svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

นักวิจัย มข.วิจัยชีวมวลสาหร่ายผลิตพลังงานสะอาด "ไฮเทน"

04 ธันวาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นักวิจัยคณะเทคโนโลยี มข. วิจัยชีวมวลสาหร่ายขนาดเล็กที่เลี้ยงในน้ำเสียจากโรงงานน้ำตาล สู่การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ"ไฮเทน" หวังเป็นพลังงานสะอาดชีวมวลใหม่ของประเทศป้อนอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน พร้อมเตรียมเปิดโรงงานต้นแบบผลิตไฮเทนแห่งแรกของประเทศ

4 ธันวาคม 2563 ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศ.ดร. อลิศรา เรืองแสง  ในฐานะนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา  พร้อมทีมวิจัย  ผศ.ดร. อภิลักษณ์ สลักคำ  ผศ.ดร. เพ็ญศรี ปลั่งกลาง ดร.สิริพร ลุนพรม อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี และ นส.อรวรรณ พันดวง นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี   ได้ร่วมกันแถลงข่าวความสำเร็จในงานวิจัยที่ใช้ชีวมวลสาหร่ายขนาดเล็กผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ได้แก่ ไฮโดรเจน มีเทน และไฮเทน  ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผสมระหว่างไฮโดรเจนและมีเทน จัดเป็นพลังงานสะอาดที่มีประสิทธิภาพการเผาไหม้สูงจากสถานการณ์ความต้องการด้วยพลังงานของประเทศส่งผลให้พลังงานบางอย่าง ลดลง  และคาดว่าภายใน 30 ปี เชื่อว่าพลังงานจะหมดลง ทำให้นักวิจัยคิดค้นพลังงานสะอาด ที่เป็นพลังงานสะอาด มาใช้เป็นพลังงานทดแทน   

นักวิจัย มข.วิจัยชีวมวลสาหร่ายผลิตพลังงานสะอาด "ไฮเทน"

นักวิจัย มข.วิจัยชีวมวลสาหร่ายผลิตพลังงานสะอาด "ไฮเทน"


ศ.ดร.อลิศรา เรืองแสง กล่าวว่า สำหรับประเทศไทยมีการพัฒนางานวิจัยทางด้านการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพทั้ง ไฮโดรเจน มีเทน ไบโอดีเซล และเอทานอล  จากชีวมวลทางการเกษตรทั้ง อ้อย ข้าวโพด และมันสำปะหลัง  เป็นพืชชีวมวลทางการเกษตรจะให้ผลผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพสูง แต่ปัญหาที่พบคือ ต้องใช้พื้นที่เพาะปลูกมาก การใช้ยาฆ่าแมลงที่ส่งผลต่อระบบนิเวศ และเกิดประเด็นโต้แย้งในการนำพืชอาหารมาใช้เป็นพืชพลังงาน การนำเอาชีวมวลสาหร่ายขนาดเล็กมาผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจึงเป็นทางเลือกที่กำลังได้รับความสนใจ เนื่องจากภายในเซลล์สาหร่ายขนาดเล็กมีการสะสมโปรตีนร้อยละ 15-84 ไขมันร้อยละ 1-63 และคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 7-69 ไม่มีลิกนินเป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ ซึ่งเหมาะต่อการนำไปใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ นอกจากนั้น สาหร่ายขนาดเล็กนี้สามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วและเก็บเกี่ยวมวลเซลล์ได้ตลอดทั้งปี เพาะเลี้ยงได้ง่ายในธรรมชาติ ใช้พื้นที่ในการเพาะเลี้ยงน้อย ซึ่งจัดได้ว่าเป็นอีกเหตุผลเด่นหนึ่งของการนำชีวมวลสาหร่ายขนาดเล็กไปใช้เพื่อการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ

นักวิจัย มข.วิจัยชีวมวลสาหร่ายผลิตพลังงานสะอาด "ไฮเทน"




นักวิจัย มข.วิจัยชีวมวลสาหร่ายผลิตพลังงานสะอาด "ไฮเทน"

"สำหรับงานวิจัยชีวมวลสาหร่ายขนาดเล็กได้ทำมานานกว่า 4 ปีแล้ว เป็นความร่วมมือของ 2 ประเทศ คือไทย-จีน  ที่ได้นำชีวมวลสาหร่ายขนาดเล็กผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ คือ ไฮโดรเจน มีเทน และมีเทน  โดยการบวนการเพาะเลี้ยงที่ได้ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการนั้น มีทั้งการการเลี้ยงสาหร่ายด้วยอาหารสังเคราะห์ และการนำน้ำเสียจากโรงงานน้ำตาลมาใช้เพาะเลี้ยงสาหร่าย  ซึ่งได้ผลใกล้เคียงกัน  ในระยะแรกนี้ต้นทุนในการผลิตมีราคาสูงแต่หากมีการผลิตอย่างต่อเนื่อง และขยายการผลิต  เชื่อว่าราคาจะถูกลง แต่สิ่งสำคัญที่ไทยเราจะได้มากกว่า คือ เราจะได้ไฮเทน ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีประสิทธิภาพการเผาไหม้สูง เป็นพลังงานสะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมในการเปิดโรงงานต้นแบบการผลิตไฮเทน ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น"สำหรับองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็ก การเก็บเกี่ยว และการปรับสภาพชีวมวลสาหร่าย รวมไปถึงกระบวนการใช้ชีวมวลสาหร่ายขนาดเล็กเพื่อผลิตไฮโดรเจน มีเทน และไฮเทน เพื่อมุ่งให้เกิดศักยภาพต่อการนำไปขยายขนาดการผลิตไฮเทนในระดับอุตสาหกรรม เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ อีกทั้งได้พลังงานทดแทนที่สะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย  และทำให้ประเทศไทยลดการพึ่งพาพลังงานจากข้างนอกด้วย

นักวิจัย มข.วิจัยชีวมวลสาหร่ายผลิตพลังงานสะอาด "ไฮเทน"

logoline