svasdssvasds
เนชั่นทีวี

บันเทิง

รู้จัก "เฉาก๊วย" สรรพคุณมากกว่าช่วยดับกระหาย

28 พฤศจิกายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

มาทำความรู้จัก "เฉาก๊วย" ขนมวุ้นที่คนไทยชอบซื้อมารับประทาน คืออะไร มาจากที่ไหน และมีสรรพคุณอย่างไรและประโยชน์ต่อเราอย่างไรบ้าง ซึ่งใครที่ได้ยินชื่อนี้ก็รู้สึกเย็นใจอย่างบอกไม่ถูก

เฉาก๊วย เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำได้จากต้นเฉาก๊วย ด้วยการนำใบเฉาก๊วยมาต้มจนได้น้ำต้มเฉาก๊วย ก่อนนำมาต้มผสมกับแป้งจนได้เจลเฉาก๊วยหรือที่มักเรียกทั่วไปว่า เฉาก๊วย นอกจาก นั้นยังมีผลิตภัณฑ์อื่นที่ได้จากต้นเฉาก๊วย อาทิ น้ำเฉาก๊วย เต้าหู้เฉาก๊วย เป็นต้น

รู้จัก "เฉาก๊วย" สรรพคุณมากกว่าช่วยดับกระหาย


วงศ์ : Labiatae วงศ์เดียวกับสะระแหน่/โหระพา/แมงลัก
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :
Mesona chinensis Bentham
Mesona elegans Hayata
Mesona procumbens Hemsley
ชื่อท้องถิ่นไทย : เฉาก๊วย
ชื่อท้องถิ่นจีน:
เหรียนฝ่นฉ่าว
เซียนฉ่าว
เซียนหยั้นตุ้ง

รู้จัก "เฉาก๊วย" สรรพคุณมากกว่าช่วยดับกระหาย


ถิ่นกำเนิด : ประเทศจีนตอนใต้ แถบมณฑลกวางตุ้ง กวางสี และยูนาน ในธรรมชาติชอบขึ้นแซมกับกอหญ้าบริเวณที่ชื้นตามเชิงเขาหรือลำห้วย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
เฉาก๊วย เป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นหรือเถาเป็นแบบกึ่งเลื้อย ลำต้นมีขนาดเล็ก เป็นเหลี่ยม คล้ายต้นสะระแหน่ ลำต้นเปราะหักง่าย ต้นอ่อนมีสีเขียว ต้นแก่มีสีน้ำตาล กิ่งแตกแขนงออกตามข้อของลำต้น ช่วงห่างระหว่างข้อ 3-5 เซนติเมตร ลำต้น และกิ่งทอดยาวคลุมตามดินได้ 50 120 เซนติเมตร

ต้นเฉาก๊วย
ใบเฉา
ใบเฉาก๊วยแทงออกเป็นใบเดี่ยว แตกออกเป็นคู่ๆตรงกันข้ามบนกิ่ง คือ มี 2 ใบ /ข้อ มีก้านใบมีสีขาว ยาวประมาณ 1 1.5 เซนติเมตร ใบรูปใบหอก คล้ายใบสะระแหน่ ปลายใบแหลมโคนใบสอบ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื้อย แผ่นใบเป็นร่องตามเส้นใบ ขนาดใบยาว 2-5 เซนติเมตร กว้าง 0.8-3 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวสดถึงเขียวเข้ม และมีขนขนาดเล็กปกคลุม เมื่อจับแผ่นใบจะรู้สึกสากมือ และหากขยี้ใบจะมีลักษณะเป็นเมือกลื่น
ดอก
ดอกเฉาก๊วยแทงออกเป็นช่อ คล้ายกับดอกแมงลักหรือโหระพา มีช่อดอกยาว 5-10 เซนติเมตร แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก แต่ละดอกมีก้านดอกยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร กลีบดอกมีสีขาวอมม่วงอ่อน ยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ถัดมาด้านในเป็นเกสรตัวผู้ 1 อัน และเกสรตัวเมีย 1 อัน ส่วนเมล็ดมีขนาดเล็กสีดำอมน้ำตาล มีลักษณะรูปไข่

รู้จัก "เฉาก๊วย" สรรพคุณมากกว่าช่วยดับกระหาย


ดอกเฉาก๊วย
ผล และเมล็ด
เมล็ดเฉาก๊วยมีขนาดเล็กสีดำอมน้ำตาล มีลักษณะรูปไข่
ประโยชน์ต้นเฉาก๊วย
1. ใช้ทั้งลำต้นนำมาต้มเคี่ยวทำเป็นเฉาก๊วยรับประทาน
2. ใช้ทั้งลำต้นนำมาต้มน้ำเป็นน้ำเฉาก๊วยดื่ม
3. ต้นเฉาก๊วยใช้ปลูกเป็นพืชคลุมดิน ช่วยป้องกันการกัดเซาะหน้าดิน
คุณค่าทางโภชนาการใบเฉาก๊วย ( 100 กรัมแห้ง)
ความชื้น 8.99%
คาร์โบไฮเดรต 44.95%
โปรตีน 8.33%
ไขมัน 0.39%
เถ้า 37.34%
เส้นใย 24.06%

สาระสำคัญที่พบ
แทนนิน
แพกติน
ลิกนิน

รู้จัก "เฉาก๊วย" สรรพคุณมากกว่าช่วยดับกระหาย


สารเฮมิเซลลูโลส เช่น กลูโคแมนแนน และกาแลคโตแมนแนน
สารพอลิเมอร์ อาทิ เฟนิลอะลานิน และไทโรซิน
-sitosterol
Stigmasterol
และ amyrin
Oleanolic acid
Maslinic acid
การเกิดสีดำ และเจลของเฉาก๊วย
เนื่องจากสารส่วนใหญ่ที่พบในลำต้นเฉาก๊วย เมื่อละลายน้ำแล้วทำให้น้ำมีคุณสมบัติเป็นด่าง และมีสารบางชนิดที่ทำปฏิกิริยากับด่างแล้วทำให้เกิดสารละลายสีดำ เช่น แทนนิน นอกจากนั้น การเติมสารเพิ่มความเป็นด่าง เช่น โซเดียมไบคาร์บอเนตยิ่งจะช่วยให้เฉาก๊วยมีสีดำเข้มมากขึ้น ส่วนการจับตัวเป็นวุ้นหรือเจลนั้น เกิดจากสารจำพวกเฮมิเซลลูโลส อาทิ เพกติน และสารพอลิเมอร์ ที่ละลายออกมา และหากเติมสารจำพวกแป้งลงไปก็ยิ่งจะทำให้เฉาก๊วยมีลักษณะเป็นเจลแข็งมากขึ้น
สรรพคุณต้นเฉาก๊วย/เฉาก๊วย
1. ทั้งน้ำต้มเฉาก๊วย และเฉาก๊วยมีรสเย็น ช่วยทำให้ชุ่มคอ ลดอาการคอแห้ง
2. ช่วยดับร้อน ลดอาการกระหายน้ำ
3. ช่วยบรรเทาอาการหวัด และเป็นไข้
4. ช่วยลดความดันเลือด ป้องกันโรคหลอดเลือดในสมองตีบหรือแตก
5. ช่วยลดอาการเบาหวาน
6. ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
7. ช่วยแก้อาการข้ออักเสบ
8. ช่วยป้องกันโรคตับอักเสบ

logoline