอยากรู้จริงๆ ให้คำแนะนำได้ ต้องไม่ลืมว่าประเภทธุรกิจอีสปอร์ต มันเป็นเรื่องเจนนี้ ที่เขาเข้าไปคลุกวงในเยอะมาก ถ้าไม่ใช้วัยเดียวกับเขาหรือไช้เทคโนโลยีแบบดั้งเดิมจะไม่มีวันตามทัน อีกประเด็นคุณโฟกัสเข้ามา สิ่งที่้ต้องแบกเข้ามาแน่นอนจะถูกคนไม่ชอบ เห็นต่างจับผิดเสมอว่ารู้จริงแค่ไหน ที่พูดมานี่ใช่หรือไม่ใช่ รับรองเจอโจทย์นี้"
ทำงานยาก?
ผศ.วันวิชิต : "ถ้ายิ่งพูดออกมา ยิ่งเปิดช่อง เปิดการ์ดให้ติดตามว่ารู้จริงแค่ไหน ตรงนี้แหละที่เข้าใจว่าถ้าเธอเป็นผู้รู้จริง ไม่มีปัญหา"
โฟกัสไปรีวิวรัฐสภา ไม่ว่าจะเรื่องแยกลิฟต์ต่างๆ นานา มองบทบาทเขาที่ไปพูดเรื่องรัฐสภา งบประมาณตรงนั้นสูงมาก ตรงนั้นก็ไม่ดี อันนี้ก็แบ่งแยก มองยังไง?
จิรัฎฐ์ : "ก็เป็นสิทธิของน้อง จะมีผลกระทบความคิดเชิงบวกเชิงลบบ้างก็ยิ่งดี อย่างน้อยเราก็จะได้รู้ว่าทำไมเพดานโหว่ ทำไมลิฟต์ถึงขึ้นไม่ได้ ทำไมที่จอดรถหายาก มันก็เป็นเรื่องที่เราจะได้รู้กันทั่วไป"
การเป็นแบบนี้จะทำให้โฟกัสถูกจับผิดมากขึ้นมั้ย หนึ่งเขามองดูอยู่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล สองเข้าไปก็วิจารณ์รัฐสภา?
จิรัฎฐ์ : "ผมมองว่าน้องจิตใจแข็งแรงพอที่จะต้านทานเรื่องพวกนี้ได้ ด้วยความที่น้องเป็นดารา เขาเจอเรื่องพวกนี้บ่อยกว่าผมด้วยซ้ำ น้องน่าจะแข็งแรงพอที่จะสู้ได้"

ถก "โฟก้ส" เหมาะ-ไม่เหมาะ อนุกมธ. อีสปอร์ต


อาจารย์คิดยังไง?
ผศ.วันวิชิต : "ผมว่าพยายามใช้บทบาทความเป็นดาราพูดในสิ่งที่แตกต่างจากดาราท่านอื่นที่ไม่กล้านำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ แต่ก็เข้าใจว่าเรื่องวุฒิภาวะและการแสดงออก ถ้าจะใช้ภาษาแดกดันหรือเสียดสีก็ได้ ท้ายสุดที่เขาพูดมาคือสมบัติประเทศ คือรัฐสภา ท้ายที่สุดทุกคนก็ต้องใช้ร่วมกัน ถามว่าทราบมั้ยว่ารัฐสภาไม่เสร็จ มีปัญหา รู้มั้ยปัญหามีอะไรบ้าง แต่ต้องระวังว่าการแสดงออกอาจไม่อยู่ในเวลาอันควรที่ต้องมาบอกว่าตรงนี้เป็นอย่างนี้ หรือเรื่องลิฟต์ที่บอกว่าทำไมต้องแยก ผมก็เคยเข้าไปในรัฐสภา เวลาส.ส. สว.ประชุมมันเร่งด่วนมาก เป็นเรื่องการใช้เวลา ถ้าต้องแวะทุกชั้นมันก็มีปัญหานะ เป็นดราม่าได้ ผมเข้าใจว่าหน่วยงานราชการหลายๆ ที่ บางครั้งก็มีลิฟต์สำหรับผู้บังคับบัญชา เอกชนมีลิฟต์สำหรับซีอีโอ ประธานก็มี มีอยู่แล้วเพื่อความสะดวก เพื่อการประชุม ผมมองว่าเป็นเทคนิคมากกว่า อย่าไปรู้สึกว่าแบ่งแยกชนชั้น"
จิรัฎฐ์ : "อาจารย์พูดถูก เราประชุมกรรมาธิการหลายคณะ คน 4-5 คณะ วิ่งไปวิ่งมาก็แทบตายแล้ว โหวตจะไม่ทัน แต่ผมคิดว่าก็ไม่ใช่ความผิดที่จะตั้งคำถามแบบนั้น ตั้งคำถามได้ครับ ความเหลื่อมล้ำในสภามีมากกว่านั้นอีก มันเยอะกว่านั้นจริงๆ"
คิดว่าจะส่งผลกับความน่าเชื่อถือหรือคนมองโฟกัสอย่างไม่มีอคติมั้ย?
ผศ.วันวิชิต : "บทบาทที่ผ่านมาของโฟกัสเป็นความน่ารัก ความใส แล้ววันนึงมาสวมบทบาทในมิติหนึ่ง ก็จะมีคนสองกลุ่ม กลุ่มที่ผิดหวังกับบทบาท หรืออีกบทบาท ความคิดก้าวไกล ก็ว่ากันไป มีสองขยัก ตรงนี้พูดง่ายๆ ว่าต้องแบกรับไว้พอสมควร แต่คุณโฟกัสแสดงตัวตนชัดเจนมาก เนื่องจากเข้าสู่วงการบันเทิงในวัยเยาว์ ผ่านการบูลลี่้ ประสบการณ์จะหลอมให้แข็งแกร่ง แต่ทางนึงต้องระมัดระวังว่าหลอมไปแล้วจะก้าวร้าวหรือเปล่า อันนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนเป็นห่วง"
น้องโฟกัสตั้งคำถามนายกฯ หลายข้อ ข้อนึงคือเงินไปซื้ออันนั้นอันนี้ เอาตู้คอนเทรนเนอร์มา เอารถฉีดน้ำแรงดันสูงมา แล้วไม่มีงบประมาณในการไปช่วยเหลือคน ถึงขนาดต้องมาขอรับบริจาค?
ผศ.วันวิชิต : "ผมมองว่างบประมาณที่จะจัดเพื่้อใช้ฉุกเฉินติดขัดตามระบบราชการ การขอบริจาคจะเป็นการลดขั้นตอน แผนเผชิญเหตุที่ต้องดำเนินการให้เร็วที่สุด หลายครั้งหลายคราวทุกรัฐบาลเวลาประสบภัย น้ำท่วมต่างๆ ต้องพูดเป็นกลางแฟร์ๆ ถ้าเป็นเงินฉุกเฉินกระทรวงมหาดไทย รอไปเหอะชาวบ้าน แรงกดดันมันจะมากกว่ามหาศาล ผมเข้าใจว่าพูดได้ รัฐบาลเสียหายแน่นอน ได้อารมณ์คน ได้ความสะใจแน่นอนอยู่แล้ว เพื่อความคล่องตัว มันจะเอามาปนกันไม่ได้ แล้วเงินบริจาคจะไปเร็วกว่า ท้ายที่สุดผมเข้าใจว่าถ้าจะเล่นกระแสให้เป็นและไว ต้องเตรียมตัวเรื่องการค้นข้อมูลไว้บ้าง ถ้าคนที่เขารู้กว่าและเขาโจมตีได้ ตรงนี้จะน่าเป็นห่วง"

ถก "โฟก้ส" เหมาะ-ไม่เหมาะ อนุกมธ. อีสปอร์ต

จิรัฎฐ์ : "ผมคิดว่าสังคมไทยไม่ชอบการตั้งคำถาม เหมือนที่น้องตั้งคำถามเรื่องลิฟต์เมื่อสักครู่ จริงๆ น้องก็ตั้งคำถามทุกเรื่องอยู่แล้ว ถ้าเราบอกว่าหน่วยงานราชการมันช้า ก็ใช่ การบริจาคไปเร็วกว่า แต่เราจะอยู่ในประเทศที่หน่วยงานราชการช้ากว่าเงินบริจาคเหรอครับ เราจะไม่พัฒนาเหรอครับ ทำไมไม่เปลี่ยนคำถามให้มันกลายเป็นเรื่องสร้างสรรค์ขึ้น ถึงเวลาต้องใช้มันก็ต้องใช้ ถ้ามาใช้ทีหลังมันก็ไม่ทันเหตุการณ์"
โฟกัสบอกว่าแทนที่จะเอาทหารมาจัดการผู้ชุมนุม แบ่งทหารไปดูแลทางภาคใต้ได้มั้ย มองยังไง?
จิรัฎฐ์ : "ผมเห็นด้วย เพราะบุคลากรที่เป็นทหารเยอะมากจริงๆ จำนวนเยอะมหาศาล ขณะที่กรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย มีจำนวนแรงงานบุคลากรอยู่นิดเดียวเอง งบประมาณก็น้อยกว่า ควรให้หน่วยป้องกันสาธารณภัยเป็นการควบคุมทหาร ไม่ใช่ทหารไปแล้วทำเองทุกอย่าง"

ถก "โฟก้ส" เหมาะ-ไม่เหมาะ อนุกมธ. อีสปอร์ต



ผศ.วันวิชิต : "ต้องเข้าใจว่าในการชุมนุมในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ทหารเป็นแค่ผู้ช่วย ไม่ได้เป็นผู้ควบคุมหลัก ตร.คือเป็นฝ่ายจัดการรักษาความปลอดภัย ต้องแยกส่วน ไม่ใช่ผู้รับผิดชอบโดยตรง ส่วนเรื่องชายแดนภาคใต้เขามีจำนวนเพียงพอ มีจำนวนคอยสับเปลี่ยนกำลังที่เข้าไปในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีแม่ทัพภาค 4 มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ไม่อยากให้ใช้ความรู้สึกทางการเมืองไปปะปนเรื่องการแกัปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนใต้ เพราะมันคนละส่วนกัน มิติและบริบทความขัดแย้งต่างกันมาก"
เรื่องบริจาค เป็นหน้าที่หรือเป็นอะไร?
ผศ.วันวิชิต : "การบริจาคไปบังคับกันไม่ได้ เป็นความสมัครใจ บางครั้งเราประเมินจากความเดือดร้อนจริงๆ เป็นความเดือดร้อนใจของพี่น้องร่วมชาติ เป็นความเต็มใจและสมัครใจจะไปช่วยตรงนั้น การบริจาคผมมองว่าเป็นการสะท้อนความเป็นเอกภาพของคนในประเทศ นี่คือวัฒนธรรมเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบบไทยๆ ด้วยซ้ำ ไม่อยากให้มองว่าเป็นเรื่องไปตรวจสอบการใช้งบ โปร่งใส ถ้าเงินบริจาคจำนวนมหาศาลเกินความจำเป็นอาจไปตรวจสอบอีกรอบ แต่อยากให้มองเป็นความร่วมมือมากกว่า ไม่ใช่หน้าที่"
จิรัฎฐ์ : "บ้านเราให้ความสำคัญกับการบริจาคมากเกินไปจริงๆ มองว่ามากจนหน้าที่หน่วยงานราชการไม่ต้องทำ ทุกอย่างก็๋อยู่ที่การบริจาคหมด เราควรตั้งคำถามว่าทำไมต้องบริจาค ควรเปลี่ยนจากการบริจาค เป็นการให้เพื่อการส่งเสริมอะไรมากกว่า มันกลายเป็นตัวประกัน เป็นหน้าที่ที่เราต้องทำ ใครไม่ทำก็โดนบูลลี่ ไม่คิดจะช่วยมั่งเหรอ ในกลุ่มไลน์ถ้าเขาบริจาคกัน 10 คน เราไม่ส่งสลิปว่าบริจาคเข้าไปมีปัญหามั้ย เราไม่ควรเอาเงินไปบริจาค ควรเอาเงินไปส่งเสริมอะไรมากกว่า"
อีกอัน เขาถามนายกฯ ว่านอกเหนือจากรักสถาบันแล้ว นายกฯ ทำอย่างอื่นเป็นมั้ย มองยังไง?
จิรัฎฐ์ : "น้องอาจเข้าใจผิด จริงๆ นายกฯ ทำเป็นหลายอย่าง ฉีดน้ำใส่ผู้ชุมนุมก็ทำเป็น (หัวเราะ) จริงๆ แล้วการตั้งคำถามแบบนี้เป็นเรื่องปกติ ควรตั้งคำถามกันทั้งประเทศด้วยซ้ำ อะไรก้ได้ถามไปเถอะครับ เป็นหน้าที่นายกฯ ที่ต้องตอบ"
อาจารย์มองยังไง?
ผศ.วันวิชิต : "แกก็เป็นหลายเรื่อง ถือว่าเก่งทีเดียว อย่างน้อยทำให้บ้านเมืองเดินหน้าได้ในการทำงานได้ช่วงนึง"

ถก "โฟก้ส" เหมาะ-ไม่เหมาะ อนุกมธ. อีสปอร์ต





logoline